ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 103
Results Per Page
Sort Options
- Itemอัตลักษณ์การสร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องสั้นแนววัฒนธรรมสัมพันธ์ชุด พัดมา...พลัดไป ของทัศนาวดี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวรการสร้างสรรค์เป็นผลิตผลของมนุษย์ที่แสดงให้เห็นศักยภาพทางสติปัญญาในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เรื่องสั้นเป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ประเภทหนึ่งที่มีพัฒนาการและได้รับความนิยมมายาวนานทั้งในแง่ผู้สร้างและผู้เสพ ตลอดเวลาดังกล่าวได้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมควบคู่ไปด้วย บางครั้งมีการตอบโต้เพราะเห็นแย้งกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่นักเขียนไม่ค่อยมีโอกาสในการนำเสนอเบื้องหลังการสร้างสรรค์งานของตนเองมากนัก การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การสร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องสั้นของทัศนาวดีในช่วงสองทศวรรษ และเพื่อกำหนดอัตลักษณ์แล้วนำไปใช้สร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องสั้นแนววัฒนธรรมสัมพันธ์ชุด "พัดมา...พลัดไป" ของทัศนาวดี ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เป็นตัวบทของเรื่องสั้น จำนวน 63 เรื่อง จากรวมเรื่องสั้น จำนวน 7 ชุด ของทัศนาวดี ข้อมูลที่สร้างสรรค์ใหม่เป็นตัวบทเรื่องสั้นแนววัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน 9 เรื่อง ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ด้านการสร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องสั้นมีทั้งหมด 9 ด้าน จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ 1 ตัวบท มี 7 ด้าน ได้แก่ ชื่อเรื่อง แก่นเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก บรรยากาศ กลวิธีการนำเสนอ กลวิธีการดำเนินเรื่อง 2) บริบท มี 2 ด้าน ได้แก่ แรงบันดาลใจ การส่งผลกระทบ เรื่องสั้น กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาต่างมีอัตลักษณ์ในตัวเอง การสร้างสรรค์แต่ละเรื่อง อัตลักษณ์ทั้ง 9 ด้าน อาจมีส่วนเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเนื้อหาที่ผู้ประพันธ์กำหนด การสร้างสรรค์วรรณกรรมเรื่องสั้นแนววัฒนธรรมสัมพันธ์ทั้ง 9 เรื่อง ใช้กลวิธีในการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตาม กรอบอัตลักษณ์ที่วางไว้ เนื้อหาแสดงถึงปรากฎการณ์วัฒนธรรมสัมพันธ์ 5 ลักษณะ ได้แก่ วิถีเก่าเดียวดายอันตรายจากสิ่งใหม่ เชื้อไฟเริ่มปรากฏ บริบทเปลี่ยนตามกาล และผสมผสานที่ลงตัว โดยสรุปอัตลักษณ์ที่ใช้ในการศึกษาเรื่องสั้น ทำให้มองเห็นกระบวนวิธีสร้างสรรค์ เรื่องสั้น อัตลักษณ์ แต่ละด้านสามารถศึกษาจำแนกประเภทย่อยได้หลากหลาย และมีความเกี่ยวโยงกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเลือกนำมาใช้ของผู้เขียนเพื่อให้รูปแบบและเนื้อหาเหมาะสมกลมกลืน มีความลุ่มลึก เปี่ยมคุณค่าทางวรรณศิลป์
- Itemการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ของนักเขียนสตรีในนวนิยายอิงพุทธศาสนา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) เชษฐา จักรไชยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธธรรมและการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์นวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรีที่ประพันธ์ในระหว่าง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2557 จำนวน 24 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์นวนิยาย ส่วนใหญ่ใช้การสอดแทรกแนวคิดเรื่องพุทธธรรม เพื่อสอนให้คนเป็นคนดีด้วยพุทธธรรม 3 ระดับ คือ แนวคิดพุทธธรรมระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) แนวคิดพุทธธรรมระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) และแนวคิดพุทธธรรมระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) ส่วนผลการวิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์ในนวนิยายนั้น พบว่า แนวคิดด้านองค์ประกอบในนวนิยายนั้น พบว่า ผู้แต่งนิยมเปิดเรื่องด้วยการบรรยายฉาก เหตุการณ์ และตัวละคร พบมากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.66 การสร้างความขัดแย้งในเรื่องนั้นผลการศึกษา พบว่า ผู้แต่งนิยมใช้วิธีสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตัวละครมากที่สุด จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45.83 การลำดับเหตุการณ์ผลการศึกษา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้การลำดับเหตุการณ์แบบปฏิทินพบมากที่สุด จำนวน 22 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 91.66 ผู้เขียนนิยมการปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรมมากที่สุด จำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 62.50 กลวิธีการสร้างสรรค์มุมมองการเล่าเรื่อง พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบผู้แต่งเป็นผู้รู้แจ้งมากที่สุด จำนวน 21 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 87.5 ในการสร้างสรรค์ตัวละครทั้ง 24 เรื่อง ประกอบไปด้วยตัวละครเอก และตัวละครสนับสนุนกลวิธีการสร้างสรรค์บทสนทนา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้บทสนทนาเพื่อบอกลักษณะและอุปนิสัยของตัวละครมากที่สุด จำนวน 12 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 และกลวิธีการสร้างสรรค์ฉาก พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์มากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.68 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ทางภาษา พบกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ 2 ลักษณะ คือ กลวิธีการสร้างสรรค์ภาษาวรรณศิลป์ระดับคำซึ่งพบใน 8 ลักษณะ คือ การหลากคำ การใช้คำเพื่อเสียงสัมผัส การใช้คำสูง การใช้คำสร้างจินตภาพ การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำซ้ำ การซ้ำคำ และการใช้คำซ้อน ส่วนวรรณศิลป์ระดับข้อความพบใน 4 ลักษณะ คือ การใช้โวหาร การใช้ภาพพจน์ การใช้ลีลาภาษาวรรณคดี และการใช้รสวรรณคดีผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี ได้นำหลักพุทธธรรมระดับพื้นฐาน หลักพุทธธรรมระดับกลาง และหลักพุทธธรรมระดับสูงสุด มาใช้สอดแทรกเพื่อให้ผู้อ่านนำมาใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้แต่งได้มีการปรับรูปแบบหรือสร้างสรรค์ลักษณะขององค์ประกอบของนวนิยายขึ้นใหม่ตาม ขนบของนวนิยายร่วมสมัยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวคิดทางพุทธศาสนาได้ง่ายยิ่งขึ้น
- Itemกลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) พยงค์ มูลวาปีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสานจากบทแสดงหมอลำอีสาน 10 คณะ เช่น คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะเสียงอีสาน และคณะระเบียบวาทศิลป์ จำนวน 20 เรื่อง เช่น อิเหนา กิ่งฟ้า กาหลงคอน เจ้าหญิงแตงอ่อน โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาและกลวิธีการสื่อสารในระดับสัมพันธสาร ผลการวิจัยโดยสรุป มี 2 ประการ การประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ 3 ประการ องค์ประกอบทางเนื้อเรื่องของการสื่ออารมณ์ขัน พบเนื้อหาที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน 3 ตอน คือ ตอนเปิดเรื่อง ระหว่างเสนอเนื้อเรื่อง และตอนจบเรื่อง โดยตอนเปิดเรื่องมี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา การใช้บทเพลง และการแสดงท่าทาง ระหว่างการดำเนินเรื่องมี 2 ลักษณะ คือ เนื้อหาขัดแย้งกัน และเนื้อหาคล้อยตาม และตอนจบเรื่อง มี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา บทบรรยาย และเพลงกลอนลำ สำหรับการประกอบสร้างวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของระดับในภาษา 3 ระดับ ในระดับมีคำที่ใช้ประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน 7 ลักษณะ คือ คำมูล คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำประสาน คำทับศัพท์ และคำย่อ ในระดับความหมายจะพบคำที่ประกอบสร้างเพื่อสื่ออารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ คำเน้นความหมายสื่อสาระ และคำเน้นความหมายสอดสังคม ส่วนในระดับสัมพันธสาร มีลักษณะของการสื่อสารแล้วก่อให้เกิดอารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ การเริ่มต้นและการลงท้าย และการแสดงหัวเรื่องและการเปลี่ยนหัวเรื่อง และประการที่สามการประกอบสร้างอวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน พบว่า คณะหมอลำอีสานใช้อวัจนภาษา 7 ลักษณะ คือ เทศภาษา กาลภาษา เนตรภาษา สัมผัสภาษา อาการภาษา วัตถุภาษา และปริภาษาในการประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน และกลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน มี 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้ภาษาไม่เป็นทางการ การใช้ท่วงทำนองและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน การใช้ภาษาอุทาน มี 10 ลักษณะ เช่น แสดงความน้อยใจ แสดงความดีใจ และแสดงความเสียใจ การใช้ภาษาเฉพาะกิจมี 10 กลวิธี เช่น ภาษาผวน ภาษาหยาบ และภาษาแกล้งผิด การขยายความ มี 4 กลวิธี เช่น การไขความ การให้ตัวอย่าง และการให้เหตุผล การสมมุติมี 3 กลวิธี คือ การสมมุติคนเป็นยาสีฟันและสินค้าอื่น ๆ ทางสื่อมวลชน การตั้งฉายา ตำแหน่งหรือหน้าที่ และสมมุติฟ้าเป็นมุ้ง การอ้างอิง มี 3 กลวิธี คือ การอ้างอิงรายการทางสื่อมวลชน สัตว์มงคลในเทพนิยาย และอ้างอิงภูมิปัญญาไทย และการหักมุม เป็นการจบเรื่องแบบผู้ชมคาดไม่ถึง
