University of Phayao

Digital Collections

ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จัดทำโดยศูนย์บรรณสารและการเรียนรู้ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ของมหาวิทยาลัยพะเยา

นโยบายการรับผลงานการรับผลงานเข้าสู่ฐานข้อมูลคลังปัญญา มหาวิทยาลัยพะเยา จะคัดเลือกรับผลงานประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Theses วิทยานิพนธ์
  • Dissertations ดุษฎีนิพนธ์
  • Independent Study รายงานการค้นคว้าอิสระ
  • Technical Report รายงานการวิจัย
  • Journal Paper บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในบทความวารสาร
  • Bachelor’s Project ปัญหาพิเศษนักศึกษาปริญญาตรี
  • Patents สิทธิบัตร
  • Local Information Phayao Province ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดพะเยา
  • University of Phayao Archives จดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพะเยา

ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือส่งผลงานได้ที่ UPDC Support.

Photo by @inspiredimages
 

Recent Submissions

Item
หัวตรวจจับก๊าซที่อุณหภูมิห้องที่มีฐานเป็นทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าชนิดอินทรีย์
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) วชิรา สุภาสอน
ในงานวิจัยนี้ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าชนิดอินทรีย์ถูกสร้างแบบเกทอยู่ด้านล่างโดยมีช่องนำกระแสเป็นพอลิเมอร์ชนิดพี โดยเริ่มจากการสร้างชั้นไดอิเล็กทริกบนกระจกโปร่งแสงนำไฟฟ้า FTO ด้วย PMMA ที่มีมวล 120 กรัม ละลายในไดคลอโรเบนซีนปริมาตร 1 มิลลิลิตร จากนั้นทำการหมุนเคลือบลงบนกระจกโปร่งแสงนำไฟฟ้า FTO ด้วยความเร็วเชิงมุม 1,500 รอบ ต่อนาที เป็นเวลา 30 วินาที จากนั้นสร้างชั้นไดอิเล็กทริกชั้นที่สองด้วย PVA ที่มีมวล 10 กรัม ละลายในน้ำ DI ปริมาตร 50 มิลลิลิตร จากนั้นทำการหมุนเคลือบลงบนกระจกโปร่งแสงนำไฟฟ้า FTO ด้วยความเร็วเชิงมุม 1,500 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 วินาที ต่อมาสร้างชั้นช่องนำกระแส ด้วย P3HT ทำการหมุนเคลือบ P3HT ลงบนชั้น PVA ด้วยความเร็วเชิงมุม 1,500 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 วินาที ขั้นตอนสุดท้ายทำการสร้างขั้วด้วยเงินลงบนชิ้นงานเพื่อสร้างขั้วของเดรน, ซอสและเกท ลักษณะการตรวจจับก๊าซของทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้องมีการเปลี่ยนแปลงแรงดันขีดเริ่มภายใต้สภาวะก๊าซ เมื่อทดสอบกับก๊าซเอทานอลที่มีความเข้มข้น 1,000 ppm พบว่า ค่าแรงดันขีดเริ่มเปลี่ยนค่าจาก 6.5 V เป็น 7 V, 4 V เป็น 4.5 V และ 6 V เป็น 8 V สำหรับชิ้นงานที่มีช่องนำกระแสเป็น P3HT, P3HT:RGO และ PCDTBT ตามลำดับ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของพาหะบนชั้นนำกระแสในสภาวะก๊าซเอทานอล ซึ่งก๊าซเอทานอลจะให้อิเล็กตรอนกับชั้นนำกระแส ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าระหว่างขั้วเดรนกับขั้วซอสสูงขึ้น จากผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้
Item
การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์และความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมของสารสกัดใบละหุ่งด้วยวิธี Allium test
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) จักรกฤษณ์ ดีมั่น; บุษยมาศ สุทา; ศศิธร อิ่มเพ็ง
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของสารสกัดจากใบละหุ่งด้วยเอทานอลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรม โดยวิธี Allium test ทำการทดสอบการอัตราการเจริญของรากหอมโดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0.25 กรัมต่อลิตร, 0.5 กรัมต่อลิตร, 1 กรัมต่อลิตร และ 2 กรัมต่อลิตร หลังจากนั้นทำการทดสอบผลของสารสกัดต่อความเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรม โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0.25 กรัมต่อลิตร, 0.3 กรัมต่อลิตร, 0.4 กรัมต่อลิตร และ 0.5 กรัมต่อลิตร โดยวิธี Allium test ผลของอัตราการเจริญของรากหอมทำให้เห็นว่าสารสกัดจากใบละหุ่งทำให้มีการเจริญของรากลดลงอยู่ระหว่าง 28.57 ถึง 67.09% โดยความเข้มข้นทั้งหมดของสารสกัดจากใบละหุ่งที่ทดลอง พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นต์ดัชนีการแบ่งเซลล์ ไม่แตกต่างกัน (11.26 ± 1.28 ถึง 13.01 ± 4.31) เมื่อเทียบกับ Negative control ในการศึกษาความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรม พบว่า มีค่าเปอร์เซ็นความผิดปกติของโครโมโซมอยู่ระหว่าง 1.77 ± 1.45 ถึง 4.29 ± 0.62 และที่สารสกัดจากใบละหุ่งความเข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร (%CA = 4.29 ± 0.62) มีความผิดปกติของโครโมโซมที่พบหลายชนิด เช่น Stickiness, C–mitosis, Chromosome lose, Chromosome bridge และ Laggard chromosome ดังนั้น สารสกัดของใบละหุ่งด้วยเอทานอล มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมในรากหอมแต่ไม่ส่งผลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์
Item
การวิเคราะห์หาปริมาณวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 ในตัวอย่างข้าวอินทรีย์ โดยใช้เทคนิคสเปกโทรโฟโตเมทรี
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) วรพจน์ ทองสว่าง; ศศิธร อินทร์สอน
