คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Title
Now showing 1 - 20 of 125
Results Per Page
Sort Options
- Itemการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินพื้นที่สังคมป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ศุจีภรณ์ กุนแสงการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินพื้นที่สังคมป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา ศึกษาเพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน และเพื่อเก็บข้อมูลตัวอย่างพรรณไม้ ทำการสารวจพื้นที่ทั้งหมด 4,800 ตารางเมตร โดยวิธีการวางแปลงตัวอย่าง 3 สถานี คำนวณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยใช้สมการแอลโลเมตรี (Allometric) ประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน วิเคราะห์องค์ประกอบและความสำคัญของพรรณไม้ (Important Value Index, IVI) ผลการสำรวจพบว่า พบพรรณไม้ใน 18 วงศ์ 41 ชนิด จำนวน 943 ต้น มีมวลชีวภาพรวมเท่ากับ 372,879.3 t.ha-1 มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมเท่ากับ 179,557.9 tC.ha-1 ดัชนีความสำคัญของพรรณไม้สูงสุด คือ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) (77.40) รองลงมา คือ เต็ง (Shorea obtusa Wall. ex Blume.) (64.76) รัง (Pentacme siamensis (Miq.) Kurz.) (37.59) และเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) (23.04) ตามลำดับ ดัชนีความสำคัญเชิงสังคม ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) เท่ากับ 2.19 ความมากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Richness) เท่ากับ 6.86 และความสม่ำเสมอของชนิดพันธุ์ (Species Evenness) เท่ากับ 0.59 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางกายภาพต่อปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเป็นไปในทางตรงกันข้ามที่ระดับ -0.33 มีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้ามในระดับปานกลาง
- Itemการควบคุมหุ่นยนต์บีมด้วยวงจรซัสเปนด์ไบคอร์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ปิยรัชนี ประไพรภูมิหุ่นยนต์บีม (BEAM ย่อมาจาก Biology, Electronics, Aesthetics, Mechanics) เป็นรูปแบบหุ่นยนต์ที่ทำงานโดยไม่ใช้ระบบไมโครคอนโทรนเลอร์ (microcontroller) แต่ใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายมาควบคุม หรือเปรียบเสมือนสมองสั่งงานให้หุ่นยนต์ทำงานเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น พฤติกรรมตอบสนองต่อแสง พฤติกรรมเดินหาแสง พฤติกรรมเดินหนีความร้อน พฤติกรรมตอบสนองต่อเสียง เป็นต้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการควบคุมหุ่นยนต์บีม (BEAM robot) ให้มีพฤติกรรมเคลื่อนที่เข้าหาแสงด้วยวงจรซัสเปนไบคอร์ (suspended bicore) โดยใช้ไอซีเบอร์ 74HC240 มาต่อเป็นระบบควบคุมการทำงานภายในของหุ่นยนต์และใช้ photodiode มาต่อเป็นส่วนเซนเซอร์รับแสงเพื่อใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ให้มีพฤติกรรมเคลื่อนที่ตามแสง สำหรับกลไกการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์จะเดินด้วยขาโดยใช้มอเตอร์กระแสตรงในการขับเคลื่อนการเดินของขาด้วยระบบเฟือง ควบคุมการทำงานคล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต และหุ่นยนต์บีม (BEAM robot) นี้ยังสามารถนาไปประยุกต์ปรับใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ได้ เช่น อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ไฟฟ้า วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ และทัศน์คติที่ดีต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น
- Itemการคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารสัตว์หมัก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ปฏิวัติ แพรงาม; อมรรัตน์ มังคลาด; อิงธิลา ผดาวันการศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการผลิตอาหารสัตว์หมัก โดยคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ เปลือกสับปะรด และกากปาล์ม ผลการทดสอบพบว่า แบคทีเรียไอโซเลต 12 ที่คัดแยกได้จากเส้นก๋วยเตี๋ยวแสดงค่ากิจกรรมการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16s rDNA มีความคล้ายคลึงกับ Bacillus amyloliquefaciens ร้อยละ 99.93 และในการคัดเลือกยีสต์ที่สามารถผลิตเอทานอลได้ดีที่สุด คือ ยีสต์พันธุ์กลายไอโซเลต 96 สามารถผลิตเอทานอลสูงถึงร้อยละ 7 ในระยะเวลา 7 วัน ซึ่งมีปริมาณเอทานอลสูงกว่ายีสต์ชุดควบคุม