University of Phayao
Digital Collections
ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดทำโดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ของมหาวิทยาลัยพะเยา
นโยบายการรับผลงานการรับผลงานเข้าสู่ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จะคัดเลือกรับผลงานประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- Theses วิทยานิพนธ์
- Dissertations ดุษฎีนิพนธ์
- Independent Study รายงานการค้นคว้าอิสระ
- Technical Report รายงานการวิจัย
- Journal Paper บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในบทความวารสาร
- Bachelor’s Project ปัญหาพิเศษนักศึกษาปริญญาตรี
- Patents สิทธิบัตร
- Local Information Phayao Province ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา
- University of Phayao Archives จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพะเยา
ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือส่งผลงานได้ที่ UPDC Support.
Communities in DSpace
Select a community to browse its collections.
Recent Submissions
Item
การพัฒนาระบบคูลอมเมตริกไทเทรชันแบบง่ายเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) สาวิน เกียตร; มโนรมย์ รัฐ
ระบบคูลอมเมตริกไทเทรชันแบบง่ายได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ไส้ดินสอเป็นขั้วไฟฟ้าใช้งาน และขั้วไฟฟ้าช่วย ในงานนี้ปฏิกิริยา 2 ประเภท คือ ปฏิกิริยารีดอกการหาปริมาณของโซเดียมไธโอซัลเฟตด้วยไอโอดีนที่ได้จากการสร้างขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าใช้งานและปฏิกิริยา กรด-เบสในการหาปริมาณของกรดไฮโดรคลอริกด้วยไอออนไฮดรอกไซด์ที่ได้จากการสร้างขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าใช้งาน ได้ถูกเลือกเป็นปฏิกิริยาตัวอย่างเพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสม การศึกษาพบว่า ไส้ดินสอขนาด 2 มิลลิเมตรถูกเลือกเนื่องจากไม่มีการสึกกร่อนของขั้วในขณะทำการทดลองเมื่อเทียบกับขนาดอื่น สารละลายอิเล็กโทรไลต์ที่เหมาะสมสำหรับทั้งสองปฏิกิริยา คือ 1 โมลาร์ โพแทสเซียมคลอไรด์ โดยระบบคูลอมเมตริกไทเทชันจะถูกต่อกับชุดจ่ายกระแสจากอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรีขนาด 5 โวล์ต ที่ไม่ผ่านวงจรควบคุมกระแส ตัวต้านทานถูกใช้ช่วยในการคายประจุของขั้วไฟฟ้า จากการทดลองพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เป็นอุปกรณ์สาธิตสำหรับการศึกษาปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีในการเรียนระดับปริญญาตรี
Item
การสำรวจหนอนพยาธิในปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) และปลาซ่า (Labiobarbus siamensis) จากกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กัณฐมณี บุญวัฒน์; กุลณัฐ แสงอุ่น; พรวิภา สุปัญโญ
การสำรวจหนอนพยาธิในปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) และปลาซ่า (Labiobarbus siamensis) จากกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างปลาชนิดละ 50 ตัว รวมทั้งหมด 100 ตัว ในปลาตะเพียนขาว พบค่าความชุกรวม (total prevalence) เท่ากับ 100% พบหนอนพยาธิ 5 ชนิด คือ Dactylogyrus sp., D. thailandensis, Diplozoon sp., Haplorchoides sp. และ Acanthosentis sp. มีความชุก (prevalence) เท่ากับ 84, 4, 4, 100 และ 10% ตามลำดับ มีค่าความหนาแน่น (intensity) เท่ากับ 21.5, 2.66, 0.1, 3,072.6 และ 0.2 ตัวต่อปลา ตามลำดับ ในปลาซ่า พบค่าความชุกรวม เท่ากับ 100% พบหนอนพยาธิ 6 ชนิด ได้แก่ Dactylogyrus sp., D. thailandensis, Diplozoon sp., Paradiplozoon sp., Haplorchoides sp. และ Acanthosentis sp. มีความชุกเท่ากับ 64, 8, 16, 2, 100 และ 84% ค่าความหนาแน่น (intensity) เท่ากับ 8.26, 0.64, 0.32, 0.02, 98.42 และ 3.44 ตัวต่อปลา ตามลำดับ
Item
การคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) พรชิตา จะชาญ
แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม (Potassium solubilizing bacteria: KSB) เป็นแบคทีเรียที่พบบริเวณรากพืช มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนโพแทสเซียมรูปที่ไม่ละลายเป็นรูปที่พืชนำไปใช้ได้ (K+) ช่วยส่งเสริมให้พืชดูดซึมโพแทสเซียมได้ดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมจากดินบริเวณรากพืช (rhizophere) จากพืช 6 ชนิด ได้แก่ ข้าว ผักบุ้ง งาขี้ม้อน ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสาบเสือ โดยวิธี spread plate บนอาหารแข็ง Modified Aleksandrove medium ที่เติมแร่เฟลด์สปาร์เป็นส่วนประกอบ บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน สามารถคัดแยกแบคทีเรียละลายโพแทสเซียมซึ่งสามารถสร้างบริเวณใสรอบโคโลนีได้ทั้งหมด 28 ไอโซเลท นำแบคทีเรียทั้ง 28 ไอโซเลทและแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 16 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพการละลายโพแทสเซียมบนอาหารแข็ง ด้วยวิธี spot plate จากนั้นคัดเลือกแบคทีเรีย จำนวน 8 ไอโซเลท ที่ให้ค่าสัดส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณใสต่อเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีสูง (3.50-7.0 เท่า) มาประเมินประสิทธิภาพการละลายโพแทสเซียมในอาหารเหลวด้วยเทคนิค flame atomic absorption spectrophotometry (FAAS) พบว่า ไอโซเลท KC7 ให้ค่าการละลายโพแทสเซียมสูงที่สุดที่ 2.63 มิลลิกรัมต่อลิตร รองลงมา คือ ไอโซเลท KC1 ให้ค่าการละลายโพแทสเซียมที่ 2.43 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ได้จำแนกชนิดของแบคทีเรียโดยใช้ลำดับเบสของยีน 16s rDNA พบว่า KC7 และ KC1 คือ แบคทีเรีย Burkholderia gladioli และ Burkholderia cepacia ตามลำดับ
