คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Issue Date
Now showing 1 - 18 of 18
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลการออกกลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในนิสิตหญิง คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (การศึกษานำร่อง)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) ธนานันต์ ปัญญา; เบญจวรรณ รูปงาม; เมธาวี อินต๊ะวังวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในวัยรุ่นหญิง วิธีการศึกษา อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิงสุขภาพดีที่กำลังศึกษาอยู่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 20 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุและดัชนีมวลกายที่ใกล้เคียงกัน อาสาสมัครที่ถูกจัดไว้ 2 กลุ่ม ได้รับเงื่อนไขให้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มออกกำลังกายเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ใช้เวลานาน 40 นาที/ครั้ง ความถี่ 3 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประเมินปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Maximum oxygen consumption: VOrmax) ด้วยวิธีการ Modified Bruce Treadmill Protocol โดยประเมิน 2 ครั้ง คือก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Student t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการศึกษา: ค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดของอาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกาย (p = 0.03) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติสำหรับค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกายในอาสาสมัครกลุ่มควบคุม สรุปผลการศึกษา การออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. มีประสิทธิผลต่อการเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในรุ่นหญิง
- Itemผลของการออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงที่มีปลายรยางค์ปิดแบบคงที่ต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้างเนื้อและพังผืด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) ณรงค์ อวดเหลี้ยม; นงลักษณ์ เชิงเร็ว; ภคพร นำปูนสักวัตถุประสงค์ของการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม ได้แก่ การศึกษาผลของการออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงที่มีปลายรยางค์ปิดแบบคงที่ต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial Pain Syndrome, MPS) อาสาสมัครที่มี MPS บริเวณกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนจำนวน 24 คน (อายุเฉลี่ย กลุ่มออกกำลังกาย 21.73 ± 0.47 ปี, กลุ่มควบคุม 20.00 ± 1.35 ปี) ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มออกกำลังกาย (รับการออกกำลังกายแบบเพื่อความมั่นคงที่มีปลายรยางค์ปิดแบบคงที่ จำนวน 8 ครั้ง ในระยะเวลา 4 สัปดาห์, n=12) และกลุ่มควบคุม (ได้รับคำแนะนำให้ดำเนินกิจกรรมตามปกติ, n=12) ระดับความเจ็บปวด (Visual Analog Scale, VAS) และระดับความอดกลั้นความเจ็บปวด (Pressure Pain Threshold, PPT) ของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินก่อนและหลังการรักษา 4 สัปดาห์ ใช้สถิติ paired-Samples t-test และ Independent sample t-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มโดยกำหนดนัยสำคัญที่ p<0.05 ผลการศึกษาพบว่า VAS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ในกลุ่มออกกำลังกาย และ PPT ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.008) ในกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มออกกำลังกายกับกลุ่มควบคุม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ของ VAS ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการรักษาด้วยการออกกำลังกายเพื่อความมั่นคงที่มีปลายรยางค์ปิดแบบคงที่สามารถลดระดับความเจ็บปวด (VAS) และมีแนวโน้มเพิมระดับกลั้นความเจ็บปวด (PPT) ในผู้ป่วย MPS ได้