จากนั้นจึงนำจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดที่คัดเลือกได้มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์หมักจากเปลือกสับปะรดและกากปาล์ม ร่วมกับแบคทีเรียกรดแลคติกเป็นระยะเวลาหมัก 15, 30 และ 60 วัน เพื่อตรวจสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์หมัก โดยวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณโปรตีน และแอลกอฮอล์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของอาหารหมักจากสับปะรดที่เติมเชื้อจุลินทรีย์ลดลง อยู่ในช่วง 3.62 ถึง 4.00 มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดในวันที่ 60 (ร้อยละ 5.61) และปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดในวันที่ 30 (ร้อยละ 4.68) สำหรับอาหารหมักจากกากปาล์มที่เติมเชื้อจุลินทรีย์มีค่าความเป็นกรด-ด่างลดลงอยู่ในช่วง 4.32 ถึง 5.67 มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดในวันที่ 60 (ร้อยละ 6.71) และมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดในวันที่ 15 (ร้อยละ 3.01) ดังนั้นอาหารสัตว์หมักที่เติมจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับอาหารสัตว์หมัก และยังเพิ่มโปรตีนรวมไปถึงแอลกอฮอล์ในอาหารสัตว์หมักเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการตลอดระยะเวลาการหมัก 60 วัน
- Itemการคัดแยกแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดิน ลำไส้ไส้เดือน และนำหมักไส้เดือน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ชฎาทร พลศรีคัดแยกแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ดิน ลำไส้ไส้เดือน และน้ำหมักไส้เดือน บนอาหารแข็ง Pikovskaya's medium (PVK) ในการศึกษาอิสระครั้งนี้ พบแบคทีเรีย ละลายฟอสเฟต จำนวน 94 ไอโซเลต จากนั้นนำแบคทีเรียที่คัดแยกได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตในอาหารเหลวสูตร PVK โดยเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน ตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตที่ละลายได้ และค่าความเป็นกรด – ด่าง สามารถคัดเลือกแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตสูงและมีค่าความเป็นกรดด่างในช่วง 5-6 ได้ 3 ไอโซเลต ได้แก่ ไอโซเลต S3, S31.2 และ EW32 ซึ่งมีค่าฟอสเฟตที่ละลายได้เท่ากับ 246.6, 665.5 และ 303.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 5.6, 6.0 และ 5.3 ตามลำดับ จากการบ่งชี้ชนิดด้วยหาการลำดับเบส 16s rDNA พบว่า ไอโซเลต S3, S31.2 และ EW32 คือ Bacillus subtilis strain IP6, Bacillus subtilis strain B11 และ Klebsiella pneumoniae strain 26 ตามลำดับ
- Itemการคำนวณค่าพารามิเตอร์ทางจักรวาลวิทยาจากแบบจำลองกฎกำลังแฟนธอม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) วชิรวิทย์ สีเสนเอกภพในปัจจุบันมีการขยายตัวแบบเร่งออก นักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาเชื่อว่าเป็นผลมาจากพลังงานมืด และมีการนำเสนอแบบจำลองต่าง ๆ เพื่ออธิบายถึงการขยายตัวแบบเร่งออกเนื่องจากพลังงานมืดนี้จากการศึกษาแบบจำลองเตคิออนกฎกำลัง และแบบจำลองควินเทสเซนส์กฎกำลัง พบว่า ยังไม่สามารถนำมาอธิบายการขยายตัวของเอกภพได้ ดังนั้นจึงได้มีการขยายแนวคิดจากเดิมไปเป็นการศึกษาแบบแฟนธอมซึ่ง a x (ts - t)β โดย β < 0 จะสอดคล้องกับการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพ และจากแบบจำลองแฟนธอมเตคิออนกฎกำลัง และแบบจำลองแฟนธ่อมควินเทสเซนส์ พบว่า พารามิเตอร์เลขชี้กำลังเบตา , พารามิเตอร์ ความหน่วง q0 และสมการสถานะ wϕ มีค่าพารามิเตอร์ที่คำนวณได้เท่ากัน คือ β = -10:81+13:73-13:58 (WMAP9 + eCMB+BAO+H0), β = -42:08+167:8-178:9 (TT; TE;EE+lowP+Lensing+ext), q0 = -1:093+0:117-0:116 (WMAP9+eCMB + BAO+H0), q0 = -1:0237+0:0943-0:1005 (TT; TE;EE+lowP + Lensing+ext), wϕ = -1:06+3:54-5:89 (WMAP9+eCMB+BAO+H0) และ wϕ = -1:02+2:54 -1:74 (TT; TE;EE+lowP+Lensing+ext) ซึ่งค่าพารามิเตอร์เลขชี้กำลังสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเร่งออกของเอกภพ เช่นเดียวกับค่าพารามิเตอร์ความหน่วงที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์ และเมื่อเทียบกับค่าสมการสถานะของยานสำรวจอวกาศ คือ wϕ;0;obs=-1:073+0:090-0:089 (WMAP9+eCMB+BAO+H0), wϕ;0;obs =-1:019+0:075-0:080 (TT; TE;EE+lowP +Lensing+ext) พบว่า ค่าสมการสถานะที่คำนวณได้มีค่าใกล้เคียงกับค่าจากยานสำรวจ ดังนั้นแบบจำลองแฟนธอมเตคิออนกฎกำลัง และแบบจำลองแฟนธอมควินเทสเซนส์กฎกำลัง สามารถใช้อธิบายการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพได้
