Browse
Recent Submissions
- Itemการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าของหัวตรวจจับก๊าซซิงค์ออกไซด์ต่อก๊าซเอทานอลและก๊าซอะซิโตน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ชัยชนะ จันทร์เนตรงานวิจัยนี้ ได้ทดสอบสมบัติการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้าของหัวตรวจจับก๊าซโครงสร้างอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อก๊าซเอทานอลและก๊าซอะซิโตนที่ความเข้มข้นต่าง ๆ หัวตรวจจับก๊าซสร้างจากอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่เตรียมด้วยเทคนิคกระแสไฟฟ้าความร้อนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 75 นาโนเมตร หลังจากนั้นนำไปทดสอบสมบัติการเปลี่ยนแปลงค่าความจุไฟฟ้า ที่อุณหภูมิ 250 ถึง 350 องศาเซลเซียส และค่าความเข้มข้นของก๊าซเอทานอลและอะซิโตน 50, 100, 200, 300 และ 500 ppm ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ค่าความจุไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเมื่อปล่อยก๊าซเข้าไปในระบบและจะลดลงสู่สภาวะปกติเมื่อปิดก๊าซ ค่าสภาพไวของหัวตรวจจับก๊าซขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของก๊าซและอุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบ ค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับหัวตรวจจับก๊าซมีค่าอยู่ในช่วง 300 ถึง 350 องศาเซลเซียส และมีค่าสภาพไวเท่ากับ 20 72 140 571 และ 580 30 33 145 600 และ 750 ที่ความเข้มข้นเอทานอล และอะซิโตน 50 100 200 300 และ 500 ppm ตามลำดับ
- Itemแบบจำลองแก๊สแชปลีจินแฟนธอมกฎกำลัง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) สุรศักดิ์ มีเทศปัจจุบันพบว่า เอกภพมีการขยายตัวแบบเร่งออก เชื่อว่าเป็นผลมาจากพลังงานมืด และมีการนำเสนอแบบจำลองมากมายมาอธิบายการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพ เราสนใจศึกษาแบบจำลองแก๊สแชปลีจินซึ่งเป็นหนึ่งในแบบจำลองที่มีการเสนอขึ้นมา โดยนำแบบจำลองแก๊สแชปลีจินรวมกับแบบจำลองกฎกำลัง a ∼ tα และแบบจำลองแฟนธอมกฎกำลัง a ∼ (ts − t)β โดยศึกษาค่าพารามิเตอร์ความหน่วงปัจจุบัน q0, สมการสถานะ w0, ค่าเลขชี้กำลัง α และ β โดยใช้ข้อมูลจากยานสำรวจอวกาศ WMAP9 และ PLANCK 2018 พบว่า แบบจำลองแก๊สแชปลีจินกฎกำลังให้ค่า q0 > 0, α < 1 และสมการสถานะ w0 = −A/ (A + B) จะขึ้นอยู่กับค่าคงที่ A และ B เท่านั้น และค่าสมการสถานะมีโอกาสเป็น −1 ได้ที่A → 1 และ B → 0 หรือ A ≫ B ซึ่งค่าปัจจุบันสมการสถานะทั้งหมดจะมีค่ามากกว่า −1 จากพารามิเตอร์ทั้งสาม พบว่า ให้ค่าไม่สอดคล้องกับการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพ ทำให้แบบจำลองแก๊สแชปลีจินกฎกำลังไม่สามารถใช้อธิบายการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพได้ สำหรับแบบจำลองแก๊สแชปลีจินแฟนธอมกฎกำลัง พบว่า q0 < 0, β < 0 และสมการสถานะปัจจุบัน w0 มีโอกาสเป็น −1 ได้เมื่อ A → 1 และ B → 0 ทำให้แบบจำลองแก๊สแชปลีจินแฟนธอมกฎกำลัง มีโอกาสที่จะสามารถใช้อธิบายการขยายตัวแบบเร่งออกของเอกภพได้
- Itemการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของระบบดิจิตอลไมโครฟลูอิดิกส์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) จิรวัฒน์ ศรีธิวรรณ์งานวิจัยนี้เราได้ศึกษาและประดิษฐ์ชิปของไหลจุลภาคดิจิทอล โดยศึกษาปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสของหยดของเหลว ได้แก่ พื้นที่อิเล็กโทรด สารเคลือบชั้นไฮโดรโฟรบิก ระยะห่างระหว่างอิเล็กโทรด และความหนาชั้นไดเล็กทริก โดยมีรูปแบบชิบเป็นแบบแผ่นเดียว โดยสร้างอิเล็กโทรดจากแผ่นทองแดงสำหรับทำลายวงจร