ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการทดสอบการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน

Loading...
Thumbnail Image
Date
2014
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาถึงปัจจัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่มีผลต่อการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาทั้งหมด 6 กลุ่มกล้ามเนื้อและความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว ในอาสาสมัครที่มีภาวะอ้วน อายุ 18-25 ปี จำนวน 30 คน (ผู้ชาย 15 คน และผู้หญิง 15 คน) อาสาสมัครทุกคนได้รับการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยเครื่อง Push-pull dynamometer และการทดสอบการทรงตัวด้วย Star Excursion Balance Test (SEBT) ใช้สถิติ Pearson's correlation หาความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า SEBT score มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า (Knee extensor) และกล้ามเนื้องอเข่า (Knee flexor) ในระดับปานกลางถึงสูง (r=0.693, p<0.01 และ r=0.507, p<0.01 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถีบปลายเท้าลง (Ankle plantarflexor) ในระดับต่ำ (r=0.342, p<0.05) และไม่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก (Hip extensor) และกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้าขึ้น (Ankle dorsiflexor) ผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเป็นปัจจัยหนึ่งมีผลต่อการทรงตัวในคนที่มีภาวะอ้วนโดยเฉพาะกล้ามเนื้อข้อเข่า ดังนั้นการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในคนที่มีภาวะอ้วนได้
Description
The purpose of this study was to determine the lower limb muscle strength factor that affects to dynamic balance in obese young adult by exploring the relationship between variables obtained from Star Excursion Balance Test (SEBT) and six groups of lower muscle strength obtained from Push-pull dynamometer. Participants were thirty he young adults (15 male and 15 female) who aged between 18 to 25 years old. Pearson's duct moment correlation coefficient statistics were used to determine the n these variables. The result showed that SEBT score had moderate to n with knee flexor and knee extensor (r=0.507, p<0.01 and r=0.69 respectively) and weak correlation with ankle plantar flexor (r=0.342, p.01). There was no between SEBT score and hip flexor, hip extensor and ankle dorsiflexor clouded that lower limb muscle strength was one factor that affects to balance young adults. Therefore, lower limb muscle strength exercise program may help to reduce risks of fall in obesity.
Keywords
ภาวะอ้วน, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา, การทรงตัว, ดัชนีมวลกาย, การหกล้ม, Obesity, Lower Limb Muscle Strength, Balance, BMI, Risks of fall
Citation
เกษมศรี จันทร์ผ่อง, ธวัชชัย ไชยกุล และวิทวัส ใจเที่ยง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและความสามารถในการทดสอบการทรงตัวในบุคคลวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะอ้วน. [ปริญญานิพนธ์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).