- Itemการจำลองการทำงานของแขนกลด้วย ROS Moveit!(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) นันทพงศ์ บัวพัฒน์เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมันถูกใช้อย่างกว้างขวางในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะแขนกล ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการงานซ้ำ ๆ และงานที่เป็นอันตรายแทนมนุษย์ การจำลองมีบทบาทสำคัญในการวิจัยหุ่นยนต์สำหรับการทดสอบแนวคิดการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา ในศึกษานี้ได้ศึกษาการทำงานของแขนกลในการเคลื่อนย้ายหลบสิ่งกีดขวาง และการจับ-วางวัตถุ ซึ่งเป็นพื้นฐานของแขนกลผ่านการจำลอง ซึ่งเราสามารถทำได้โดยใช้แพคเกจ Moveit! ของระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ (ROS) โดยการจำลองสภาพแวดล้อม และวางแผนการเคลื่อนไหวของแขนกล
- Itemการจำลองรถขับเคลื่อนตนเองแบบการเรียนรู้เชิงลึก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ณัฐนันท์ น้อยโตงานวิจัยนี้ได้ทำการจำลองสถานการณ์รถขับเคลื่อนตนเองที่ใช้การ simulation ผ่านโปรแกรม Car simulator ซึ่งมีการจำลองสถานการณ์โดยใช้กระบวณการเรียนรู้โครงข่าย ประสาทเทียมการเรียนรู้เชิงลึก หรือเรียกอีกชื่อว่าโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน เพื่อการจำแนกรูปภาพการเคลื่อนที่ของรถขับเคลื่อนตนเอง ที่มีการเคลื่อนที่ตรงไปด้านหน้าเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ที่ได้จากการขับรถขับเคลื่อนตนเองผ่านโปรแกรม ที่ใช้การขับแบบบังคับเอง (manual) โดยมีการสร้างการจำลองสถานการณ์ทั้งหมด 2 สนาม คือ จำลองสถานการณ์รถขับเคลื่อนตนเองแบบทางโค้งปกติ (สนามที่ 1) และจำลองสถานการณ์รถขับเคลื่อนตนเองแบบทางโค้งขึ้นเนิน (สนามที่ 2) และมีการใช้จำนวนภาพสีสำหรับการเรียนรู้แบบจำลองที่ต่างกัน สนามที่ 1 ใช้ทั้งสิ้น 1696 รูป สนามที่ 2 ใช้ทั้งสิ้น 3639 รูป ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความแม่นยำของแบบจำลองเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ Hidden Layer และ จำนวน epoch ในส่วนของ Neural Network ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อความแม่นยำของแบบจำลอง ผลการทดลองที่ได้จากการสร้างการจำลองสถานการณ์ทั้ง 2 สถานการณ์ แสดงค่าความผิดพลาดของสนามที่ 1 มีค่า 0.0271 และสนามที่ 2 มีค่า 0.1004 และค่าความแม่นยำของสนามที่ 1 มีค่า 0.9721 และสนามที่ 2 มีค่า 0.8996
- Itemการทดสอบความเหมาะสมของวัสดุรองนอนจากซังข้าวโพดโดยการใช้เชื้อรา Beauveria bassiana และ Trichoderma harzianum ในการทำเป็นปุ๋ยหมัก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) นุชนาฏ หมื่นสิทธิโรจน์; สุทธิพงศ์ สงพิมพ์การศึกษาความเหมาะสมของวัสดุรองนอนจากชังข้าวโพดโดยการใช้เชื้อรา Beauveria bossiona waะ Trichoderma harzianum ในการทำเป็นปุ๋ยหมัก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีบางประการของวัสดุรองนอนใช้แล้วหลังหมัก เพื่อศึกษาธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในวัสดุรองนอนใช้แล้วก่อนหมักและหลังหมัก และเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของถั่วเขียวที่ปลูกด้วยวัสดุรองนอนใช้แล้วทำการศึกษาโดยการนำเชื้อรา B. bossiona ที่ความเข้มข้น 1.9 x 1010 sporesiml และเชื้อรา T. harzionum ที่ความเข้มข้น 2.3 x 1010 spores/ml มาหมักกับวัสดุรองนอนแล้วทำการวัดอุณหภูมิภายนอก-ภายในถังหมัก, ค่าความเป็นกรด-เบส และค่าการนำไฟฟ้า ทุก 5 วันของการหมัก ตลอด 30 วัน แล้วทำการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลักของวัสดุรองนอนทั้งก่อนหมักและหลังหมัก จากนั้นนำวัสดุรองนอนที่ได้หลังจากการหมัก มาใช้ในการปลูกถั่วเขียว โดยผลการศึกษาพบว่า ในสามชุดทดลองประกอบไปด้วย กลุ่มควบคุม (C) คือ ไม่ใส่เชื้อรา, กลุ่มทดลอง (B) คือ ใส่เชื้อรา B. bossiona และ กลุ่มทดลอง (T) คือ ใส่เชื้อรา T. harzionum ลักษณะทางกายภาพและเคมีบางประการในวัสดุรองนอน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านของอุณหภูมิ, ค่าความเป็นกรด-เบส และค่าการนำไฟฟ้า การวิเคราะห์ค่าผลต่างของธาตุอาหารหลักก่อนหมักและหลังหมัก ทุกกลุ่มทดลองมีค่าเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนลดลงแต่ค่าฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมของทุกกลุ่มทดลอง มีค่าเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น การทดสอบการเจริญเติบโตของถั่วเขียว พบว่า ในด้านความกว้าง และความยาวของใบถั่วเขียว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
