ระดับปริญญาโท (Master Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 5 of 516
- Itemปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ชมพูนุช อินทนนท์การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 216 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามตำบล และหมู่บ้านตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 4.10, S.D. = 0.53) แรงสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสุง (x̄ = 4.23, S.D. = 0.38) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 2.67, S.D. = 0.16) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 0.91, S.D. = 0.13) ทัศนคติในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 4.24, S.D. = 0.44) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 4.59, S.D. = 0.42) ผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ทัศนคติ (B = 0.450, t = 6.7, p-value < 0.00) และแรงสนับสนุนทางสังคม (B = 0.174, t = 2.22, p-value < 0.03) มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้หน่วยบริการสาธารณสุข ในพื้นที่ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนทางสังคมเสริมสร้างองค์ความรู้ให้ อสม. มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่
- Itemศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ (Fusarium endophyticum) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium oxysporum f. sp. capsici) และแอนแทรคโนส (Colletotrichum capsici) ในพริกหวาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ธันยพร ยานะวงษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของปุ๋ยชีวภาพจากราเอนโดไฟท์เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคเที่ยวเหลือง Fusarium oxysporum f. sp. capsici และแอนแทรคโนส Colletotrichum capsici ในพริกหวาน ทำการทดสอบความสามารถราเอนโดไฟท์ในการละลายธาตุอาหาร บนอาหารแข็งทั้งหมด 271 ไอโชเลท พบว่า มีรา 8 ไอโซเลท ที่สามารถละลายธาตุอาหาร Ca3(PO4)2 และรา Fusarium endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) มีค่า Solubilization Index (S) มากที่สุด และมีประสิทธิภาพการละลายฟอสเฟต (P- solubilization) ในอาหารเหลวที่มีส่วนประกอบของ Ca3(PO4)2, CaCO3, CoCO3, ZnO, ZnCO3, FePO4, และดินขาว เท่ากับ 74.09, 49.98, 6.04, 124.35, 169.66, 287.26 และ 45.62 ตามลำดับ การศึกษาสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโต พบว่า สามารถผลิตกรดอินโดอะชีติก เท่ากับ 34.108 (μg/ml) และผลิตไซเดอร์โรฟอร์เท่ากับ 17.03 มิลลิเมตร ในขณะที่ทดสอบความสามารถในการผลิตเอนไซม์บนอาหารแข็ง พบว่า รา F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ไคติเนส เอนไซม์เซลลูเลส เอนไซม์โปรติเอส และเอนไซม์ไฟเตส มีค่า HC value เท่ากับ 10.00 5.14 10.44 และ 24.83 ตามลำดับ การนำรา F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อ C. capsici และ F. oxysporum f.sp. capsici ด้วยวิธี dual culture test พบว่า ราเอนโดไฟท์ F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ C. capsici และ Fusarium oxysporum f.sp. capsici ได้ 41.10% และ 44% ตามลำดับ การทดสอบผล F. endophyticum (22 SGC 4V / 4-1) ต่อการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ พบว่า ที่ความเข้มข้น 1.0x108 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ส่งผลให้เมล็ดพืชผัก 5 ชนิด ได้แก่ พริกหวาน กะหล่ำปลีรูปหัวใจ คะน้าเห็ดหอม ผักกาดขาว และมะเขือเทศ มีอัตราการงอกมากที่สุดเท่ากับ 85.55%, 75.55%, 95.55%, 86.66% และ 93.33% ตามลำดับ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพอัดเม็ด F. endophyticum (22 SGC 4V/4-1) พบว่า หลังจากเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ นาน 6 เดือน ที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส มีชีวิตรอดมากที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 87.55 เปอร์เซ็นต์ และการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากรา F. endophyticum (22 SGC 4V/4-1) ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคของพริกหวาน พบว่า สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านความสูง จำนวนใบ น้ำหนักสดต้น น้ำหนักราก ความยาวราก เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น รวมถึงปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในพืช ปริมาณฟอสฟอรัสในพืช และปริมาณโพแทสเซียม ดีกว่าชุดควบคุม และสามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคเหี่ยวเหลืองในพริกได้
- Itemปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมีและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) รัตน์ธนาพร ยองเพชรการวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจค่าบ่งชี้ทางเคมี และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ชนบท จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ดำเนินการในอำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย จำนวน 422 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.3 มีอายุเฉลี่ย 62.2 ปี มีปัญหาการนอนหลับร้อยละ 19.9 มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอยู่ในระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร้อยละ 61.4 และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอยู่ในระดับ 7-8.9% ร้อยละ 81.50 ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนทางไต อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 43.6 สำหรับโครงสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค พบว่า คะแนนการรับรู้ความรุนแรงมีระดับต่ำ ร้อยละ 75.1 การรับรู้โอกาสเสี่ยงมีระดับปานกลาง ร้อยละ 57.3 ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง และความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตมีระดับสูง ร้อยละ 38.4 และ 45.3 พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระดับปานกลาง 61.4 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ค่าบ่งชี้ทางเคมีและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต พบว่า รายได้ (B = 0.15) และแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (B = 0.71) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (R² = 0.670) อายุ (B = -0.73) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (B = -1.15) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือดส่วนปัญหาการนอนหลับ (B = 10.71) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (R² = 0.143) เพศหญิ ง (B = -0.26) สถานภาพสมรสคู่ (B = -0.24) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต (B = -0.09) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และปัญหาการนอนหลับ (B = 0.42) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (R² = 0.416) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุปผลการศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของความรู้เรื่องโรคเบาหวานและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพควรเน้นในเพศหญิงเพื่อให้มีความรู้อย่างต่อเนื่องนำไปสู่การเพิ่มความตระหนักถึงความรุนแรงภาวะแทรกซ้อนของโรค ส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
- Itemการตรวจสอบซีไรไทป์ของเชื้อซาลโมเนลล่าโดยใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาสำหรับเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในภาคเหนือตอนบนของประเทศ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) สุดารัตน์ ศรีส่งSalmonella spp. จัดเป็นแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์ซึ่งก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร หรือที่เรียกว่า Gastroenteritis การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการหา serotype ของเชื้อ Salmonella spp. (Salmonella typing) อย่างรวดเร็วโดยใช้เทคนิคโมเลกุลต่าง ๆ ได้แก่ HRM-PCR CRISPR 2, verulotype analysis และ CRISPER 1 ร่วมกับ CRISPR 2 รวมถึงศึกษาลักษณะการแพร่กระจายของ Salmonella spp. (Salmonella transmission routes) ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดพะเยา การศึกษาประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ Salmonella typing โดยวิธี HRM-PCR ใช้ primer 3 ชนิด (fljB, gyrB, ycfQ) พบว่า การประเมินหา Salmonella serotype จากผู้ป่วย จำนวน 43 ตัวอย่างสามารถระบุ Salmonella serotype ที่มีการกระจายมากที่สุด คือ S. 4,5,12:i:- จำนวน 16 อย่าง, S. Enteritidis จำนวน 5 ตัวอย่าง และ S. Stanley จำนวน 3 ตัวอย่างตามลำดับ และในการระบุ Salmonella serotype ด้วยวิธีการ HRM-PCR จำเป็นต้องมี Standard control Salmonella ที่ทราบ serotype