ระดับปริญญาโท (Master Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาโท (Master Degree) by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 671
Results Per Page
Sort Options
- Itemการใช้อวัจนภาษาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) ประดับพันธุ์ คำมาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความนิยมในการใช้อวัจนภาษาของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และเพื่อศึกษาการรับรู้สารจากอวัจนภาษาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 226 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิด ประกอบด้วยแบบตรวจสอบรายการกับแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์พบว่า ความนิยมในการใช้งานของรูปอีโมติคอนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.66 โดยใช้ภาพมากเป็นลำดับที่ (x̄ = 4.32) และความนิยมในการใช้งานของอีโมติคอนกับตำแหน่งที่ปรากฏ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบ อีโมติคอนปรากฏหลังข้อความ จำนวน 12 รูป คิดเป็นร้อยละ 50 การรับรู้จากการใช้รูปอีโมติคอนที่เห็นว่ามีความหมายตรงกันหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบภาพ หมายถึง สุขสันต์วันเกิด จำนวน 224 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 99.1 และการรับรู้สารจากอีโมติคอนผ่านบทสนทนา อยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้ภาพ จำนวน 6 บทสนทนา
- Itemวิเคราะห์สัญลักษณ์ในพิธีแต่งงานชาวกะเหรี่ยง บ้านห้วยปิง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) ณัฐฐิดา ปูเงินการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเครื่องใช้ในพิธีแต่งงานของชาวกะเหรี่ยง บ้านห้วยปิง และวิเคราะห์สัญลักษณ์ของเครื่องใช้ในพิธีแต่งงานของชาวกะเหรี่ยง บ้านห้วยปิง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ตามคติความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาด้วยวิธีการคติชนวิทยา ด้วยการสืบหาชาวกะเหรี่ยงที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ จากนั้นได้ทำการสัมภาษณ์ การสังเกต และการมีส่วนร่วมในพิธีการแต่งงาน แล้วนำมาวิเคราะห์และนำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องใช้ในพิธีแต่งงานของชาวกะเหรี่ยงบ้านห้วยปิง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน นั้นประกอบด้วย เงินก้อน, ไก่คู่, เหล้าต้ม, เสื้อมะเดือย, กระติบข้าว, ย่าม, เสื้อเจ้าบ่าว, ซิ่น, น้ำต้น, ผ้าห่ม, ตะกร้า, กระด้ง, ฝ้ายมัดมือ, เสียม, มีด 2) เครื่องใช้ในพิธีแต่งงานของชาวกะเหรี่ยงบ้านห้วยปิง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ที่ใช้ในการประกอบพิธีแต่งงานดังกล่าวล้วนเป็นสัญลักษณ์อันบ่งบอกถึงความหมายของการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่ และการครองชีวิตคู่ ซึ่งสิ่งดังกล่าว สามารถอธิบายตามคติความเชื่อของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงทั้งสิ้น
- Itemอัตลักษณ์ทางภาษาในพิธีสวดพระอภิธรรมศพของบ้านดงอินตา อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) ณัฐวุฒิ สุธรรม, พระการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางอวัจนภาษา และเพื่อวิเคราะห์วัจนภาษาเนื้อหาคำสอนที่ปรากฏในบทสวดพระอภิธรรมศพของบ้านดงอินตา อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบพิธีสวดพระอภิธรรมศพของบ้านดงอินตา ผลการศึกษา อัตลักษณ์ทางอวัจนภาษาในพิธีสวดพระอภิธรรมศพ พบว่า 1) สิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบพิธีสวดพระอภิธรรม มีทั้งหมด 10 สิ่ง 2) ผู้ประกอบพิธีสวดพระอภิธรรม มีอยู่ 3 กลุ่ม 3) ทำนองสวดพระอภิธรรม มีอยู่ 2 ทำนอง ส่วนผลการศึกษาวัจนภาษา พบว่า เนื้อหาคำสอนที่ปรากฏในบทสวด พระอภิธรรม คือ เนื้อหาด้านปรมัตถธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1) จิต ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รับกลิ่น รับรส และรู้สัมผัส 2) เจตสิก ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด 3) รูปธรรมชาติที่แตกดับย่อยยับสลายไป 4) นิพพาน ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
- Itemความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผี: กรณีศึกษา ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) คงอมร เหมรัตน์รักษ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเชื่อและองค์ประกอบขั้นตอนของพิธีกรรมเลี้ยงผี ที่ตำบลสะเอียบ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ตลอดจนวิเคราะห์อิทธิพลของพิธีกรรมเลี้ยงผีดังกล่าวที่มีต่อชุมชนสะเอียบ โดยได้ศึกษาด้วยวิธีการทางคติชนวิทยา กล่าวคือ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการลงพื้นที่เพื่อสังเกตพิธีกรรม ตลอดจนสัมภาษณ์วิทยากรที่ตรงกับคุณสมบัติที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ แล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนสะเอียบนับถือพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน โดยชาวบ้านยังมีความเชื่อในการนับถือผี และสะท้อนความเชื่อออกมาในรูปแบบพิธีกรรมเรียกว่า พิธีกรรมเลี้ยงผี ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เพื่อแบ่งโครงสร้างและหน้าที่ของผีในตำบลสะเอียบเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผีอารักษ์พื้นที่สำคัญในหมู่บ้านกับกลุ่มผีอารักษ์พื้นที่ป่าและพื้นที่ทำกิน นอกจากนี้ยังพบว่า ผีอารักษ์นอกจากจะทำหน้าที่เป็นดูแลรักษาบ้านเมือง ป่า และพื้นที่ทำกินแล้ว ผีอารักษ์ยังมีหน้าที่เป็นผีบรรพบุรุษของชาวบ้านมีหน้าที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่าง ๆ ผ่านการบนผี โดยชาวบ้านจะมีการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีขึ้นในทุก ๆ ปี ผู้วิจัยพบ ความเชื่อเกี่ยวกับผี จำนวน 6 ความเชื่อ และพิธีกรรมเลี้ยงผี จำนวน 10 พิธีกรรม แบ่งเป็นพิธีกรรมตามกาลเวลา 8 พิธีกรรม ชาวบ้านจะจัดพิธีกรรมเลี้ยงผีในช่วงก่อนฤดูเพาะปลูกและหลังฤดูการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ปางเก้าปางสาม และพิธีกรรมตามโอกาสพิเศษ 2 พิธีกรรม คือ พิธีกรรมหงายเมือง และพิธีกรรมบนผี แก้บนผี ถึงแม้ว่าพิธีกรรมเลี้ยงผีที่ตำบลสะเอียบจะมีลำดับขั้น และองค์ประกอบตอนที่แตกต่างกัน แต่ผู้วิจัยยังพบจุดร่วมที่เหมือนกัน คือ พิธีกรรมนั้นล้วนเกิดขึ้นจากความเชื่อ จากการวิเคราะห์ตามทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ พบว่า พิธีกรรมเลี้ยงผีมีหน้าที่สำคัญต่อชาวบ้านชุมชนสะเอียบ ทำให้ชาวบ้านมีความมั่นใจในการดำรงชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
- Itemการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) วรรณรดา เรือนสอนการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนในแต่ละบท และการทดสอบรวมหลังเรียน (E2 = posttest) เพื่อพัฒนาการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน โรงเรียนพะเยาพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการสอน และแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ จำนวน 5 ฉบับ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกมีประสิทธิภาพ 80.65/81.14 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) ความสามารถด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนหลังจากได้รับการฝึก โดยใช้แบบฝึกหลังเรียนแตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และนักเรียนที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกมีคะแนนสูงร้อยละ 74.40 ของคะแนนเต็ม 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61
- Itemการใช้แผนผังความคิดเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 ( พะเยาประชานุกูล) เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) ปัทมา ชัยวงศ์การจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เป็นสาระที่ครูส่วนใหญ่ขาดเทคนิคการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต้องได้รับการพัฒนา การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษา การพัฒนาทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3/1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการสอน จำนวน 5 แผน แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนแบบอัตนัย และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดตามเกณฑ์มาตรฐาน 85.30/81.10 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 36.90 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้แผนผังความคิดอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 68.75
- Itemคุณลักษณะผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กนกกาญจน์ อวิรุตม์การศึกษางานวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กับสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพะเยา และยังดำเนินธุรกิจอยู่ในปี 2560 จำนวน 544 ราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 322 ราย โดยใช้ตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างเครจซีและมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าเอฟ และวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระยะเวลาในการประกอบกิจการ 6 - 10 ปี ประกอบธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุนจดทะเบียนระหว่าง 1,000,001-5,000,000 บาท ประกอบธุรกิจบริการ มีพนักงาน จำนวน 11 - 20 คน ระดับที่มีผลเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ประกอบการ โดยภาพรวมมีผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสม่ำเสมอทางอารมณ์และใฝ่ใจในการเรียนรู้ ด้านความมีนวัตกรรม ด้านใฝ่ใจในความสำเร็จ ด้านความเป็นตัวของตัวเอง ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านความต้องการจะแข่งขัน มีผลอยู่ในระดับมาก ระดับความสำเร็จเกี่ยวกับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ โดยภาพรวมมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านสถานภาพทางการตลาด ด้านทรัพยากรทางการเงิน ด้านทรัพยากรทางกายภาพ และด้านคุณภาพของสินค้าหรือบริการ มีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ คือ ความสม่ำเสมอทางอารมณ์ และความใฝ่ใจในการเรียนรู้ ความกล้าเสี่ยง ความต้องการจะแข่งขัน และความมีนวัตกรรม มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
- Itemวิเคราะห์การใช้คำยืมภาษาอังกฤษในข่าวบันเทิงหนังสือพิมพ์รายวัน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) รัชนีวรรณ คำลือสายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ชนิดของคำยืมภาษาอังกฤษในข่าวบันเทิงหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 2) วิเคราะห์ลักษณะการสร้างคำของคำยืมภาษาอังกฤษ และ 3) อธิบายความหมายของคำยืมภาษาอังกฤษที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ข่าวบันเทิงหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐระหว่างเดือน ธันวาคม 2557- กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 90 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์จำแนกชนิดของคำตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของ กำชัย ทองหล่อ (2545) และเกณฑ์จำแนกการสร้างคำของคำยืมภาษาอังกฤษโดยประยุกต์ของบรรจบ พันธุเมธา (2532) และ ในการวิเคราะห์ความหมายของคำยืมภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (ฉบับล่าสุด) ใช้หาความหมายของคำยืมภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาพบว่า คำยืมภาษาอังกฤษในข่าวบันเทิงหนังสือพิมพ์ รายวันภาษาไทยมีทั้งหมด 6,264 คำชนิดของคำที่ถูกยืมมาใช้มากที่สุด คือ คำนาม 3,760 คำ (60.03%) ส่วนลักษณะการสร้างคำของคำยืมภาษาอังกฤษที่พบมากที่สุด คือ การยืมคำโดยการทับศัพท์ 4,958 คำ (79.15%) ซึ่งคำยืมภาษาอังกฤษที่พบในข่าวบันเทิงหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยนั้น ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มีทั้งสิ้น 130 คำ
- Itemทัศนะของมัคคุเทศก์ต่อทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) อำพันธ์ แสนคำวังการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบายและทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาทัศนะของมัคคุเทศก์ต่อทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง คือ มัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ) ที่จดทะเบียนสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สาขาภาคเหนือเขต 1 เชียงใหม่ จำนวน 370 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายและทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการสุขภาพ เชื่อมโยงสู่เมืองท่องเที่ยวในภูมิภาค ขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ (SMART CITY) คือ กินดี อยู่ดี มีสุข ส่งเสริม และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมเป็นตัวนำการพัฒนาประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน และระบบขนส่งมวลชน ยกระดับความมั่นคงด้วยระบบกล้อง CCTV นำนวัตกรรมมาใช้ในการป้องกัน และเตือนภัยด้านภัยพิบัติต่าง ๆ และพัฒนาการบริหารและการบริการภาครัฐ มีนโยบายด้านการอนุรักษ์ และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในเขตเมืองและพื้นที่รอบนอก โดยมีเป้าหมาย คือ เมืองสีเขียว อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการป่าต้นน้ำและแหล่งน้ำ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง และอนุรักษ์พื้นที่สิ่งแวดล้อม