- Itemการทำดิจิตอลซับสเตรทในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับใช้ในการทำเซนเซอร์ก๊าซ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ปิยะพร ชัยเจริญโดยปกติแล้ว ความไวของก๊าซเซ็นเซอร์จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความเข้มข้นของก๊าซสารที่ใช้ทำเซนเซอร์ โครงสร้างของสารและรูปแบบของอิเล็กโทรด ในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบ และสร้างลวดลายขั้วอิเล็กโทรดแบบอินเตอร์ดิจิตอล สำหรับเป็นแผ่นรองรับหัวตรวจจับก๊าซแบบต่าง ๆ โดยใช้สารโครงสร้างนาโนซิงก์ออกไซด์เป็นสารตรวจจับก๊าซ และนำไปทดสอบสมบัติการตรวจจับก๊าซแก๊สเอทานอล ขั้วอิเล็กโทรดแบบอินเตอร์ดิจิตอลเตรียมด้วยกระบวนการระเหยสุญญากาศทองคำลงบนแผ่นอลูมิน่าและแกะสลักฟิล์มทองด้วยเลเซอร์มาร์กเกอร์ เพื่อสร้างลวดลายอิเลคโทรด หลังจากนั้นขั้วอิเล็กโทรดแบบอินเตอร์ดิจิตอล ถูกเคลือบด้วยสารโครงสร้างนาโนซิงก์ออกไซด์ โดยควบคุมความหนาและพื้นที่สัมผัส และทำการตรวจวัดความไวของก๊าซเซ็นเซอร์ต่อก๊าซเอทานอลที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ผลการทดลองพบว่า ความไวของก๊าซเซ็นเซอร์ขึ้นอยู่กับลวดลายของขั้วอิเล็กโทรดแบบอินเตอร์ดิจิตอลหลังจากนั้นจึงศึกษาลวดลายของหัวตรวจจับก๊าซที่ดีที่สุด
- Itemการนำใบของไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มาชักนำให้เกิดแคลลัสโดยการใช้ BA Kn และ TDZ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กุลวัฒน์ บัวป้อม; ศศิธร ปัญญาสิทธิ์การศึกษาการเพาะเลี้ยงไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบไซโตไคนินที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาเป็นแคลลัส ต้นใหม่ ราก และใบ และศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำแคลลัสให้เกิดต้นใหม่ โดยการนำชิ้นส่วนเริ่มต้นของไก่แดง คือ ใบ เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมด้วย BA Kn และ TDZ ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 0.5 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่สูงสุดเฉลี่ย 1.12 ยอดต่อชิ้นส่วนเริ่มต้น สูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดต้นใหม่และใบสูงสุดเฉลี่ย 4.35 ต้นต่อชิ้นส่วนเริ่มต้น และ 4.62 ใบต่อชิ้นส่วนตามลำดับ สูตรอาหาร MS ที่เติม Kn ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากสูงสุดเฉลี่ย 0.07 รากต่อชิ้นส่วน และสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสสูงสุดเฉลี่ย 0.33 มิลลิเมตรต่อชิ้นส่วน
- Itemการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่า เขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา) เส้นทางหมายเลข 1-3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กฤษณ รัตนปัญญา; กวิน นามุนทาการศึกษาการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยหลวง จังหวัดพะเยา ในเส้นทางหมายเลข 1, 2 และ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและพรรณพืช โดยแบ่งการศึกษาข้อมูลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การศึกษาด้านอนุกรมวิธาน, การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลทางดาวเทียม Landsat ด้วยโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS 10.3 และการออกแบบทางภูมิทัศน์และสถานจำลองสำคัญ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp จากการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แบ่งเป็นเส้นทางหมายเลข 1, 2 และ 3 มีระยะทางรวม 9.49, 5.57 และ 4.18 กิโลเมตร ตามลำดับ นอกจากพันธุ์พืชแล้ว บนเส้นทางการเดินศึกษาธรรมชาตินี้ยังพบแหล่งน้ำธรรมชาติ, พื้นที่ลาดชัน และพื้นที่อยู่อาศัยของทาก การศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานของพืชบางชนิดในเส้นทางสามารถจัดจำแนกได้ 17 วงศ์ 34 สกุล และ 50 ชนิด โดยแบ่งเป็น เฟิร์น จำนวน 14 วงศ์ 30 สกุล 36 ชนิด มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 400 เมตร ถึง 1,638 เมตร ส่วนใหญ่เป็นเฟิร์นในวงศ์ Polypodiaceae และ Parkeriaceae , พบพืชวงศ์ก่อ จำนวน 2 สกุล 11 ชนิด มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 922 เมตร ถึง 1,401 เมตร สกุลที่พบ ได้แก่ Castanopsis และ Lithocarpus, พืชวงศ์สน ที่พบได้แก่ Pinus kesiya Royle ex Gordon และ Pinus merkusii Jungh. & de Vriese มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 900 เมตร ถึง 1,400 เมตร และพบพืชพวกปรง (Cycas sp.) มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 1,100 เมตร ถึง 1,300 เมตร ด้านการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูลทางดาวเทียม โดยมีการวิเคราะห์ค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) เพื่อศึกษาความหนาแน่นพื้นที่ป่าไม้ จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 ปี พ.