- Itemผลของผ้าเทปคิเนซิโอต่อความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อไหล่ส่วนบนในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้างเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล: การศึกษานำร่อง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) ฐานิศา วันชัย; นิรวิทธ์ ทองภาพ; เรวดี สมศรี; สุนทรี ปงกองแก้วการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของผ้าเทปคิเนซิโอ (Kinesio tape) ต่อความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อไหล่ส่วนบนในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (Myofascial pain syndrome: MPS) จำนวน 14 คน อาสาสมัครเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน ได้แก่ กลุ่มทดลอง (Taping group) และกลุ่มควบคุม (Placebo group) อาสาสมัครทุกคนเข้ารับการประเมินระดับการ รับรู้ความเจ็บปวดด้วยแรงกด (Pressure poin threshold: PPT) ด้วยเครื่องมือ Pressure algometer และประเมินความรู้สึกเจ็บปวดด้วย Visual analogue scale: VAS ก่อนและหลังการพันผ้าเทป อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มได้รับการพันผ้าเทปด้วยเทคนิค I-strip ที่บริเวณกล้ามเนื้อไหล่ส่วนบนข้างขวา (Upper tropezius muscle) เป็นระยะเวลา 2 วัน โดยกลุ่มทดลองได้รับการพันผ้าเทปแบบให้แรงตึง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพันผ้าเทปแบบไม่ให้แรงตึง จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (PPT; pre-test: 1.96±0.53 Ibs/cm", post-test: 2.63±0.76 Ibs/cm , p-value = 0.01 และ VAS; pre-test: 2.90±2.06, post-test: 1.79±2.15, p-value = 0.00) ส่วนกลุ่มควบคุมนั้นไม่พบความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยหลังการพันผ้าเทประหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า PPT และ VAS สรุปว่าการพันผ้าเทปคิเนซิโอที่บริเวณกล้ามเนื้อไหล่ส่วนบนเป็นระยะเวลา 2 วัน ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากโรค MPS ได้
- Itemการศึกษาความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) วิกานดา ศรีคำ; สุดารัตน์ ศรีวิชัย; อภิญญา ใจหล้าที่มา: โรคหลอดเลือดสมอง เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทซึ่งทำให้เกิดอาการอัมพาตและพิการตามมาได้ วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับโรคหลอดเลือดสมอง คือ การป้องกันด้วยการให้ความรู้ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ถือเป็นผู้ที่มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับความรู้ของ อสม. เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของ อสม. ในเขต ตำบลแม่กา จังหวัดพะเยา วิธีการ: อาสาสมัคร จำนวน 114 คน ซึ่งได้ตอบแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคหลอดเลือดสมองและการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาและสรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า อสม. ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง รวมทั้งมีพฤติกรรมและการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่จะนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม ยังมี อสม. จำนวนหนึ่งที่มีความรู้ในประเด็นสำคัญไม่ถูกต้อง การศึกษานี้ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
- Itemผลของการออกกำลังกายแบบพิลาทีสต่อร้อยละไขมันในร่างกายและระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกรานในนิสิตมหาวิทยาลัย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) วิลาวัณย์ หอมนวล; สงกรานต์ ม่วงเหลือง; สุริยะ อนันต์วิไลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบพิลาทีสต่อร้อยละไขมันในร่างกายและระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกรานในนิสิตมหาวิทยาลัย จำนวน 34 คน ทำการสุ่มโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกาย 17 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน โดยกลุ่มออกกำลังกายได้รับการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทีส เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 55 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึก ทั้ง 2 กลุ่มถูกวัดค่าร้อยละไขมันในร่างกาย และค่าความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกราน ทั้งก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการฝึกค่าของร้อยละไขมันในร่างกายในกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่กลุ่มทดลองไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกราน พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (p>0.05) การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า กลุ่มออกกำลังกายโดยการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทีสเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ไม่สามารถเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลัง และเชิงกรานและลดร้อยละไขมันในร่างกายได้ แต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับความมั่นคงของกระดูกสันหลังและเชิงกรานได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะความถี่และความหนักของโปรแกรมต่ำเกินไป
- Itemผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อความจำ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) สุทธินี สุภากาศ; อภิญญา ภะวะภูตา; อุไรวรรณ ศิรินารถจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การออกกำลังกายมีผลเพิ่มความสามารถในการจำ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อความจำที่ผ่านมายังไม่เป็นที่แพร่หลาย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อความจำในอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 18 - 22 ปี ถูกแบ่งด้วยวิธีการสุ่มแบบบล็อกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกาย จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ซึ่งกลุ่มออกกำลังกายจะได้รับการออกกำลังกายแบบชี่กง 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการออกกำลังกายใด ๆ โดยก่อนและหลังการทดลอง อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินความจำระยะสั้น ความจำขณะคิด และการเลือกสนใจ ด้วยการทดสอบ digit span forward test, digit span backward test และ stroop color and word test ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กง อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบ digit span forward test (ก่อน = 10.73.2 ± 2.28 และหลัง = 12.27 ± 2.37; p-value = 0.01), digit span backward test (ก่อน = 7.63 ± 3.71 และหลัง = 10.20 ± 3.87; p-value = 0.00) และ stroop color and word test (ก่อน = 46.00 ± 10.82 และหลัง = 54.73 ± 10.85; p-value = 0.00) แต่ในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการทดสอบทั้ง 3 การทดสอบ (p-volue > 0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบชี่กงมีผลเพิ่มความจำและการเลือกสนใจ ดังนั้นการออกกำลังกายแบบชี่กงจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำ
- Itemผลของการอบไอน้ำสมุนไพรพื้นบ้านต่อความยืดหยุ่นในบุคลากรเพศหญิง มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) ทัศนีย์ ขุนชัย; ประไพพักตร์ สาริกา; อรอนงค์ อินต๊ะมาการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการอบไอน้ำสมุนไพรพื้นบ้านต่อความยืดหยุ่นของร่างกายในบุคลากรเพศหญิง มหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีความยืดหยุ่นต่ำถึงปานกลาง อาสาสมัคร จำนวน 10 คน อายุเฉลี่ย 40±4.37 ปี ได้รับโปรแกรมการอบไอน้ำสมุนไพรครั้งละ 30 นาที จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ทดสอบความยืดหยุ่นของหลังและขาด้านหลังด้วยการประเมินการนั่งงอตัว (Sit and reach test) และทดสอบความยืดหยุ่นของข้อไหล่ด้วยการประเมินการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ (Shoulder girdle flexibility test) โดยประเมินความยืดหยุ่นก่อนและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรม โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทดสอบการนั่งงอตัว ก่อน 5.71±5.17 ซม. หลัง 11.2±6.95 ซึม. (p<0.05) และการทดสอบการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ข้างซ้าย ก่อน -6.07±5.87 ซม. หลัง -1.51±5.87 ชม. ข้างขวา ก่อน -2.85±5.53 ซม. หลัง 1.81±4.20 ซม. (p<0.05) โดยสรุปการอบไอน้ำด้วยสมุนไพรพื้นบ้านเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายในบุคลากรเพศหญิง มหาวิทยาลัยพะเยาได้
- Itemการคาดการณ์การล้มในผู้สูงอายุโดยใช้การทดสอบมาตรฐานและการทดสอบแบบใหม่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) ขวัญฤทัย อิ่นคำ; ฐิตาพร เผ่าศรีไชย; ธิดารัตน์ สายเขียวที่มา: จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย และเสี่ยงต่อการล้มตามมาได้ ซึ่งพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการล้มคือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การทรงตัว และความสามารถในการเดิน วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำนายการล้มของการทดสอบ ในผู้สูงอายุในชุมชนโดยพิจารณาจากคำความไว ค่าความจำเพาะ และพื้นที่ใต้กราฟ วิธีการ : ผู้เข้าร่วมวิจัยมีทั้งหมด 70 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามประวัติของการล้มย้อนหลัง 6 เดือน อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบลุกยืน 3 ครั้ง แล้วเดินไปกลับ 6 เมตร และการทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร ผลการทดสอบถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติ Receiver-operating characteristic (ROC) curve และ: Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05 ผลการศึกษา: ในกลุ่มที่ไม่ล้ม ใช้เวลาในการทดสอบลุกยืน 3 ครั้ง และเดินไปกลับ 6 เมตร และทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร น้อยกว่ากลุ่มที่ล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p < 0.05 ตามลำดับ) และพบว่า อาสาสมัครที่ใช้เวลาในการทดสอบ 12.22 วินาทีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการล้ม (ค่าความไวและความจำเพาะของ TTSWT = ร้อยละ 80.00 และ 85.71 ตามลำดับ และค่าความจำเพาะของ TUGT = ร้อยละ 60.00 และ 74.29 ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษาช่วยให้ได้ข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ ในการพัฒนาความสามารถทางกายของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการล้มได้
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการทดสอบการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) เกษมศรี จันทร์ผ่อง; ธวัชชัย ไชยกุล; วิทวัส ใจเที่ยงวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาถึงปัจจัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีผลต่อการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาทั้งหมด 6 กลุ่มกล้ามเนื้อและความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วน อายุ 18-25 ปี จำนวน 30 คน (ผู้ชาย 15 คน และผู้หญิง 15 คน) อาสาสมัครทุกคนได้รับการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Push-pull dynamometer และการทดสอบการทรงตัวด้วย Star Excursion Balance Test (SEBT) ใช้สถิติ Pearson's correlation หาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า SEBT score มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า (Knee extensor) และกล้ามเนื้องอเข่า (Knee flexor) ในระดับปานกลางถึงสูง (r=0.693, p<0.01 และ r=0.507, p<0.01 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถีบปลายเท้าลง (Ankle plantarflexor) ในระดับต่ำ (r=0.342, p<0.05) และไม่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก (Hip extensor) และกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้าขึ้น (Ankle dorsiflexor) ผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเป็นปัจจัยหนึ่งมีผลต่อการทรงตัวในคนที่มีภาวะอ้วนโดยเฉพาะกล้ามเนื้อข้อเข่า ดังนั้นการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในคนที่มีภาวะอ้วนได้
- Itemการศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดินในผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) กุลจิรา เจิมเฉลิม; ฐิติมา กันทา; ณัฐพัชร์ จันทร์แก้วที่มา: การทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง และการทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ แต่การทดสอบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมในการตรวจประเมิน ดังนั้นการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดิน จึงถูกพัฒนาการขึ้นมา เพื่อให้การประเมินการทรงตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบ TTSW วิธีการศึกษา:ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 87 คน ได้รับการทดสอบ 3 การทดสอบ ได้แก่ FTSST TUGT และ TTSW โดยทำการทดสอบแต่ละชนิดเป็นจำนวน 3 ครั้ง นำผลที่ได้นำไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร FTSST TUGT และ TTSW ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงระหว่าง FTSST และ TTSW มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.883 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงระหว่าง TUGT และ TTSW มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.905 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปผลการศึกษา: การทดสอบ TTSW เป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการล้มของผู้สูงอายุได้
- Itemการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายในกลุ่มนักกีฬาและกลุ่มคนปกติ โดยใช้ระยะทางในการเดินทดสอบ 6 นาที(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) กรรณิการ์ สมทราย; ณัฐสินี สิโรจน์สกุล; ธวัชชัย มาสุขการเดินทดสอบ 6 นาที (Six-Minute Walk Test , 6MWWT) เป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นการทดสอบที่มีความหนักระดับเดียวกับการทำกิจวัตรประจำวัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายระหว่างกลุ่มนักกีฬาและกลุ่มคนปกติ ในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยใช้ระยะทางในการเดินทดสอบ 6 นาที จำนวน 60 คน เพศชาย อายุ 18-24 ปี อาสาสมัครที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจะได้รับการจำแนกเข้ากลุ่ม แบ่งออกเป็นกลุ่มนักกีฬา (n=30) และกลุ่มคนปกติ (n=30) อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายโดยการเดินทดสอบ 6 นาที โดยประเมินชีพจร และความดันโลหิตทั้งก่อนและหลังการทดสอบ ระยะทางในการเดิน 6 นาที ค่าการใช้พลังงาน และค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุด แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ สถิติ Independent sample t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มนักกีฬาและกลุ่มคนปกติไม่มีความแตกต่างกันของชีพจร ความดันโลหิตสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวทั้งก่อนและหลังการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มนักกีฬามีระยะทางในการเดิน 6 นาที ค่าการใช้พลังงาน และค่าการใช้ออกซิเจนสูงสุดมากกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-0.05) สรุปได้ว่านักกีฬามีประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายที่ดีกว่ากลุ่มคนปกติเมื่อทำการประเมินโดยใช้ระยะทางในการเดินทดสอบ 6 นาที
- Itemการประเมินความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) ชไมพร สงวนชื่อ; นิตยา สุทธเขตต์; ภานุวัฒน์ สุขมีที่มา ภาวะตื้ออินซูลิน ความบกพร่องของการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อรยางค์ส่วนล่าง วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิธีการ อาสาสมัครทั้งหมด จำนวน 60 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน และกลุ่มคนปกติ จำนวน 30 คน อาสาสมัครทั้งหมดได้รับการทดสอบโดยใช้การจับเวลาในการลุกยืน 10 ครั้ง (sit-to-stand-to-sit test for 10 repetitions; STS10) เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การทดสอบจำนวนครั้งในการลุกขึ้นยืนภายในเวลา 60 วินาที (sit-to-stand-to-sit test for 60 seconds; STS60) เพื่อประเมินความทนทานของกล้ามเนื้อขา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาน้อยกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) นอกจากนี้ยัง พบว่า ความทนทานของกล้ามเนื้อขาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยกว่ากลุ่มคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.02) สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อขาน้อยกว่ากลุ่มคนปกติ ดังนั้น ควรแนะนำโปรแกรมการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
- Itemผลของการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสต่อความสามารถการทรงตัวในผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) คมสันต์ พลึกรุ่งโรจน์; วรพัฒน์ วรรธนะมณีกุล; สิริมน คำหว่างการหกล้มเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องหรือสูญเสียการทรงตัว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลทันทีของการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสต่อความสามารถการทรงตัวในผู้สูงอายุ รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยประเมินผลก่อนและหลังการทดลองอาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีหรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมภาวะของโรคได้ดีซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน จำนวน 30 คน (เพศชาย 7 คน เพศหญิง 23 คน อายุเฉลี่ย 69.23 ± 7.00 ปี ดัชนีมวลกาย 25.05 ± 3.82 ก.