โดยมีวาระสำคัญพิเศษ คือ การฟื้นคืนคลองแม่ข่า การแก้ไขปัญหาหมอกควัน 2) ทัศนะของมัคคุเทศก์ต่อทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านเรียงตามลำดับได้แก่ ด้านการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการ ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาการตลาดและการสร้างความเชื่อมั่น และด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า จำนวนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารขณะปฏิบัติงาน มีทัศนะต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ไม่แตกต่างกัน แต่เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มีทัศนะต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางส่งเสริม ได้แก่ ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ และมีความพร้อมบนพื้นฐานเอกลักษณ์ล้านนา สนับสนุนการท่องเที่ยวพื้นที่นอกเมืองหลัก พัฒนาและสนับสนุนกลุ่มมัคคุเทศก์ในการอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ส่งเสริมการตลาดมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย และวางแผนทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน และนักท่องเที่ยว
- Itemผลของแกมม่าพอลีกลูตามิกแอซิดและเซลล์ Bacillus subtilis ต่อการปรับปรุงคุณภาพดินและการเจริญเติบโตของข้าว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) คณวิชช์ ศรีปินตางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารแกมม่าพอลีกลูตามิกแอซิด และเซลล์ Bacillus subtilis ต่อการปรับปรุงคุณภาพดิน และการเจริญเติบโตของข้าว ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ และโรงเรือน จากการศึกษาผลของสารทดสอบต่อการงอก การเจริญเติบโต และปริมาณสารชีวเคมี ในต้นกล้าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า PGA และเซลล์ B. subtilis ไม่ส่งผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์การงอก พลังงานในการงอก และความเร็วในการงอก อย่างไรก็ตามสารดังกล่าวมีแนวโน้มในการเพิ่มความแข็งแรงของต้นกล้าข้าวเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวที่อายุ 21 วัน พบว่า PGA ที่ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ความยาวลำต้นสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) สำหรับความยาวราก พบว่า ความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นของทั้ง PGA และเซลล์ B. subtilis ส่งผลให้ความยาวราก มีแนวโน้มในการลดลงอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามการเติม PGA และเซลล์ B. subtilis ส่งผลให้ต้นกล้าข้าวมีน้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) นอกจากนั้น PGA และเซลล์ B. subtilis ยังส่งผลให้ปริมาณน้ำตาล ปริมาณกรดอะมิโนอิสระรวม ปริมาณคลอโรฟิลล์ และแคโรทีนอยด์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (P≤0.05) จากการศึกษาการเจริญเติบโตของข้าวในระดับโรงเรือน พบว่า PGA และเซลล์ B. subtilis ส่งผลให้ข้าวมีความสูง จำนวนการแตกกอ น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของข้าวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะที่ความเข้มข้นของ PGA 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ PGA และเซลล์ B. subtilis ยังส่งผลในเชิงบวกต่อพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต ได้แก่ จำนวนรวง จำนวนเมล็ดต่อกระถางน้ำหนักเมล็ดต่อกระถาง และน้ำหนัก 100 เมล็ด เมื่อพิจารณาคุณสมบัติทางด้านเคมีของดิน พบว่า PGA และเซลล์ B. subtilis ส่งผลทำให้คุณภาพของดินดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (P≤0.05) โดยพบปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ค่าการนำไฟฟ้า และ pH ของดินเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของการให้สารทดสอบ โดยเฉพาะ PGA ที่ระดับความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ PGA และเซลล์ B. subtilis ยังมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางด้านกายภาพของดินดีขึ้น คือ ความชื้นของดิน ความหนาแน่นรวมของดิน และความพรุนรวมของดิน จากผลการทดลองดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า PGA และเซลล์ B. subtilis มีศักยภาพที่ดี และเป็นทางเลือกหนึ่งของสารจากธรรมชาติในการเป็นสารปรับปรุงดิน และส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของข้าว
- Itemการคัดเลือกและพัฒนาเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดสัตว์ที่มีศักยภาพในการปรับตัวเพื่อความสามารถในการพัฒนาเป็นพันธุ์ลูกผสมบนพื้นที่สูง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กิตติกร นามวงค์โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์พัฒนาสายพันธุ์แท้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสม ที่มีศักยภาพและการปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง จากการใช้เชื้อพันธุกรรม จำนวน 89 สายพันธุ์ คัดเลือกลักษณะทางเกษตรที่ดี จนได้สายพันธุ์แท้ที่ดี จำนวน 12 สายพันธุ์ พบว่า มีลักษณะความแข็งแรงต้นกล้า และระดับความแข็งแรงต้นดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 ขณะที่วันสลัดละอองเกสร และวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58 วัน คะแนนการหักล้มอยู่ในระดับแเข็งแรงปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 สำหรับลักษณะทรงต้นและตำแหน่งฝัก มีความสม่ำเสมอปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3 จากนั้นทำการผสมระหว่างสายพันธุ์ เพื่อสร้างลูกผสมเบื้องต้น และทำการปลูกทดสอบผลผลิตในปลายฤดูฝน (2014L) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC14 ให้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,422 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4199 เท่ากับ 2,124 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับต้นฤดูฝน (2015E) ทำการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ จำนวน 5 คู่ผสมจากปลายฤดูฝน (2014L) ปลูกทดสอบผลผลิตเบื้องต้น พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPFC11 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,804 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ P4546 ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเท่ากับ 1,966 กิโลกรัมต่อไร่ จึงทำการสร้างพันธุ์ลูกผสมใหม่ 2 วิธี คือ Topcross และ Diallel cross ทำการปลูกทดสอบในฤดูแล้ง (2016D) พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF04 x Ki48 ให้มีคำเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2,207 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ DK8868 ให้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,013 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับการทดสอบหาค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไป วิธีการ Topcross พบว่า สายพันธุ์ UPF22 ให้ค่าสูงที่สุด ขณะที่วิธีการ Diallel cross พบว่า สายพันธุ์ UPFO7 มีค่าสูงที่สุด ในส่วนของค่าสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ วิธีการ Topcross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF02 x Ki60 ให้ค่าสูงสุด และวิธีการ Diallel cross พบว่า พันธุ์ลูกผสม UPF07 x UPF02 ให้ค่าสูงสุด
- Itemการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกหลังนาภาคเหนือตอนบน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กิตติพันธ์ เพ็ญศรีโครงการการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตสูง และเหมาะกับพื้นที่ปลูกหลังนา ทำการคัดเลือกสายพันธุ์แท้ข้าวโพดข้าวเหนียวที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี จำนวน 16 สายพันธุ์ ทำการผสมแบบ Line x Tester โดยใช้สายพันธุ์ทดสอบ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ UPWQ-C1 UPWQ-C2 และ UPWQ-C3 ได้สายพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวเบื้องต้น จำนวน 48 คู่ผสม ปลูกทดสอบผลผลิตในฤดูแล้งปี 2559 ที่แปลงเกษตรกรจังหวัดพะเยา พบว่า มีวันสลัดละอองเกสร และวันออกไหมระหว่าง 67-75 วัน โดยคู่ผสมที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก และผลผลิตหลังการปอกเปลือกสูงสุด คือ UPMI95 (P) x UPWQ-C3 เท่ากับ 1,984 และ 1,301 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ขณะที่ความยาวฝัก ความยาวการติดเมล็ด และความกว้างฝักของทุกคู่ผสมเฉลี่ย เท่ากับ 15.13 13.53 และ 4.05 เซนติเมตร ตามลำดับ ด้านเปอร์เซ็นต์การปอกเปลือก พบว่า คู่ผสม UPMI92 (O) x UPWQ-C3 ให้ค่าที่สูงสุด เท่ากับ 81.6% ส่วนด้านเปอร์เซ็นต์การตัดผ่าน พบว่า คู่ผสม UPMI38 (J) x UPWQ-C2 ให้ค่าที่สูงสุด เท่ากับ 66.4% สำหรับด้านการประเมินคุณภาพการกัดชิม ได้แก่ ความชอบ ความเหนียวนุ่ม และความหนาของ Pericarp พบว่า ทุกคู่ผสมให้ค่าเฉลี่ยในแต่ละลักษณะ เท่ากับ 2.71 2.79 และ 2.83 คะแนน ตามลำดับ ขณะที่สายพันธุ์ UPMI95 (P) และ UPMI14 (D) ให้คำสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปของผลผลิตทั้งเปลือก และผลผลิตหลังการปอกเปลือกดีที่สุด ตามลำดับ
- Itemปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ปัญปวีณ์ สาริกานนท์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสถิติพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงสถิติ และสรุปเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายโดยรวมทั้ง 7 ด้าน มีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านพนักงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.31) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย = 4.27) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.15) ตามลำดับ ได้แก่ ด้านพนักงาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบริการส่งเสริมการขาย และด้านลักษณะทางกายภาพ 2) แนวทางการพัฒนาธุรกิจที่พักในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ควรพัฒนา 3 ด้านเป็นสำคัญ อันได้แก่ พัฒนาด้านบุคลากรในการสื่อสารภาษาจีน พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานครบถ้วน และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย ให้มีการเข้าถึงข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นท่องเที่ยวที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน
- Itemการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ธนภชสร เทพละออการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน 2) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครต่อกิจกรรมอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พระภิกษุสงฆ์ ผู้จัดการหรือหัวหน้างานฝ่ายเจ้าหน้าที่ และนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จำนวน 106 รูป/คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์และสรุปเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การท่องเที่ยวในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน มีทั้งการท่องเที่ยวเชิงศาสนา การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จุดประสงค์ในการท่องเที่ยว คือ ต้องการเรียนรู้ ศึกษาองค์ความรู้ เข้าร่วมสัมมนา และท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน โดยนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมอาสาสมัคร เช่น กิจกรรมในโรงครัว การแจกน้ำปานะ การดูแลพระสงฆ์ การล้างห้องน้ำ การเก็บขยะ การลงทะเบียน การจัดสถานที่ การแจกของที่ระลึก ช่วยขายของ ขนย้ายสิ่งของ การเตรียมของตักบาตร การช่วยดูแลการจัดงาน งานพิธีการ งานพิธีกร และช่วยงานทั่วไป 2) ความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครต่อกิจกรรมอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ในภาพรวมและรายด้านมีระดับความต้องการอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความตั้งใจจะเดินทางกลับไปท่องเที่ยวอีกครั้ง ด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากร ด้านสถานที่และสาธารณูปโภค ด้านประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับ ด้านข้อมูลข่าวสารและกิจกรรม และด้านการจัดการ ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการ ควรมีการวางแผน และพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร และควรกำหนดหน้าที่ของนักท่องเที่ยวอาสาสมัครให้ชัดเจน 2) ด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากร ควรพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ และการให้บริการของบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ให้คำแนะนำและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว และเป็นมัคคุเทศก์ สำหรับนำชมการท่องเที่ยวในศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน 3) ด้านสถานที่และสาธารณูปโภค ควรจัดเตรียมความพร้อมด้านสถานที่และสาธารณูปโภค เช่น ที่พัก ห้องน้ำ ระบบน้ำประปา น้ำดื่ม ถังขยะให้เพียงพอกับจำนวนนักท่องเที่ยว และควรพัฒนาข้อมูลจุดท่องเที่ยว เช่น แผนที่ไร่เชิญตะวัน โบรชัวร์ (Brochure) เส้นทางการเดินท่องเที่ยว (Route) ด้วยตนเอง ป้ายเล่าเรื่องราวแต่ละจุดท่องเที่ยวเพื่อให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว 4) ด้านข้อมูลและกิจกรรม ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหลากหลายช่องทาง เพิ่มกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว และควรจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน
- Itemการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายปุ๋ยหมักผักตบชวาโดยเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลาย เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กนิษฐา ทองเกล็ดงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 ชนิด (Mucor elipsoideus, Rhizopus oryzae และ Trichoderma harzianum) ในผักตบชวาย่อยสลาย ประกอบด้วยอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส, pH 6.5-7.0 และแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจน ในการทดลองที่ 1 พบว่า M. elipsoideus และ R. oyzae เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เหมาะสมต่อการเจริญของรา T. harzianum ส่วน pH ที่เหมาะสมต่อรา T. harzianum, M. elipsoideus และ R. oryzae คือ pH 6.0, 7.0 และ 7.5 ตามลำดับ Sucrose เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของรา M. elipsoideus และ T. harzianum และแป้ง เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุดสำหรับ R. oryzae ส่วน Potassium nitrate เป็นแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสมต่อรา M. elipsoideus และ T. harzianum ในขณะที่ Peptone เป็นแหล่งไนโตรเจนที่ดีที่สุดสำหรับ R. *yz0e การทดลองที่ 2 ผลการทดสอบการย่อยสลาย ผักตบชวา ที่ 60 วัน พบว่า เชื้อราทั้ง 3 ชนิด มีความสามารถในการย่อยสลาย โดยการหมักผักตบชวาสดร่วมกับรา M. elipsoideus, R. oryzae และ T. harzianum มีอัตราการย่อยสลายมากที่สุด เท่ากับ 88.60% รองลงมา คือ การหมักผักตบชวาสดร่วมกับรา R. oryzae และ T. harzianum (86.50%) เมื่อเปรียบเทียบกับการหมักผักตบชวาสดร่วมกับรา T. harzianum (85.87% ในการทดลองที่ 3 การทดสอบผลของผักตบชวาที่ผ่านการหมักจากเชื้อรา 3 ชนิด ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 พบว่า จำนวนเมล็ดดี (113.65) อัตราการติดเมล็ด (80.97%) และดัชนีการเก็บเกี่ยว (4.27) มีความแตกต่างจากกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- Itemการประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีของเกษตรกรที่ปลูกข้าวในตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) จิณณ์ณณัช ชัยก๋าการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมี ในการปลูกข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกร จำนวน 294 คน สำหรับตอบแบบสอบถาม และเกษตรกร จำนวน 50 คน สำหรับตรวจระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด และสัมภาษณ์ เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามการสัมภาษณ์ และการตรวจโลหิตหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแคว์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างบางส่วนมีพฤติกรรมการใช้ และการปฏิบัติยังไม่ถูกต้องอาการเจ็บป่วยที่พบหลังการสัมผัสสารเคมี ได้แก่ ตาแดง แสบตา คัน เจ็บคอ ไอ เหนื่อยง่าย แสบจมูก ปวดหัว เวียนศีรษะ และผื่นคันที่ผิวหนัง เกษตรกรที่เข้ารับการตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด มีความเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 24.0 ระดับมีความเสี่ยง ร้อยละ 34.0 ระดับปลอดภัย ร้อยละ 26.0 และระดับปกติ ร้อยละ 16.0 การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมระหว่างใช้สารเคมี ในการปลูกข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมระหว่างใช้สารเคมีในการปลูกข้าวของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวในตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับมาตรฐานวิชาชีพครูโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ศศิภรณ์ ปันต๊ะรังษีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 2) สภาพมาตรฐานวิชาชีพครูโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับมาตรฐานวิชาชีพครู โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารสถานศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งโดยรวมและรายด้าน และความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับมาตรฐานวิชาชีพครู โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) เกตน์ชญาณ์ คำลือการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนชุมชนบ้านหลวง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura (1997) ศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินอายุ 9-12 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ที่มีภาวะโภชนาการหนักเกินที่ผ่านการตรวจสอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบ ค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired Sample T-test และ Independent T-test ผลการวิจัย พบว่า เด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินกลุ่ม ที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถแห่งตน คะแนนความคาดหวัง คะแนนพฤติกรรมบริโภคอาหาร และพฤติกรรมออกกำลังกายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุข ครูอนามัยโรงเรียนสามารถนำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินได้
