คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Subject "Balance"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดินในผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) กุลจิรา เจิมเฉลิม; ฐิติมา กันทา; ณัฐพัชร์ จันทร์แก้วที่มา: การทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง และการทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ แต่การทดสอบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมในการตรวจประเมิน ดังนั้นการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดิน จึงถูกพัฒนาการขึ้นมา เพื่อให้การประเมินการทรงตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบ TTSW วิธีการศึกษา:ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 87 คน ได้รับการทดสอบ 3 การทดสอบ ได้แก่ FTSST TUGT และ TTSW โดยทำการทดสอบแต่ละชนิดเป็นจำนวน 3 ครั้ง นำผลที่ได้นำไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร FTSST TUGT และ TTSW ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงระหว่าง FTSST และ TTSW มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.883 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงระหว่าง TUGT และ TTSW มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.905 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปผลการศึกษา: การทดสอบ TTSW เป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการล้มของผู้สูงอายุได้
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการทดสอบการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) เกษมศรี จันทร์ผ่อง; ธวัชชัย ไชยกุล; วิทวัส ใจเที่ยงวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาถึงปัจจัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีผลต่อการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาทั้งหมด 6 กลุ่มกล้ามเนื้อและความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วน อายุ 18-25 ปี จำนวน 30 คน (ผู้ชาย 15 คน และผู้หญิง 15 คน) อาสาสมัครทุกคนได้รับการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Push-pull dynamometer และการทดสอบการทรงตัวด้วย Star Excursion Balance Test (SEBT) ใช้สถิติ Pearson's correlation หาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า SEBT score มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า (Knee extensor) และกล้ามเนื้องอเข่า (Knee flexor) ในระดับปานกลางถึงสูง (r=0.693, p<0.01 และ r=0.507, p<0.01 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถีบปลายเท้าลง (Ankle plantarflexor) ในระดับต่ำ (r=0.342, p<0.05) และไม่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก (Hip extensor) และกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้าขึ้น (Ankle dorsiflexor) ผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเป็นปัจจัยหนึ่งมีผลต่อการทรงตัวในคนที่มีภาวะอ้วนโดยเฉพาะกล้ามเนื้อข้อเข่า ดังนั้นการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในคนที่มีภาวะอ้วนได้
- Itemผลของการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสต่อความสามารถการทรงตัวในผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) คมสันต์ พลึกรุ่งโรจน์; วรพัฒน์ วรรธนะมณีกุล; สิริมน คำหว่างการหกล้มเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องหรือสูญเสียการทรงตัว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลทันทีของการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสต่อความสามารถการทรงตัวในผู้สูงอายุ รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยประเมินผลก่อนและหลังการทดลองอาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีหรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมภาวะของโรคได้ดีซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 30 คน (เพศชาย 7 คน เพศหญิง 23 คน อายุเฉลี่ย 69.23 ± 7.00 ปี ดัชนีมวลกาย 25.05 ± 3.82 ก.ก./ม) โดยทุกคนสามารถเดินได้เองอย่างอิสระเป็นระยะทางอย่างน้อย 10 เมตร อาสาสมัครนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสจำนวน 10 ท่า โดยปฏิบัติด้วยตนเองภายใต้การควบคุมของคณะผู้วิจัย อาสาสมัครถูกประเมินการทรงตัวด้วยการทดสอบความสมดุลร่างกายด้วยการเดิน (Timed Up and Go test; TUG) และการทดสอบความสมดุลร่างกายด้วยวิธีเอื้อมมือ (Function Reach Test: FRT) ก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และอาสาสมัครทำแบบประเมินความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และวิธีการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิส ภายหลังเสร็จสิ้นการประเมิน หลังการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test และ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ TUG และ FRT ตามลำดับ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติติที่ p50.05 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการนวดเท้า และออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสทันที อาสาสมัครมีการทรงตัวที่ดีขึ้นโดยค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ TUG มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อน 11.06 ± 2.72 วินาที หลัง 9.92 ± 2.65 วินาที ลดลง 1.14 ± 1.12 วินาที, p=0.000) และค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ FRT มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อน 26.58 ± 6.66 ชม. หลัง 32.28 ± 6.4 ชม. เพิ่มขึ้น 5.70 ± 4.17 ซม, p=0.000) นอกจากนี้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และวิธีการนวดเท้า และออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสมีค่าเท่ากับ 4.53 ± 0.63 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสมีผลทันทีต่อการเพิ่มความสามารถการทรงตัวในผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และวิธีการดังกล่าวเป็นอย่างมาก ทั้งนี้อาจพิจารณาการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุโดยปฏิบัติร่วมกับวิธีการอื่นๆ ทางกายภาพบำบัดเพื่อพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