การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5

Abstract
ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง งานวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5 โดยนำเทคนิคการถ่ายภาพระยะไกลด้วยดาวเทียมมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหนาแน่นของพรรณพืชเพราะสามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อหาเอกลักษณ์พืชโดยใช้ Pictorial key จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม Landsat โดยใช้ฐานข้อมูล USGS เพื่อสร้างแผนที่วิเคราะห์พื้นที่ป่าไม้ โดยใช้ค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) จากโปรแกรม ArcGIS 10.3 สร้างแผนที่การเดินศึกษาธรรมชาติโดยใช้ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ และออกแบบแบบจำลองสถานีตรวจอากาศ, พื้นที่ให้ความรู้ และพื้นที่พักแรม โดยใช้โปรแกรม Google SketchUp จากการศึกษาพบว่า เส้นทางหมายเลข 4 มีระยะทางรวม 4.00 กิโลเมตร ตามเส้นทางมีน้ำตก 5 ขั้น พบเฟิร์นกระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 521 เมตร ถึง 1,638 เมตร จำนวน 11 วงศ์ 25 สกุล และ 34 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Polypodiaceae จำนวน 10 ชนิด และเส้นทางหมายเลข 5 มีระยะทางรวม 7.14 กิโลเมตร เส้นทางนี้พบจุดพักทั้งหมด 5 จุด และแหล่งน้ำ 1 จุด พบเฟิร์น จำนวน 9 วงศ์ 14 สกุล และ 27 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ Polypodiaceae และ Pteridaceae จำนวน 6 ชนิด, ก่อจำนวน 1 วงศ์, 3 สกุล และ 9 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 922 เมตร ถึง 1,295 เมตรโดย 3 สกุลที่พบ คือ Castanopsis, Lithocarpus และ Quercus ซึ่งชนิดที่พบมากที่สุด คือ Quercus auricoma A. Camus และชนิดที่มีลักษณะเด่นกาบหุ้มคล้ายจาน คือ Quercus rambottomii A. Camus, หญ้าถอดปล้อง 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 668 เมตร คือ Equisetum ramosissimum Desf. subsp. debile (Roxb. ex Vaucher) Hauke, ยางนา 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 586 เมตร ถึง 1,064 เมตร คือ Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don. และปรง 1 ชนิด กระจายตัวอยู่ที่ช่วงความสูง 1,275 เมตร ถึง 1,319 เมตร คือ Cycas sp. ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ใช้ค่าดัชนีพรรณพืช (NDVI) Landsat 7 มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นมากที่สุด 23%, หนาแน่นมาก 32%, หนาแน่นปานกลาง 27%, หนาแน่นน้อย 14% และหนาแน่นน้อยที่สุด 4% ส่วนข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 8 มีพื้นที่ป่าไม้หนาแน่นมากที่สุด 12%, หนาแน่นมาก 21%, หนาแน่นปานกลาง 25%, หนาแน่นน้อย 25% และหนาแน่นน้อยที่สุด 14% ด้านการออกแบบแบบจำลองสถานีตรวจอากาศ ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชุด คือ เครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบแก้วตวง ออกแบบพื้นที่ให้ความรู้ โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านหน้าเป็นข้อมูลให้ความรู้ของพื้นที่นั้น ๆ เช่น น้ำตกผาเกล็ดนาค, สันตาดจาน เป็นต้น ด้านหลังแสดงตำแหน่งของนักท่องเที่ยว แบบจำลองพื้นที่พักแรมโดยออกแบบจากโครงสร้างแบบเดิมประกอบด้วย 1 ห้องนอน 1 ห้องครัว และ 1 ห้องน้ำ มีพื้นที่ใช้สอย 27.75 ตารางเมตร
Description
Thailand is in the tropical regions near the equator have a high biodiversity. This research study biodiversity of Doi Luang National Park (Phayao-Lampang), Route No. 4 and No.5 analyzing data of density forest by remote satellite image techniques because it covers a large area efficiently and field survey for collect data to identify plant using by Pictorial key. Analyzing Landsat satellite image data using by database USGS to create map of density forest for analyzing vegetation index (NDVI) by program ArcGIS 10.3. Create natural trail maps used by geographic coordinates. Design Weather station model, label of knowledge and area camp by Google SketchUp. The results of the study were as follows route No. 4 has a total length of 4.00 kilometers along a five step of waterfall, ferns were distributed at the height of 521 meters to 1,638 meters, can be classified 11 families, 25 genera and 34 species, and the family is the most common type Polypodiaceae is 10 species. Route No. 5 has a total length of 7.14 kilometers. There are five breakpoints and one point of water resources, ferns were distributed at the height of 521 meters to 1,638 meters, can be classified 9 families, 14 genera and 27 species, and the family is the most common type Polypodiaceae and Pteridaceae is 10 species, Oak were distributed at the height of 922 meters to 1,295 meters, can be classified 1 family, 3 genera and 9 species, 3 genera that are Castanopsis, Lithocarpus and Quercus which is the most common type of Quercus auricoma A. Camus and Quercus rambottomii A. Camus, horsetails were distributed at the height of 668 meters can be classified 1 species is Equisetum ramosissimum Desf. subsp. debile (Roxb. ex-Vaucher) Hauke, dipterocarpus were distributed at the height of 586 meters to 1,064 meters, can be classified 1 species is Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don and cycad were distributed at the height of 1,275 meters to 1,379 meters, can be classified 1 species is Cycas sp. The analysis of density forest using vegetation index (NDVI) by Landsat 7 years 2009 result is forests highest density 23%, intensity 32%, medium 27%, less dense 14% and 4% dense least and Landsat 8 year 2016 result is forests highest density 12%, intensity 21%, medium 25%, less dense 25% and dense least 14%. Design Weather station model has three instruments. There are Wind vane and Anemometer, Thermometer and Ordinary raingage. label of knowledge includes two side, font side display information about knowledge of area such as Pha Klead Nak Waterfall, Sun Tad Jan etc., back side display position of travelers and area camp has one bedroom, one kitchen and one bathroom with size area 27.75 square meters
Keywords
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง, Forest survey, Landsat, Remote sensing, Satellite image, Doi Luang National Park
Citation
เทพพิทักษ์ ยศธสาร และลัทธพล กล้าหาญ. (2560). การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา-ลำปาง) เส้นทางหมายเลข 4 และ 5. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.