การนำใบของไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มาชักนำให้เกิดแคลลัสโดยการใช้ BA Kn และ TDZ
No Thumbnail Available
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาการเพาะเลี้ยงไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบไซโตไคนินที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาเป็นแคลลัส ต้นใหม่ ราก และใบ และศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำแคลลัสให้เกิดต้นใหม่ โดยการนำชิ้นส่วนเริ่มต้นของไก่แดง คือ ใบ เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมด้วย BA Kn และ TDZ ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 0.5 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่สูงสุดเฉลี่ย 1.12 ยอดต่อชิ้นส่วนเริ่มต้น สูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดต้นใหม่และใบสูงสุดเฉลี่ย 4.35 ต้นต่อชิ้นส่วนเริ่มต้น และ 4.62 ใบต่อชิ้นส่วนตามลำดับ สูตรอาหาร MS ที่เติม Kn ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากสูงสุดเฉลี่ย 0.07 รากต่อชิ้นส่วน และสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสสูงสุดเฉลี่ย 0.33 มิลลิเมตรต่อชิ้นส่วน
Description
Study of tissue culture of Aeschynanthus sp. The objectives of this research were to study the effects of cytokinin growth control substances at various concentrations which affected the development of new plant calluses, roots and leaves. and study the suitable formula to induce calluses to regenerate the initial parts of Aeschynanthus sp. were parts of cultured leaves on MS formula supplemented with BA Kn and TDZ at the concentration of 0.1 0.5 1.0 and 2.0 mg / L. It was found that MS formula with BA concentration of 0.5 mg / L. were able to induce new shoots to average the highest 1.12 shoots/explant. TDZ concentration at 2.0 mg / L. were able to induce new plants and average leaves of 4.35 plants per initial part and 4.62 leaves/explant. Kn concentration 0.5 mg/L. The highest root induction was 0.07 roots/explant. And TDZ concentration of 2.0 mg/L. Able to induce callus with an average of 0.33 mm. /explant.
Keywords
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, ไก่แดง, แคลลัส, Plant tissue culture, Aeschynanthus sp., Callus
Citation
กุลวัฒน์ บัวป้อม และศศิธร ปัญญาสิทธิ์. (2563). การนำใบของไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มาชักนำให้เกิดแคลลัสโดยการใช้ BA Kn และ TDZ. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.