ก./ม) โดยทุกคนสามารถเดินได้เองอย่างอิสระเป็นระยะทางอย่างน้อย 10 เมตร อาสาสมัครนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสจำนวน 10 ท่า โดยปฏิบัติด้วยตนเองภายใต้การควบคุมของคณะผู้วิจัย อาสาสมัครถูกประเมินการทรงตัวด้วยการทดสอบความสมดุลร่างกายด้วยการเดิน (Timed Up and Go test; TUG) และการทดสอบความสมดุลร่างกายด้วยวิธีเอื้อมมือ (Function Reach Test: FRT) ก่อนและหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และอาสาสมัครทำแบบประเมินความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และวิธีการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิส ภายหลังเสร็จสิ้นการประเมิน หลังการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test และ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ TUG และ FRT ตามลำดับ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติติที่ p50.05 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการนวดเท้า และออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสทันที อาสาสมัครมีการทรงตัวที่ดีขึ้นโดยค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ TUG มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อน 11.06 ± 2.72 วินาที หลัง 9.92 ± 2.65 วินาที ลดลง 1.14 ± 1.12 วินาที, p=0.000) และค่าเฉลี่ยจากการทดสอบ FRT มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อน 26.58 ± 6.66 ชม. หลัง 32.28 ± 6.4 ชม. เพิ่มขึ้น 5.70 ± 4.17 ซม, p=0.000) นอกจากนี้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และวิธีการนวดเท้า และออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสมีค่าเท่ากับ 4.53 ± 0.63 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสมีผลทันทีต่อการเพิ่มความสามารถการทรงตัวในผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่ออุปกรณ์และวิธีการดังกล่าวเป็นอย่างมาก ทั้งนี้อาจพิจารณาการนวดเท้าและออกกำลังกายด้วยลูกเทนนิสเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุโดยปฏิบัติร่วมกับวิธีการอื่นๆ ทางกายภาพบำบัดเพื่อพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ
- Itemผลของบุหรี่ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) ชนกาญจน์ มั่นปาน; ณัฐสุดา เงินเนย; วิศรุต ทิพย์อ้ายการสูบบุหรี่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อสูบบุหรี่หรือสัมผัสควันบุหรี่ สารในบุหรี่ทำให้ทางเดินหายใจเกิดการอักเสบและถุงลมถูกทำลาย จึงเกิดการตีบแคบของหลอดลมและความยืดหยุ่นของปอดลดลง มีผลทำให้กล้ามเนื้อหายใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อให้หายใจได้รับปริมาณอากาศเท่าเดิม จึงเห็นได้ว่าบุหรี่มีผลต่อการทำงานของปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายในคนที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ รวมถึงหาความสัมพันธ์ของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจกับความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายและหาความสัมพันธ์ของการทดสอบการเดิน 6 นาที กับประสิทธิภาพของการทดสอบก้าวขึ้นลงบันได 5 นาที ในอาสาสมัครเพศชายอายุ 20-59 ปี จำนวน 49 คน แบ่งเป็นกลุ่มไม่สูบบุหรี่ จำนวน 23 คน และสูบบุหรี่ จำนวน 26 คน อาสาสมัครทุกคนได้รับการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ โดยการวัดค่าแรงดันสูงสุดของการหายใจเข้าและออก รวมถึงได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย โดยการทดสอบการเดิน 6 นาที และการทดสอบก้าวขึ้นลงบันได 3 นาที ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจมากกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ (111.25±20.75 และ 95.26±24.32 เซนติเมตรน้ำ, p=0.014) ในขณะที่ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่ในกลุ่มที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายในคนที่สูบบุหรี่ และระยะทางที่เดิน 6 นาที ก็ไม่พบความสัมพันธ์กับการก้าวขึ้นลงบันได 3 นาที (r=0.141,p=0.501) จึงสรุปผลได้ว่า คนที่สูบบุหรี่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ามากกว่าคนที่สูบบุหรี่ อาจเนื่องจากมีการปรับตัวของกล้ามเนื้อหายใจ ในขณะที่ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายมีแนวโน้มได้น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
- Itemผลของแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยต่อความปวดและความยืดหยุ่นในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) ญาณี ติดยงค์; นงวิกรานต์ พินิจสุวรรณที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยด้วยคลื่นไมโครเวฟรายงานว่าแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยให้ผลด้านความร้อนเทียบเท่ากับแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน และลดอาการปวดและเพิ่มความยืดหยุ่นได้ทันทีในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมักมีอาการปวดแบบเรื้อรังจึงควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาผลของแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยต่ออาการปวดและความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง และหลังส่วนล่างในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบไม่ทราบสาเหตุ อาสาสมัคร 21 ราย (อายุเฉลี่ย 55.14 ปี) ได้รับการวางแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยบริเวณหลังส่วนล่าง เป็นเวลา 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ อาสาสมัครจะได้รับการประเมินความเจ็บปวดด้วยมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา (Visual Analogue Scales, VAS) และความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง และหลังส่วนล่างด้วยการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit-and-reach test) ก่อนการรักษาและ 24 ชั่วโมงหลังจากทำการรักษาครั้งสุดท้าย ข้อมูลความเจ็บปวดถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon matched pair signed rank test ในขณะที่ข้อมูลความยืดหยุ่นถูกวิเคราะห์ด้วย Paired sample t-test ผลการศึกษา พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอาการปวดและความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง และหลังส่วนล่างระหว่างก่อนและหลังการรักษา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (p=0.000) การศึกษานี้สรุปได้ว่าการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนสมุนไพรไทยอย่างต่อเนื่อง สามารถลดอาการปวด และเพิ่มความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลังและหลังส่วนล่างในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างแบบไม่ทราบสาเหตุได้
- Itemสมการทำนายความทนทานของระบบหัวใจและการหายใจโดยการทดสอบการยกขาสูงสลับกัน 2 นาทีในผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กันยารัตน์ สุวรรณ์; สุดารัตน์ วงค์จันทร์ขบวนการความแก่ชรา ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย การทดสอบยกขาสูงสลับกัน 2 นาที (2-minute step test; 2MST) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความทนทานของระบบหายใจและหัวใจในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานสมการในการทำนายความทนทานของระบบหายใจและหัวใจในผู้สูงอายุไทยด้วยการทดสอบ 2MST การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมการการทดสอบยกขาสูงสลับกัน 2 นาทีในผู้สูงอายุ โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครผู้สูงอายุ จำนวน 172 คน (เพศชาย 78 คน เพศหญิง 94 คน) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาสาสมัครทั้งหมดได้รับการสัมภาษณ์ประวัติสุขภาพเบื้องต้นด้วยแบบสอบถาม และประเมินความทนทานของระบบหายใจและหัวใจด้วยการทดสอบ 2MST ทำการประเมิน 2 ครั้ง เลือกค่าที่ดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า เพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (79.26±14.92 และ 75.18±14.58 ครั้ง ตามลำดับ; p=0.072) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า จำนวนการยกขาสูงสลับกันภายใน 2 นาที มีความสัมพันธ์กับอายุ (r=-0.360; p< 0.001) มีความสัมพันธ์กับส่วนสูง (r=0.162; p= 0.055) มีความสัมพันธ์กับความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว (r=0.182; p=0.017) และมีความสัมพันธ์กับอัตราการเต้นของหัวใจ (r=0.180; p=0.018) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression) ด้วยวิธี stepwise เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ให้คงที่ พบว่า อายุ ความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว มีความสัมพันธ์กับจำนวนการยกขาสูงภายใน 2 นาที ใช้พยากรณ์ได้โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ร้อยละ 16.8 และได้สมการ 2MST = 107.035 - (0.829 x อายุ(ปี)) + [0.186 x ความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว(มิลลิเมตรปรอท)) สมการที่ได้อาจช่วยบอกเปอร์เซ็นการทำนายของ 2MST ในผู้สูงอายุที่มาใช้ทดสอบครั้งแรก และอาจเป็นประโยชน์ต่อบุคคลกรหรือนักกายภาพบำบัด ในการตรวจประเมินความทนทานของระบบหัวใจและหายใจ เพื่อนำไปป้องกันและส่งเสริมสมรรถภาพของระบบหายใจและหายใจในผู้สูงอายุให้เพิ่มขึ้น
