การคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารสัตว์หมัก
No Thumbnail Available
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการผลิตอาหารสัตว์หมัก โดยคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ เปลือกสับปะรด และกากปาล์ม ผลการทดสอบพบว่า แบคทีเรียไอโซเลต 12 ที่คัดแยกได้จากเส้นก๋วยเตี๋ยวแสดงค่ากิจกรรมการย่อยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16s rDNA มีความคล้ายคลึงกับ Bacillus amyloliquefaciens ร้อยละ 99.93 และในการคัดเลือกยีสต์ที่สามารถผลิตเอทานอลได้ดีที่สุด คือ ยีสต์พันธุ์กลายไอโซเลต 96 สามารถผลิตเอทานอลสูงถึงร้อยละ 7 ในระยะเวลา 7 วัน ซึ่งมีปริมาณเอทานอลสูงกว่ายีสต์ชุดควบคุม จากนั้นจึงนำจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดที่คัดเลือกได้มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์หมักจากเปลือกสับปะรดและกากปาล์ม ร่วมกับแบคทีเรียกรดแลคติกเป็นระยะเวลาหมัก 15, 30 และ 60 วัน เพื่อตรวจสอบคุณค่าทางโภชนะของอาหารสัตว์หมัก โดยวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณโปรตีน และแอลกอฮอล์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของอาหารหมักจากสับปะรดที่เติมเชื้อจุลินทรีย์ลดลง อยู่ในช่วง 3.62 ถึง 4.00 มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดในวันที่ 60 (ร้อยละ 5.61) และปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดในวันที่ 30 (ร้อยละ 4.68) สำหรับอาหารหมักจากกากปาล์มที่เติมเชื้อจุลินทรีย์มีค่าความเป็นกรด-ด่างลดลงอยู่ในช่วง 4.32 ถึง 5.67 มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดในวันที่ 60 (ร้อยละ 6.71) และมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงที่สุดในวันที่ 15 (ร้อยละ 3.01) ดังนั้นอาหารสัตว์หมักที่เติมจุลินทรีย์ทั้ง 3 ชนิดทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับอาหารสัตว์หมัก และยังเพิ่มโปรตีนรวมไปถึงแอลกอฮอล์ในอาหารสัตว์หมักเพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการตลอดระยะเวลาการหมัก 60 วัน
Description
The aim of this independent study was to select microorganisms for fermented feed production using pineapple peel and palm residue as substrates. The result of the experiment showed that bacterial isolate 12 which isolated from noodles exhibited the highest hydrolysis activity against selected agricultural wastes. Analysis of a 16S rDNA sequence of isolate 12 showed the highest homology (99.93%) to Bacillus amyloliquefaciens. A mutant of Saccharomyces cerevisiae, isolate 96, which produced higher ethanol content than that of the control was used in feed fermentation process. Pine pineapple peel and palm residue were fermented with the selected microorganisms and lactic acid bacteria for 15, 30 and 60 days then nutritional values including pH, protein content and alcohol content were investigated. Fermented feeds from pineapple peel with the selected microorganisms showed decreasing of pH value in range of 3.62 to 4.00, the highest protein content was 5.61 percent on the 60th day and the highest alcohol content was 4.68 percent on day 30. Moreover, fermented palm residue with the selected microorganisms showed the pH value in range of 4.32-5.67, the highest protein content was 6.71 on the 60th day and the highest alcohol content was 3.01 percent the 15th day. These results indicated that the fermented animal feed with three selected microbes exhibited suitable pH range and increasing of protein and alcohol that could be preserve the nutrient of this feed over the fermented time for 60 days.
Keywords
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร, เอนไซม์เซลลูเลส, เอนไซม์อะไมเลส, ยีสต์, อาหารสัตว์หมัก, agricultural wastes, cellulase, amylase, yeast, fermented animal feed
Citation
ปฏิวัติ แพรงาม, อมรรัตน์ มังคลาด และอิงธิลา ผดาวัน. (2563). การคัดเลือกจุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารสัตว์หมัก. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.