ศ. 2546 และ Landsat 8 ปี พ.ศ.2559 พบว่า ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 แสดงสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้แบบหนาแน่นมากที่สุด 23%, แบบหนาแน่นมาก 32%, แบบหนาแน่นปานกลาง 27%, แบบหนาแน่นน้อย 14% และแบบหนาแน่นน้อยที่สุด 4% สำหรับข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 8 นั้น พบพื้นที่ป่าไม้แบบหนาแน่นมากที่สุด 13%, แบบหนาแน่นมาก 22%, แบบหนาแน่นปานกลาง 26%, แบบหนาแน่นน้อย 25% และแบบหนาแน่นน้อยที่สุด 14% นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้ออกแบบสถานที่จำลองเพื่อตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศซึ่งมี สถานีตรวจวัดอากาศ (ชุดเครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม, เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบแก้วตวง), พื้นที่ให้ความรู้ทางพฤกษศาสตร์และข้อมูลสำคัญ ซึ่งมีลักษณะเป็นป้ายความรู้ โดยด้านหน้าของป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่นั้น ๆ เช่น สันหมูแม่ด้อง, ทุ่งเด่นสะแกง, บันไดก่ายฟ้า และยอดดอยหลวง เป็นต้น ในส่วนด้านหลังของป้ายให้ความรู้ จะแสดงตำแหน่งที่นักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาธรรมชาติยืนอยู่ และแสดงพื้นที่พักแรมที่กางเต็นท์ และอาคารอเนกประสงค์ที่มีพื้นที่ใช้ซอยภายในประมาณ 27.75 ตารางเมตร
- Itemการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) เทพพิทักษ์ ยศธสาร; ลัทธพล กล้าหาญประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง งานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5 โดยนำเทคนิคการถ่ายภาพระยะไกลด้วยดาวเทียมมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหนาแน่นของพรรณพืชเพราะสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อหาเอกลักษณ์พืชโดยใช้ Pictorial key จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม Landsat โดยใช้ฐานข้อมูล USGS เพื่อสร้างแผนที่วิเคราะห์พื้นที่ป่าไม้ โดยใช้ค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) จากโปรแกรม ArcGIS 10.3 สร้างแผนที่การเดินศึกษาธรรมชาติโดยใช้ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ และออกแบบแบบจำลองสถานีตรวจอากาศ, พื้นที่ให้ความรู้ และพื้นที่พักแรม โดยใช้โปรแกรม Google SketchUp จากการศึกษาพบว่า เส้นทางหมายเลข 4 มีระยะทางรวม 4.00 กิโลเมตร ตามเส้นทางมีน้ำตก 5 ขั้น พบเฟิร์นกระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 521 เมตร ถึง 1,638 เมตร จำนวน 11 วงศ์ 25 สกุล และ 34 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Polypodiaceae จำนวน 10 ชนิด และเส้นทางหมายเลข 5 มีระยะทางรวม 7.14 กิโลเมตร เส้นทางนี้พบจุดพักทั้งหมด 5 จุด และแหล่งน้ำ 1 จุด พบเฟิร์น จำนวน 9 วงศ์ 14 สกุล และ 27 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Polypodiaceae และ Pteridaceae จำนวน 6 ชนิด, ก่อจำนวน 1 วงศ์, 3 สกุล และ 9 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 922 เมตร ถึง 1,295 เมตรโดย 3 สกุลที่พบ คือ Castanopsis, Lithocarpus และ Quercus ซึ่งชนิดที่พบมากที่สุด คือ Quercus auricoma A. Camus และชนิดที่มีลักษณะเด่นกาบหุ้มคล้ายจาน คือ Quercus rambottomii A. Camus, หญ้าถอดปล้อง 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 668 เมตร คือ Equisetum ramosissimum Desf. subsp. debile (Roxb. ex Vaucher) Hauke, ยางนา 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 586 เมตร ถึง 1,064 เมตร คือ Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don. และปรง 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 1,275 เมตร ถึง 1,319 เมตร คือ Cycas sp. ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ใช้ค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) Landsat 7 มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นมากที่สุด 23%, หนาแน่นมาก 32%, หนาแน่นปานกลาง 27%, หนาแน่นน้อย 14% และหนาแน่นน้อยที่สุด 4% ส่วนข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 8 มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นมากที่สุด 12%, หนาแน่นมาก 21%, หนาแน่นปานกลาง 25%, หนาแน่นน้อย 25% และหนาแน่นน้อยที่สุด 14% ด้านการออกแบบแบบจำลองสถานีตรวจอากาศ ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชุด คือ เครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบแก้วตวง ออกแบบพื้นที่ให้ความรู้ โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านหน้าเป็นข้อมูลให้ความรู้ของพื้นที่นั้น ๆ เช่น น้ำตกผาเกล็ดนาค, สันตาดจาน เป็นต้น ด้านหลังแสดงตำแหน่งของนักท่องเที่ยว แบบจำลองพื้นที่พักแรมโดยออกแบบจากโครงสร้างแบบเดิมประกอบด้วย 1 ห้องนอน 1 ห้องครัว และ 1 ห้องน้ำ มีพื้นที่ใช้สอย 27.75 ตารางเมตร
- Itemการประเมินคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้ผลิตน้ำประปาใน มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) กมลวรรณ เพชรรักษา; ธนากร ชมนันท์; ปัทมา โพธิ์ทองการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจวัดปัจจัยทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยเก็บตัวอย่างน้ำและสาหร่าย จากแหล่งน้ำ 3 แหล่ง จำนวนทั้งหมด 11 จุดศึกษา ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 2561 นำตัวอย่างน้ำมาวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมี ประเมินค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มและฟีคัลโคลิฟอร์ม ด้วย Most Probable Number (MPN) ตัวอย่างสาหร่ายนำไปจัดจำแนกในระดับสกุลโดยการส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และประเมินด้วย AARL-PP Score ผลการประเมินคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ พบว่า แหล่งน้ำทั้ง 3 แหล่ง (อ่างเก็บน้ำหลังบ้านพักอธิการบดี อ่างหลวง และโรงสูบประปา) มีคุณภาพน้ำด้านกายภาพและเคมี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน สาหร่ายที่พบทั้งหมด 6 ดิวิชัน 35 วงศ์ และ 63 สกุล พบสกุลเด่น คือ Navicula spp., Pinnularia spp. และ Gomphonema spp. จากการประเมินพบว่า ทั้ง 3 จุดศึกษามีสารอาหารอยู่ในระดับปานกลาง มีคุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี ปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์ม อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดิน ดังนั้นจากการประเมินคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้ผลิตน้ำประปาในมหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ถึง 3 คือ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน
- Itemการปรับปรุงประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์ โดยการเจืออนุภาคนาโนของโลหะลงในโครงสร้างชั้นต่างๆ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) อมรรัตน์ เชื้อเจ็ดตนในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการใช้อนุภาคนาโนโลหะเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์ โดยใช้ซิงก์ออกไซด์เป็นชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอนที่สังเคราะห์ด้วยกระบวนการไอระเหยเคมี และวิธีสปัตเตอร์ริงบนกระจกนำไฟฟ้าชนิดฟลูออรีนเจือดีบุกออกไซด์ (FTO) โครงสร้างของซิงก์ออกไซด์ถูกสังเคราะห์โดยกระบวนการไอระเหยเคมีที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ก๊าซอาร์กอนและออกซิเจนถูกปล่อยสู่ระบบด้วยอัตราการไหล 500 และ 50 มิลลิลิตรต่อนาที ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างเป็นเส้นลวดนาโนแบบแนวตั้งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.49 ไมโครเมตร ฟิล์มบางของซิงก์ออกไซด์ถูกสังเคราะห์โดยวิธีสปัตเตอร์ริงที่ความดัน 2.5 มิลลิทอร์และกำลังไฟฟ้า 150 วัตต์ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างเป็นฟิล์มบางที่ความหนา 0.33 ไมโครเมตร จากนั้นนำโครงสร้างนาโนซิงก์ออกไซด์ และฟิล์มบางซิงก์ออกไซด์บนกระจกนำไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้เป็นชั้นการส่งผ่านอิเล็กตรอนสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์ ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอินทรีย์จะปรับปรุงโดยการเติมอนุภาคนาโนของทอง ทอง และทองแดง ลงในชั้นของซิงก์ออกไซด์, P3HT:PCBM และ PEDOT:PSS