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ธิษตยา ภิระบันการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประชากรในการวิจัยเป็นครูในสถานศึกษา สังกัดเขตสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 จำนวน 322 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ โดยใช้คำถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบสอบถามเพื่อสอบถามการบริหารงานวิชาการ และประสิทธิผลของสถานศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 โดยรวมและรายด้าน มีคุณลักษณะผู้นำสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็น การพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงานสถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ส่วนด้านการแนะแนวมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู ด้านความสามารถในการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีของครู รองลงมา คือ ด้านความใฝ่รู้ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ถัดไปคือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนต่อสภาวะแวดล้อมที่มากระทบทั้งภายในและภายนอก ส่วนด้านความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
- Itemการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนใน มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณเป็นบุคลากรสายสนับสนุน และหัวหน้างานของบุคลาการสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 280 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคสัมภาษณ์โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เรื่องสภาพการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าเชื่อมั่นที่ 0.96 ได้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคที่ 0.96 และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เรื่องแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา การวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า สภาพการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยภาพรวมมีการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการพัฒนารายบุคคลมีการพัฒนาสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาองค์กร ตามลำดับ ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพมีการพัฒนาต่ำสุด สำหรับแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยพะเยามีดังนี้ 1) มหาวิทยาลัย และหน่วยงานในมหาวิทยาลัยควรมีการส่งเสริม หรือนโยบายเรื่องการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล เพื่อการพัฒนาคุณสมบัติ ความสามารถ หรือศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จเป้าหมายที่บุคลากรคาดหวังไว้ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเป้าหมายขององค์กร 2) ควรมีแนวทางการบริหารผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับทิศทาง ตามยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยผู้บังคับบัญชามีการติดตามผลการปฏิบัติงานกำกับดูแล ให้คำปรึกษาแก่ผู้ปฏิบัติงาน และมีการนำผลที่ได้จากการประเมินไปประกอบการพิจารณาตอบแทนความดีความชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน 3) ควรมีการนำผลการวิเคราะห์รายบุคคลมาจัดทำแผนการพัฒนาอาชีพ หรือเส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน 4) ด้านการพัฒนาองค์กรควรมีการกำหนดเป้าหมายขององค์กร ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมร่วม อย่างชัดเจน และดำเนินงานพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น สายบังคับบัญชาควรมีลักษณะที่สั้น และเป็นองค์กรแบบสมัยใหม่ ควรมีการประเมินผลกระทบ และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับการพัฒนา และแนวทางการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับงบประมาณทรัพยากรระยะเวลาที่สามารถปฏิบัติได้