- Itemความสามารถในการเดินขณะใช้สมาร์ทโฟนในกลุ่มวัยรุ่น(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กัญญารัตน์ อุดมสุข; ศิวกร โกสินธุ์ที่มา: การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้งานร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น การใช้สมาร์ทโฟนขณะรับประทานอาหาร การเดิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อความสามารถในการเดิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเร็วในการเดิน และระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที ขณะใช้สมาร์ทโฟนระหว่างวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการติด และไม่เสี่ยงต่อการติดการใช้สมาร์ทโฟน วิธีการศึกษา: อาสาสมัครวัยรุ่นชายหญิง อายุเฉลี่ย 15 ปี จำนวน 39 ราย แบ่งเข้าด้วยแบบประเมินพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟน ได้แก่ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดสมาร์ทโฟน (n=18) และกลุ่มที่ไม่เสี่ยงต่อการติดสมาร์ทโฟน (n=21) ทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบความสามารถในการเดิน คือ ความเร็วในการเดิน (10 meter walk test; 10MWT) และการทดสอบการเดิน 6 นาที (6 Minute Walk Test; 6MWT) ใน 2 เงื่อนไข คือ ใช้และไม่ใช้สมาร์ทโฟนเดิน วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติพาราเมตริกและนอนพาราเมตริกสำหรับตัวแปร 10MWT และ6MWT ตามลำดับ ผลการศึกษา: กลุ่มเสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ยของ 10MWT ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อใช้สมาร์ทโฟนขณะเดิน ทั้งการเดินด้วยความเร็วปกติและความเร็วสูงสูด (p-volue < 0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะการเดินด้วยความเร็วสูงสุดเท่านั้น (p-volue < 0.05) นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-volue > 0.05) ของ 10MWT ระหว่างทั้งสองกลุ่ม สำหรับตัวแปร 6MWT พบว่าทั้งสองกลุ่มเดินได้ระยะทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) เมื่อใช้สมาร์ทโฟนขณะเดิน และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการศึกษา: กลุ่มวัยรุ่นที่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนและไม่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟน มีความเร็วและระยะทางในการเดินลดลงไม่แตกต่างกันเมื่อใช้สมาร์ทโฟนขณะเดินส่งข้อความโต้ตอบ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนมีแนวโน้มที่ความเร็วและระยะทางในการเดินจะลดลงมากกว่า
- Itemความหลากหลายของเมล็ดข้าวในจังหวัดพะเยาต่อการพัฒนาแผ่นประคบร้อนโดยใช้ไมโครเวฟ-การศึกษานำร่อง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) จินตนา กันทะสีคำ; ธัญญารักษ์ ใจชื่นในปัจจุบันตลาดการค้าข้าวโลกมีการชะลอตัว ส่งผลให้ข้าวมีราคาถูกลง สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการเกษตรกรรมเพาะปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ เมื่อราคาข้าวตกต่ำส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของข้าวและส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาทางกายภาพบำบัดภายในครัวเรือนได้ คือ การนำข้าวมาเป็นวัสดุหลักในการทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ นั่นคือ แผ่นประคบร้อนจากข้าว เพื่อช่วยลดอาการปวดจากาการใช้งานของกล้ามเนื้อ สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก และช่วยเพิ่มรายได้ หากนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย การศึกษานี้ได้แบ่งวิธีการดำเนินการออกเป็น 3 การศึกษา โดยการศึกษาที่ 1 เปรียบเทียบการเก็บความร้อนของเมล็ดข้าวที่นิยมปลูกในท้องถิ่นจังหวัดพะเยา ผลปรากฏว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปบรรจุแผ่นประคบร้อน เนื่องจากมีกลิ่นหอม สามารถนำไปอบซ้ำได้โดยที่เมล็ดข้าวไม่แตกเปราะง่าย การศึกษาที่ 2 เปรียบเทียบการเก็บความร้อนระหว่างข้าวที่สามารถเก็บความร้อนได้ดีที่สุดผสมสมุนไพรอบแห้ง กับเมล็ดธัญพืช และแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน ผลปรากฏว่า อุณหภูมิแผ่นประคบร้อนจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผสมสมุนไพรอบแห้งกับแผ่นประคบร้อนจากเมล็ดถั่วแดงไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาที่ 3 เปรียบเทียบอุณหภูมิผิวหนังขณะประคบด้วยแผ่นประคบร้อนจากเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผสมสมุนไพรอบแห้งและแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน ผลปรากฏว่า อุณหภูมิผิวหนังขณะวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 2 ชนิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผสมสมุนไพรอบแห้ง มีอุณหภูมิเหมาะสมในการนำไปบรรจุถุงประคบร้อน เพื่อประยุกต์ใช้ในการรักษาทางกายภาพบำบัดโดยให้ความร้อนตื้น