ใช้พอลิเมอร์ PDMS เป็นชั้นไดเล็กทริก และน้ำมันเป็นชั้นไฮโดรโฟรบิก ผลการทดลองพบว่า พื้นที่อิเล็กโทรดที่เหมาะสมสำหรับหยดของเหลวปริมาตร 20 ไมโครลิตร คือ 3x3 มิลลิเมตร สารเคลือบชั้นไฮโดรโฟรบิกน้ำมันที่ทำให้มุมสัมผัสเริ่มต้นสูงสุด คือ น้ำมันเคลือบผมทานตะวัน สำหรับระยะห่างระหว่างอิเล็กโทรด เมื่อระยะห่างระหว่างอิเล็กโทรดเพิ่มขึ้น ทำให้ศักย์ไฟฟ้าที่ใช้เปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสเพิ่มขึ้นเช่นกัน และพบว่า ความหนาชั้นไดเล็กทริกลดลง ทำให้ศักย์ไฟฟ้าที่ใช้เปลี่ยนแปลงมุมสัมผัสต่ำลงด้วยเช่นกัน
- Itemการสกัด DNA จาก Agarose Gel Electrophoresis โดยการปั่นเหวี่ยง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ธนาภรณ์ ปัญญา; ศศิวิมล พรมน้อย; สิธิยา ชัยราชปัจจุบันการสกัด DNA ออกจากเจลมีหลากหลายวิธี ซึ่งบางวิธีมีราคาสูง และมีขั้นตอนที่ซับซ้อน รวมทั้งมีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ ในการศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหาวิธีการสกัด DNA ออกมาจากเจลด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยง โดยใช้ความเข้มข้นของ agarose gel 0.75% และ 1.5% ใช้ความเร็วรอบในการปั่นเหวี่ยง 5,000 rpm และ 14,000 rpm และเวลาในการปั่นเหวี่ยง 5 นาที และ 15 นาที เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ DNA ที่สกัดออกจาก agarose gel ทำการตรวจสอบ DNA ที่สกัดได้ ด้วยการทำ electrophoresis และวัดปริมาณ DNA ด้วยเครื่อง spectrophotometer และ real-time PCR จากผลการทดลองวิธีการที่ใช้ในการวิจัยข้างต้นสามารถสกัด DNA ออกมาจากเจลได้ทั้ง 2 ความเข้มข้น นอกจากนี้ยังพบว่า การสกัด DNA ขนาดใหญ่ต้องใช้ความเร็วรอบและเวลาในการปั่นเหวี่ยงมากกว่า DNA ที่มีขนาดเล็ก
- Itemสังเคราะห์และศึกษาอนุภาคนาโน MgO(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กมลชนก ต่อชาติงานวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์อนุภาคนาโน MgO ด้วยวิธีการ sol–gel ศึกษาโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาของอนุภาคนาโน MgO อธิบายโดยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD), กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (SEM), กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (TEM) และเครื่องวัดการดูดกลืนแสง (UV-Vis) การศึกษานี้ ศึกษาเวลาและอุณหภูมิที่ใช้ในขั้นตอนการเผาไหม้กระบวนการสังเคราะห์บนสัณฐานวิทยาของแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) รายละเอียดของกระบวนการทดลอง แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ถูกสังเคราะห์โดยวิธี sol–gel ใช้โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) และไนเตรทโลหะเป็นสารตั้งต้น การศึกษากระบวนการเผาไหม้ให้เงื่อนไขที่ 1 กำหนดให้อุณหภูมิคงที่ 600 ˚C ในเวลา 15 min 1 hr. 2 hr. และ 4 hr. ตามลำดับ เงื่อนไขที่ 2 กำหนดให้เวลาคงที่ 1 ชั่วโมง ในอุณหภูมิ 500 ˚C 600 ˚C 700 ˚C และ 900 ˚C ตามลำดับ นำสารที่ได้มาวิเคราะห์ผลโดย XRD, SEM, TEM, UV-Vis พบว่า XRD ขนาดผลึกของแมกนีเซียมออกไซด์จะแปรผกผันกับเวลาและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น SEM พื้นผิวและรูพรุนของแมกนีเซียมออกไซด์จะแปรผกผันกับเวลาและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น TEM พื้นผิวเป็นแผ่น ๆ มีโครงสร้างตาข่ายยึดเกาะอย่างแน่น ระนาบผลึกใกล้กันเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานของ MgO และ UV-Vis พลังงานแมกนีเซียมออกไซด์ MgO คือ 3.5 eV