สำหรับการใช้ซิงก์ออกไซด์แบบเส้นลวดนาโนเป็นชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอน อนุภาคนาโนที่ถูกเติมลงในชั้นซิงก์ออกไซด์และชั้น P3HT:PCBM จะสามารถเพิ่มให้ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์สูงขึ้น สำหรับการใช้ซิงก์ออกไซด์ชนิดฟิล์มบางเป็นชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอนแล้วเติมอนุภาคนาโนโลหะลงในชั้น PEDOT:PSS จะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น การที่ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการสั่นของอิเล็กตรอนส่งผลต่อกลไกลการดูดซับแสง และกลไลการกระเจิงแสง ปรากฏการณ์เหล่านี้จะนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยการเพิ่มความหนาแน่นกระแสสูงขึ้น
- Itemการปรับปรุงพันธุ์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ผลิตเอทานอลสูงด้วยเทคนิคพลาสมาความดันบรรยากาศ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) โชติกา ปูกันกะงานวิจัยนี้ทำการปรับปรุงพันธุ์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ผลิตเอทานอลสูงด้วยเทคนิคพลาสมาความดันบรรยากาศ โดยระดมยิง S. cerevisiae V1116 ด้วยพลาสมาของก๊าซอาร์กอนที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 74 โวลต์และเวลาที่ใช้ในการระดมยิง คือ 1-3 นาที เพื่อกระตุ้นการกลายพันธุ์ จากนั้นเพาะเลี้ยงชุดทดลองและชุดควบคุมในอาหารเหลว yeast extract peptone dextrose (YPD) ที่เติมเอทานอลร้อยละ 15 (ปริมาตรต่อปริมาตร) เพื่อคัดเลือกยีสต์พันธุ์กลาย พบว่า ยีสต์ที่ถูกระดมยิงด้วยพลาสมาเป็นเวลา 3 นาทีมีอัตราการรอดชีวิตสูงสุด จากนั้นทำการตรวจสอบการกลายพันธุ์ด้วยเทคนิค HAT-RAPD ด้วยไพรเมอร์แบบสุ่ม จำนวน 5 ไพรเมอร์ ผลจากการตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอพบยีสต์พันธุ์กลายทั้งหมด 12 ไอโซเลท จากไพรเมอร์แบบสุ่ม จำนวน 2 ไพร์เมอร์ คือ OPBH15 และ OPAH17 เมื่อนำยีสต์พันธุ์กลายมาเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว YPD ที่เติมเอทานอลร้อยละ 15 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของยีสต์พันธุ์กลายกับยีสต์ชุดควบคุม พบยีสต์พันธุ์กลาย 2 ไอโซเลท คือ M23 และ M51 มีอัตราการเจริญที่สูงกว่าชุดควบคุม ทดสอบการผลิตเอทานอลโดยการหมักชุดควบคุม M23 และ M51 ในกากน้ำตาลร้อยละ 1 (ปริมาตรต่อปริมาตร) พบว่า ยีสต์พันธุ์กลาย M23 สามารถผลิตเอทานอลได้สูงสุด คือ ร้อยละ 3.18 รองลงมา คือ ยีสต์พันธุ์กลาย M51 และชุดควบคุม ซึ่งสามารถผลิตเอทานอลได้ร้อยละ 2.56 และ 1.53 ตามลำดับ
- Itemการผลิตไบโอเอทานอลจากกากกาแฟด้วยลูกแป้งสาโท(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ศุภญาณิตา ตรีรัตน์การศึกษาอิสระเรื่อง “การผลิตไบโอเอทานอลจากกากกาแฟด้วยลูกแป้งสาโท” มีวัตถุประสงค์เพื่อนำวัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยกากกาแฟที่เหลือจากการใช้ประโยชน์จากการชงเป็นน้ำกาแฟสดมาเป็นวัตดุดิบในการผลิตไบโอเอทานอล ซึ่งในปัจจุบันมีธุรกิจร้านกาแฟสดเพิ่มมากขึ้นทำให้กากกาแฟมากขึ้นตาม จากการศึกษาอิสระกระบวนการหมักกากกาแฟด้วยลูกแป้ง หลังจากการปรับสภาพกากกาแฟด้วยด่างทำให้ได้เอทานอล โดยการปรับสภาพกากกาแฟด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 2 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 115 องศาเซลเซียส พร้อมการกวน พบว่า กากกาแฟที่ปรับสภาพด้วยด่าง และกากกาแฟที่ไม่ปรับสภาพ สามารถผลิตเอทานอลที่มีความเข้มข้นได้ร้อยละ 7.43 และร้อยละ 8.27 ตามลำดับผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งนี้ และยังคงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ต่อไป
- Itemการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) พนมวรรณ เฟื่องฟูการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 โดยตั้งค่าเป้าหมาย E1 = 70 และ E2 = 70 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 27 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยใบกิจกรรมเรื่องเครื่องยิงลูกไม้ป่า และแบบทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ที่ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 14 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 โดยมีค่า E1 = 80.46 และ E2 = 72.05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- Itemการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง โมเมนต์ของแรงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ปิยนุช