การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่า เขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา) เส้นทางหมายเลข 1-3
No Thumbnail Available
Date
2017
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยหลวง จังหวัดพะเยา ในเส้นทางหมายเลข 1, 2 และ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและพรรณพืช โดยแบ่งการศึกษาข้อมูลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การศึกษาด้านอนุกรมวิธาน, การวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลทางดาวเทียม Landsat ด้วยโปรแกรมประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS 10.3 และการออกแบบทางภูมิทัศน์และสถานจำลองสำคัญ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp จากการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แบ่งเป็นเส้นทางหมายเลข 1, 2 และ 3 มีระยะทางรวม 9.49, 5.57 และ 4.18 กิโลเมตร ตามลำดับ นอกจากพันธุ์พืชแล้ว บนเส้นทางการเดินศึกษาธรรมชาตินี้ยังพบแหล่งน้ำธรรมชาติ, พื้นที่ลาดชัน และพื้นที่อยู่อาศัยของทาก การศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานของพืชบางชนิดในเส้นทางสามารถจัดจำแนกได้ 17 วงศ์ 34 สกุล และ 50 ชนิด โดยแบ่งเป็น เฟิร์น จำนวน 14 วงศ์ 30 สกุล 36 ชนิด มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 400 เมตร ถึง 1,638 เมตร ส่วนใหญ่เป็นเฟิร์นในวงศ์ Polypodiaceae และ Parkeriaceae , พบพืชวงศ์ก่อ จำนวน 2 สกุล 11 ชนิด มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 922 เมตร ถึง 1,401 เมตร สกุลที่พบ ได้แก่ Castanopsis และ Lithocarpus, พืชวงศ์สน ที่พบได้แก่ Pinus kesiya Royle ex Gordon และ Pinus merkusii Jungh. & de Vriese มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 900 เมตร ถึง 1,400 เมตร และพบพืชพวกปรง (Cycas sp.) มีการกระจายตัวในช่วงระดับความสูง 1,100 เมตร ถึง 1,300 เมตร ด้านการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูลทางดาวเทียม โดยมีการวิเคราะห์ค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) เพื่อศึกษาความหนาแน่นพื้นที่ป่าไม้ จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 ปี พ.ศ. 2546 และ Landsat 8 ปี พ.ศ.2559 พบว่า ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 7 แสดงสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้แบบหนาแน่นมากที่สุด 23%, แบบหนาแน่นมาก 32%, แบบหนาแน่นปานกลาง 27%, แบบหนาแน่นน้อย 14% และแบบหนาแน่นน้อยที่สุด 4% สำหรับข้อมูลจากดาวเทียม Landsat 8 นั้น พบพื้นที่ป่าไม้แบบหนาแน่นมากที่สุด 13%, แบบหนาแน่นมาก 22%, แบบหนาแน่นปานกลาง 26%, แบบหนาแน่นน้อย 25% และแบบหนาแน่นน้อยที่สุด 14% นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้ออกแบบสถานที่จำลองเพื่อตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศซึ่งมี สถานีตรวจวัดอากาศ (ชุดเครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม, เครื่องวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบแก้วตวง), พื้นที่ให้ความรู้ทางพฤกษศาสตร์และข้อมูลสำคัญ ซึ่งมีลักษณะเป็นป้ายความรู้ โดยด้านหน้าของป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่นั้น ๆ เช่น สันหมูแม่ด้อง, ทุ่งเด่นสะแกง, บันไดก่ายฟ้า และยอดดอยหลวง เป็นต้น ในส่วนด้านหลังของป้ายให้ความรู้ จะแสดงตำแหน่งที่นักท่องเที่ยวหรือนักศึกษาธรรมชาติยืนอยู่ และแสดงพื้นที่พักแรมที่กางเต็นท์ และอาคารอเนกประสงค์ที่มีพื้นที่ใช้ซอยภายในประมาณ 27.75 ตารางเมตร
Description
The application of Landsat satellite images for forest trails survey in Doi Luang National Park (Phayao), Route No. 1, 2 and 3 which are botanical ecotourism and natural conservation trails were analyzed. The data analysis was evaluated for four parts. 1. Ecotourism, 2. Plant taxonomy, 3. Analysis of satellite image by program ArcGIS 10.3 and 4. Design of Landscape, meteorological station, Botanical education board (by Google SketchUP). The results revealed that total distance of ecotourism routes 1, 2 and 3 are 9.49, 5.57 and 4.18 Km, respectively. On these trails, there are enriched with plants, natural water resources, slugs and steep mountains. In the area of study, we found many plants and we could be classified to 17 families, 34 genera within 50 species. The elevation from 400-1,638 m., we could classify ferns to 14 families, 30 genera within 36 species. Mostly, they are Polypodiaceae and Parkeriaceae. Above sea level, at 922-1,401 m., we found genus Castanopsis and Lithocarpus within 11 species, Pinus kesiya Royle ex Gordon and Pinus merkusii Jungh. & de Vriese (at 900-1400 m.) and Cycas sp. (at 1,100-1,300 m.) The database from satellite, we were analyzed the vegetation index (NDVI) to study the density of forest of satellite image from Landsat 7 (Year 2009) and Landsat 8 (Year 2016). The forest areas type (%) from Landsat 7 could classified to forests highest density 23%, intensity 32%, medium 27%, less dense 14% and 4% dense least. On the other hand, Landsat 8 could show similar forest density type to Landsat 7 with 13%, 22%, 26%, 25% and 14%, respectively. Design of Landscape, meteorological station, Botanical education board (by Google SketchUP) were done with wind vane and anemometer, thermometer, ordinary rain gage and botanical board of knowledge (include two side). Front side of is botanical board, shows a sign of knowledge, map of knowledge areas, such as Sun Moo Mae Doung, the Grassland Den Sakaeng, Bun Di Kai Fah and the highest of Doi Luang, etc. Back side of board is map or label for tourists/students on a nature trails. The camp was designed with house consisting of one bedroom, one kitchen and one bathroom. Totally, area for camping was approximately 27.75 square meters.
Keywords
การสำรวจป่า, การสำรวจระยะไกล, ดอยหลวง, ภาพดาวเทียม, อุทยานแห่งชาติ, Landsat, Doi Luang, Forest survey, National Park, Remote sensing, Satellile image
Citation
กฤษณ รัตนปัญญา และกวิน นามุนทา. (2560). การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการสำรวจเส้นทางการเดินป่า เขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง (จังหวัดพะเยา) เส้นทางหมายเลข 1-3. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.