จากวิธี conventional serotyping) เพื่อให้ได้รูปแบบ HRM ที่จำเพาะต่อ Salmonella serotype นอกจากนี้พบว่า 8 ตัวอย่าง (Unknown) มีลักษณะ HRM patterns เฉพาะตัว แต่ไม่สามารถระบุ Salmonella serotype ได้ และไม่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่าง จำนวน 5 ตัวอย่างได้เนื่องจากรูปแบบ HRM patterns ใกล้เคียงกัน ส่วนวิธี CRISPR 2 และ verulotype analysis เพื่อตรวจสอบตัวอย่างเชื้อทั้งหมด 59 ตัวอย่างจากผู้ป่วย จำนวน 43 ตัวอย่าง และจากสัตว์ 16 ตัวอย่างโดยวิเคราะห์จากรูปแบบความแตกต่างของ MLVA 5 แบน และขนาดของ CRISPR 2 (500-2,000 bps) จำนวน 1 แบนจาก Agarose gel electrophoresis พบว่า S. 4,5,12:i:-, S. Typhimurium S. Enteritidis และ S. Derby มีรูปแบบ MLVA ขนาดของ CRISPR 2 ที่จำเพาะแต่ S. Weltevraden และ S. Stanley มี 2 ขนาด CRISPR 2 ที่แตกต่างกัน โดยการวิเคราะห์ 8 ตัวอย่าง (unknown ; HRM-PCR) จำเป็นต้องทำการ sequencing CRISPR 2 (CRISPR 2 fragments) และเปรียบเทียบกับข้อมูลขนาดของ ของ WGS ที่ทราบ Salmonella serotype (Insilco analysis) ผลการวิเคราะห์ Salmonella serotypes ตรงกับวิธีมาตรฐาน (Conventional serotyping) และจากการวิเคราะห์ Virulence gene (7 genes) สามารถแยก S. 4,5,12:i:- ได้ 2 รูปแบบ (Subtypes) โดยดูที่ความแตกต่างของการพบ sopE1 gene ในจีโนม ซึ่งพบว่ามี sopE1 จำนวน 8 ตัวอย่าง และไม่มี sopE1 จำนวน 10 ตัวอย่าง และวิธีการสุดท้ายการประเมินความแตกต่างของ CRISPER 1 ร่วมกับ CRISPR 2 ในรูปแบบเจล และการทำนายขนาด DNA fragments ของ CRISPER 1 ร่วมกับ CRISPR 2 (In silico analysis) โดยใช้โปรแกรม WGS (Mega 6) ร่วมกับโปรแกรม CRISPR Cas Finder พบว่า แถบ DNA ส่วน CRISPER 1 และ CRISPR 2 จากการทดลองจริงมีความสอดคล้องกับขนาดของ CRISPER 1 และ CRISPR 2 ที่ได้จาการวิเคราะห์ WGS จาก Public database มาตรฐาน งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าวิธี CRISPER 1 ร่วมกับ CRISPR 2 เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ Salmonella serotype เนื่องจากวิธีการดังกล่าวมีความง่ายในการปฏิบัติการ ง่ายในการอ่าน และวิเคราะห์ผล ใช้เวลาน้อย และราคาต่ำ
- Itemประสิทธิภาพผลการนำนโยบายการบริหารภาครัฐดิจิทัลไปปฏิบัติในการจัดการงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ว่าที่ร้อยตรีชนินทร์ หาญจริงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารภาครัฐดิจิทัลไปปฏิบัติในการจัดการงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 2) เสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารภาครัฐดิจิทัลไปปฏิบัติในการจัดการงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารภาครัฐดิจิทัลไปปฏิบัติในการจัดการงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้าง คณะกรรมการกองทุนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้ง มีการปรับเปลี่ยนทุก 4 ปี ทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง สมาชิกสภาคนใหม่ต้องเริ่มเรียนรู้ระบบการจัดการใหม่ ด้านบุคลากร ยังขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านงบประมาณ มีข้อจำกัดเรื่องการจัดตั้งงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยี และการสรรหาบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีโดยตรงด้านสถานที่ มีความสะดวกสบาย และเหมาะสมเพียงพอต่อผู้มารับบริการ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้มีความทันสมัย และเพียงพอต่อการให้บริการแก่ลูกสมาชิก 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการนำนโยบายการบริหารภาครัฐดิจิทัลไปปฏิบัติในการจัดการงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ได้แก่ การกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนให้สมาชิกส่วนใหญ่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องวาระการเป็นคณะกรรมการกองทุน การฝึกอบรมกรรมการและเจ้าหน้าที่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานอื่นสนับสนุนการจ้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประจำกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ และการเพิ่มช่องทางในการให้บริการเชิงดิจิทัลกับลูกสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอกคำใต้ให้มีความหลากหลายเพื่อการติดต่อสื่อสารที่ง่าย สะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) แอปพลิเคชันไลน์ (Line) ระบบ E–Service แพลตฟอร์มต่าง ๆ