Item
ระบบตรวจวัดปริมาณออกซิเจนลักษณะการนอนและอุณหภูมิร่างกายของเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ปิญากรณ์ น่วมอิ่ม
ในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบและพัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณออกซิเจน ลักษณะการนอนและวัดอุณหภูมิร่างกายของเด็กเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตในเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี ซึ่งมาจากสาเหตุสำคัญ คือ อุณหภูมิร่างกายสูงผิดปกติจนนำไปสู่การเสียชีวิต และออกซิเจนในเลือดต่ำโดยปัจจัยที่ทำให้ปริมาณออกซิเจนต่ำ คือ ลักษณะการนอนของเด็ก ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ โดยระบบประกอบด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Pro Mini เทอร์มิสเตอร์ เซ็นเซอร์วัดปริมาณออกซิเจนในเลือด เซ็นเซอร์ความเร่ง และบลูทูธ สำหรับวัดค่าต่าง ๆ และมีการเขียนแอพพลิเคชั่นสำหรับแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ ผ่านสัญญาณบลูทูธ ซึ่งผลการทดสอบการทำงาน พบว่า ระบบสามารถวัดอุณหภูมิร่างกาย ปริมาณออกซิเจนในเลือด และพฤติกรรมการนอนมาแสดงบนแอพพลิเคชั่นมือถือได้ จากผลการวิจัยพบว่า ค่าอุณหภูมิของเทอร์มิสเตอร์ที่เปรียบเทียบกับ Infrared Thermometer Model กับคนอายุ 22 ปีและกับเด็กอายุ 2 ปี ค่าเฉลี่ยของเทอร์มิสเตอร์น้อยกว่า Infrared Thermometer Model แต่ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของเทอร์มิสเตอร์มีค่ามากกว่า ในส่วนของผลการเปรียบเทียบการวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด GY-MAX30100 เซ็นเซอร์วัดปริมาณออกซิเจนที่เราใช้เทียบกับ Pulse Oximeter กับคนอายุ 22 ปีและ 2 ปี พบว่า ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีความใกล้เคียงกับค่าที่วัดได้จาก Pulse Oximeter และผลที่ได้จากการเปรียบเทียบ GY-MAX30100 กับ Digital Wrist Blood Pressure Monitor & Heart Beat Meter กับคนอายุ 22 ปี ค่าเฉลี่ยของ GY-MAX30100 น้อยกว่า Digital Wrist Blood Pressure Monitor & Heart Beat Meter และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากัน ในส่วนของ Digital Wrist Blood Pressure Monitor & Heart Beat Meter กับไม่สามารถวัดปริมาณออกซิเจนในเด็กอายุ 2 ปีได้เนื่องจาก เครื่องมีขนาดใหญ่ และการใช้งานของเครื่องไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก
Item
การศึกษาอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงและประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไผ่ในพื้นที่ป่า มหาวิทยาลัยพะเยา
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ณัฐณิชา วงค์หาญ; วชิรวิชญ์ นิธิยศไพศาล; วัลลภ ขำโตนด
การศึกษาอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง และประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไผ่ในพื้นที่ป่า มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของไผ่ และประเมินการกักเก็บคาร์บอนของไผ่ ทำการศึกษาในพื้นที่ป่าไผ่บริเวณศูนย์อนุบาลพันธุ์ไม้ และบริเวณข้างพระนาคปรก ทำการวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้เครื่องวัดการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบควบคุมสภาพแวดล้อม และวัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อหาความสัมพันธ์ เก็บข้อมูลความสูง และเส้นผ่านศูนย์กลางเพื่อคำนวณหามวลชีวภาพ โดยใช้สมการแอลโลเมตริก และคำนวณการกักเก็บคาร์บอน ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ป่าไผ่ทั้ง 2 พื้นที่ มีค่าความสัมพันธ์ (R2) ระหว่างอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากกว่า 0 ทุกค่า แสดงว่าเมื่ออัตราการคายน้ำ การเปิดปิดของปากใบ และความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเซลล์สูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้นเช่นกัน และเมื่อความเข้มแสง ความชื้น และอุณหภูมิสูงขึ้น จะส่งผลให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้นด้วยเช่นกัน และการศึกษามวลชีวภาพ พบว่า มวลชีวภาพของไผ่ในบริเวณศูนย์อนุบาลต้นไม้ มีมวลชีวภาพรวมทั้งหมด 0.160 ตันต่อเฮกแตร์ และในบริเวณข้างพระนาคปรก มีมวลชีวภาพรวมทั้งหมด 0.212 ตันต่อเฮกแตร์ ซึ่งการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของไผ่ในบริเวณศูนย์อนุบาลต้นไม้ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมทั้งหมด 0.075 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ และในบริเวณข้างพระนาคปรกมีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนรวมทั้งหมด0.100 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์