ไกรกิจราษฎร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและออกแบบสื่อการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ 3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 โรงเรียนไกรในวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เรื่อง คานและโมเมนต์ จำนวน 15 ข้อ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง โมเมนต์ของแรง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test แบบ dependent และความก้าวหน้าทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการสอบหลังเรียน (X = 12.5) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียน (X = 8.8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้วิธี Average normalized gain พบว่า 2.1) ความก้าวหน้าทางการเรียนแบบรายชั้นเรียนมีค่าเท่ากับ ( = 0.54) ซึ่งอยู่ในความก้าวหน้าระดับปานกลาง 2.2) ความก้าวหน้าทางการเรียนแบบรายบุคคล แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ อยู่ในระดับความก้าวหน้าสูง 5 คน ระดับความก้าวหน้าปานกลาง 11 คน ระดับความก้าวหน้าต่ำ อีก 4 คน 3) ผลของการประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง คานและโมเมนต์ จากทั้งหมด 20 คน พบว่า อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.98 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี
- Itemการพัฒนาฉลากอินดิเคเตอร์สีเพื่อบ่งบอกระดับความเปรี้ยวของปลาส้ม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ภาวินี นาพิกุลฟิล์มอินดิเคเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับใช้บ่งบอกระดับการหมักของปลาส้มและระดับการเน่าเสียของเนื้อหมู โดยนำอินดิเคเตอร์ 2 ชนิด ได้แก่ bromocresol green (BGC) และ methyl red (MR) ผสมกับสารละลายพอลิเมอร์ PVA/CMC จากนั้นสังเคราะห์เส้นใยอินดิเค-เตอร์/PVA/CMC ด้วยกระบวนการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตที่ศักย์ไฟฟ้ากำลังสูง 6 และ 10 kv ตามลำดับ สะสมเป็นฟิล์มแบบไม่ถักทอบนแผ่นโลหะ นำฟิล์มอินดิเคเตอร์ไปติดบนฝาบนภาชนะบรรจุปลาส้มและเนื้อหมู ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (31±2 °C) และที่อุณหภูมิ 5 °C ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสีของฟิล์มกับระดับการหมักของปลาส้มและเนื้อหมู ผลการทดลองพบว่า สีของฟิล์ม MR/PVA/CMC เปลี่ยนจากสีโอลด์โรสเป็นสีส้ม และมีความเข้มเพิ่มขึ้นเมื่อค่า pH ของปลาส้มลดลง สีของฟิล์มชนิด BCG/PVA/CMC สีเขียวเป็นสีน้ำเงินเมื่อเนื้อหมูค่า pH เพิ่มขึ้นจาก 5.64 เป็น 5.65 และ 5.87 ตามลำดับ
- Itemการระบุสภาวะออกซิเดชันของอาร์เซนิก(III) โดยใช้ เทคนิค x-ray absorption near edge structure (XANES)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วรรณกร จันทร์บัว; สุปรียา หล้าอินการศึกษาสภาวะออกซิเดชันของอาร์เซนิก(III) โดยใช้เทคนิค x-ray absorption near edge structure (XANES) เพื่อประเมินศักยภาพการดูดซับของไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ร่วมกับ ไอออนออกไซด์ (Fe2O3) ในการกำจัดสารหนู การเตรียมเริ่มจากส่วนผสมของ TiO2 และ FeSO4 ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เน้นไปที่การใช้น้ำเป็นตัวทำละลายร่วมกับการตกตะกอนร่วม และการอัลตราโซนิเคต ศึกษาคุณลักษณะโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) แสดงให้เห็นว่าอนุภาคของ TiO2/Fe2O3 ไบเมทัลลิกคอมโพสิต เกิดการผสมรวมกันโดยวิธีการเตรียมที่ศึกษา และพบตำแหน่งของพีค TiO2 ที่ 2θ = 29.5๐, 43.2๐, 44.2๐, 45.2๐, 56.5๐, 63.5๐, 65.0๐ และพบตำแหน่งของพีค Fe2O3 ที่ 2θ = 28.2๐, 38.8๐, 41.8๐, 47.8๐, 51.0๐, 58.2๐, 63.8๐ จากนั้นศึกษาการดูดกลืนแสงโดยนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ (uv-vis spectrophotometer) แสดงให้เห็นว่า TiO2 (single phase) และ TiO2/Fe2O3 (bimetallic composites) มีค่าการดูดกลืนแสงเท่ากับ 370 นาโนเมตร ปรากฏในช่วงยูวี นำสารหนูดูดซับด้วย TiO2/Fe2O3 ไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์โครงสร้างการดูดกลืนพลังงานรังสีเอกซ์ใกล้ขอบพลังงานการดูดกลืน (x-ray absorption near edge structure : XANES) เพื่อศึกษาสภาวะออกซิเดชันของ As(III) ที่ถูกดูดซับบน TiO2/Fe2O3 ไบเมทัลลิกคอมโพสิต โดยค่า K-edge energy (E๐) ที่อยู่บนผิวของตัวดูดซับพบที่พลังงาน E๐ = 11873.80 , 11872.01, 11875.46 eV วิธีดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้ในการดูดซับในอนาคตได้