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาปริมาณวิตามินบี 1 (ไทอามีน) วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) และวิตามินบี 3 (ไนอาซิน) ในตัวอย่างข้าวอินทรีย์ที่ปลูกจาก 11 จังหวัดในประเทศไทย โดยเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมทรี เก็บตัวอย่างข้าวไว้ในภาชนะพลาสติกมีฝาปิด ทำการสกัดตัวอย่างข้าวด้วยเครื่องอัลตราโซนิค ที่อุณหภูมิห้อง โดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัด วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 ใช้ 0.2 เปอร์เซ็นต์ของกรดอะซิติกในการสกัดเป็นเวลา 30 นาที และวิตามินบี 3 ใช้ 0.1 โมลาร์ของกรดไฮโดรคลอริกในการสกัดเป็นเวลา 5 นาที ค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดของวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 เท่ากับ 245, 266 และ 261 นาโนเมตร ตามลำดับ สำหรับการศึกษานี้มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในเกณฑ์ดี (R2 = 0.9992 – 0.9998) ค่าขีดจำกัดในการตรวจพบ สำหรับวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 เท่ากับ 0.1223, 0.2797 และ 0.1102 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่าขีดจำกัดการตรวจวัดเชิงปริมาณของวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 เท่ากับ 01653, 0.3099 และ 0.1390 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่าความแม่นยำของวิธีวิเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ดีและยอมรับได้ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ มีค่าร้อยละการได้คืนกลับอยู่ในช่วง 80.19 – 97.62 มีปริมาณวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 มีค่าอยู่ในช่วง 1.502 – 5.938, 8.7402 – 2.468 และ 0.087 – 11.804 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ
Item
ผลของรังสี UV-C ต่อการทำงานของเอนไซม์ trehalase และ α-amylase ในระยะตัวหนอนของมอดแป้ง Tribolium castaneum
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) จินดาพร ผุริจันทร์; ศักดิธัช ยั่งเจริญกิจ; สุกัญญา ประจักกะตา
มอดแป้ง (Tribolium castaneum) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญและทำความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด ได้แก่ เมล็ดธัญพืช แป้งชนิดต่าง ๆ ราข้าว เครื่องเทศ กาแฟ โกโก้ ผลไม้แห้ง และหนังสัตว์ เป็นต้น ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ซึ่งก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางเกษตรและยังส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมมอดแป้งโดยวิธีที่ไม่ใช้สารเคมี ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้นำวิธีการฉายรังสี UV-C มาใช้ในการทดลอง โดยฉายรังสี UV-C ในมอดแป้งระยะตัวหนอนอายุ 10 วัน ฉายที่เวลา 4.80 นาที (LT50) พบว่า รังสี UV-C ส่งผลให้การทำงานของ trehalase ลดลงในวันที่ 1-4 หลังจากได้รับรังสีและเพิ่มขึ้นในวันที่ 6 ในทางตรงกันข้ามรังสี UV-C ส่งผลให้การทำงานของ α-amylase เพิ่มขึ้นในวันที่ 1-4 และลดลงในวันที่ 6 นอกจากนี้รังสี UV-C ยังส่งผลให้ปริมาณ glucose และปริมาณ protein ลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม เมื่อเพิ่มเวลาในการฉายรังสีเป็น 16 และ 32 นาที พบว่า การฉายรังสีที่เวลา 16 นาที ทำให้ปริมาณ glucose และปริมาณ protein ลดลง ในขณะที่การฉายที่เวลา 32 นาที ส่งผลให้การทำงานของ trehalase, α-amylase ปริมาณ glucose และปริมาณ protein ลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องทำให้น้ำหนักของตัวหนอนลดลงและทำให้ตัวหนอนตายในที่สุด ผลที่ได้จากการทดลองแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการฉายรังสี UV-C ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการควบคุมแมลงศัตรูในโรงเก็บได้
Item
การแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ของข้าวสาลี ในสภาพการขาดโบรอน
(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) จิราภรณ์ เชื้อเพ็ชร; อัจฉรา สำเภาทอง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและเปรียบเทียบการแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ในใบและรากของข้าวสาลีพันธุ์ Fang60 (เป็นพันธุ์ทนต่อการขาดโบรอน) และข้าวสาลีพันธุ์ Bonza (เป็นพันธุ์อ่อนแอต่อการขาดโบรอน) ภายใต้สภาพปกติและขาดโบรอน ด้วยเทคนิค quantitative real-time PCR จากการทดลอง พบว่า ข้าวสาลีพันธุ์ Fang60 และ Bonza มีการแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ในรากสูงกว่าใบ ทั้งในสภาพปกติและสภาพขาดโบรอน และเมื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ระหว่างข้าวสาลีทั้ง 2 พันธุ์ พบว่า ข้าวสาลีพันธุ์ Fang60 มีค่าการแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ที่สูงกว่าพันธุ์ Bonza ทั้งรากและใบ ในสภาพปกติและสภาพขาดโบรอน แต่การแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ทั้งในข้าวสาลี Fang60 และ Bonza ในสภาพปกติ มีการแสดงออกสูงกว่าสภาพขาดโบรอน ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกถึงการแสดงออกของยีน TaNIP3;1 ในข้าวสาลีพันธุ์ Fang60 และ Bonza โดยยีนนี้อาจเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ดูดซึมโบรอนจากดินเข้าสู่รากพืช และยีน TaNIP3;1 อาจมีการทำงานร่วมกับยีนตัวอื่นในการควบคุมการชักนำในกระบวนการดูดซึมโบรอนของราก