- Itemนวัตกรรมแก้ปัญหาการออกเสียงภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) โชคฑีรภัคญ์ ธนเศรษฐวัฒนาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์และจำแนกเสียงภาษาไทยที่เป็นปัญหาในการออกเสียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย 2) สร้างและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาเสียงในภาษาไทยที่เป็นปัญหา ได้แก่ นักเรียนชั้น ป. 1-3 กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 125 คน และกลุ่มที่ใช้ในการทดลองนวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ชั้น ป. 1-3 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือในการวิเคราะห์และจำแนกเสียงในภาษาไทยที่เป็นปัญหา 2) เครื่องมือในการสร้างและประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม และ 3) เครื่องมือในการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1 เสียงในภาษาไทยที่เป็นปัญหาในการออกเสียงของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ได้แก่ เสียงพยัญชนะต้น ได้แก่ เสียง /s/, /r/, /l/ เสียงพยัญชนะท้าย ได้แก่ /m/,/n/,/d/,/y/,/w/, /j/ ,/p/,/t/ ,/k/,/y/,/b/ เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ได้แก่ /pr/,/pl/,/phr/,/phl/,/kr/,/kl/,/kw/,/khw/,/tr/ เสียงสระเดี่ยว ได้แก่ /u/,/uu/,/i/, /ii/, /ao/,/o : / เสียงสระประสม ได้แก่ /e/, /ua/, /e/, /ia/, /ua/, /o/, /aw/ เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียงจัตวา /t5/ สำหรับเสียงภาษาไทยที่เป็นปัญหาในการฟังออกเสียง ประกอบด้วย เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว ได้แก่ เสียง /r/ เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ได้แก่ เสียง /khw. phr/ เสียงพยัญชนะท้าย ได้แก่ เสียง /t,J / เสียงสระ ได้แก่ เสียง /i, i:/ และเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /t1,/t2/,/t3/,/t4/,/t5/ 2) ประสิทธิภาพนวัตกรรมบทเรียนตอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน รวมทั้งหมด 263 คะแนน ส่วนประสิทธิภาพของนวัตกรรม E, และ E2 พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.92/80.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนกับหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับ 16.17 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน คือ 5.48 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 25 ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52)
- Itemรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ปานณนาถ ศักดิ์ศิริคุณจากการศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในเขตพื้นที่ล้านนาตะวันออก มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และศึกษาความต้องการ และความคาดหวังของนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา การตรวจสอบรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ดำเนินการสัมภาษณ์ และแจกแบบสอบถามความสำคัญที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาวการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ประกอบด้วย ด้านปัจจัยการผลิต ด้านอุปสงค์ ด้านบริบท ด้านการแข่งขัน และกลยุทธ์ของธุรกิจ ด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนกัน ด้านบทบาทของภาครัฐและโอกาส ทั้งนี้จากผลการประเมินด้านปัจจัยที่มีต่อการบริหารจัดการ พบด้านค่านิยมมีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย = 3.76) มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านทักษะของผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.75) รองลงมา คือ การจัดการด้านผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.70) การจัดการด้านรูปแบบ (ค่าเฉลี่ย = 3.68) การจัดการด้านระบบ (ค่าเฉลี่ย = 3.67) การจัดการด้านโครงสร้าง (ค่าเฉลี่ย = 3.56) และการจัดการด้านกลยุทธ์ (ค่าเฉลี่ย = 3.51) โดยพบความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในพื้นที่ล้านนาตะวันออกโดย ได้ดำเนินการศึกษาโดยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เป็นการสุ่มแบบบังเอิญ ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความคาดหวังต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในพื้นที่ล้านนาตะวันออกในระดับมากที่สุดในทุกด้าน โดยด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา จะเป็นด้านที่มีความคาดหวังสูงกว่าด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านทักษะผู้ให้บริการการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย = 3.43) และด้านผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.40) รองลงมา คือ ด้านค่านิยมต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.39) ด้านกลยุทธ์ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.30) ด้านระบบในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.26) ด้านรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย = 3.24) และด้านโครงสร้างในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (ค่าเฉลี่ย =3.21) จากข้อมูลข้างต้นทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ในพื้นที่ล้านนาตะวันออก โดยมีการตรวจสอบความเหมาะสมเพื่อประกอบการตัดสินใจ จนสามารถพัฒนารูปแบบการจัดการที่เหมาะสม ประกอบด้วย การจัดการด้านทักษะของทรัพยากรมนุษย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงกีฬา การจัดการด้านกลยุทธ์เพื่อประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงกีฬา การจัดการด้านรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และการจัดการด้านโครงสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมทางท่องเที่ยวเชิงกีฬาในพื้นที่ล้านนาตะวันออก
- Itemการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการไฟฟ้าบนเครือข่ายสมาร์ตกริด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) การุณย์ ชัยวณิชย์, พันโทการวิจัยนี้มีวัถุประสงค์ เพื่อประเมินการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก เศรษฐศาสตร์ ออกแบบการจำลองสถานการณ์ ประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการไฟฟ้าบนเครือข่ายสมาร์ตกริดภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีขนาด 0.5 MW โดยจะทำการประเมินตลอดอายุการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์ตลอดอายุ 20 ปี (ปี 2559 - 2578) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังการติดตั้ง 0.5 MW มีค่าเท่ากับ 912,500 kWh/year ต่อผลิตไฟฟ้า 1 kWh มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 0.2281 kgCO2eq ด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า NPV ที่อัตราดอกเบี้ย 9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เท่ากับ 1,253,130.17 บาท แสดงให้เห็นว่าคุ้มค่าที่จะลงทุน BCR เท่ากับ 1.03 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 โครงการนี้คุ้มค่าที่จะลงทุน และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 8.08 ปี พลังงานสะสม เพื่อผลิตไฟฟ้า 1 kWh (3.6 MJ) เท่ากับ 2.251 MJ โดยเซลล์แสงอาทิตย์มีพลังงาน สะสมมากที่สุด 2.234 MJ หรือคิดเป็นสัดส่วน 99.24 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าพลังงานสุทธิเท่ากับ 1.349 ซึ่งบ่งบอกว่าระบบ สมาร์ตกริดมีประสิทธิภาพทางพลังงานและมีความคุ้มค่าทางพลังงานในระดับดี ดังนั้น การบำรุงรักษาระบบเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นจาก 20 ปี เป็น 25 ปี สามารถลดพลังงานสะสมลงได้ 14.17 เปอร์เซ็นต์ จากการจำลองสถานการณ์ที่ 1 พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้การจัดการไฟฟ้าโดยการติดตั้งระบบควบคุมระบบปรับอากาศ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 1,027.251 tonCO2/year คิดเป็นร้อยละ 12.18 ต่อปี ของการปล่อยก๊าซเรือนทั้งหมดในระบบปรับอากาศของมหาวิทยาลัยพะเยา ทางด้านเศรษฐศาสตร์จะมีระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 0.09 ปี จากการจำลองสถานการณ์ที่ 2 โดยการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2 MW สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 2,544.61 tonCO2/year คิดเป็นร้อยละ 22.61 ต่อปีของการปล่อยก๊าซเรือนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยพะเยา ด้านเศรษฐศาสตร์จะมีระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 8.09 ปี แบบมหาวิทยาลัยลงทุน และถ้าแบบบริษัทเอกชนลงทุนสามารถประหยัดมูลค่าไฟฟ้าที่ลดลงเทียบเท่าปัจจุบันเท่ากับ 18,547,708.65 บาทต่อปี
- Itemรูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) สิริพร บุญพาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาความพอเพียง และพัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปร 11 แบบวัด ส่วนใหญ่เป็นแบบวัดมาตรประเมินค่า มีค่าความเที่ยง (α) ต่ำสุด คือ 0.731 สูงสุด คือ 0.899 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง โดยสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมสามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียนได้ร้อยละ 20.7 อธิบายพฤติกรรมพอเพียง ได้ร้อยละ 12.1 ถึง 15.5 ซึ่งอธิบายได้น้อยกว่าร้อยละ 25 2) กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และ/หรือกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียน ได้เพิ่มจากที่อธิบายโดยกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมร้อยละ 14.5 ถึง 18.9 อธิบายพฤติกรรมพอเพียงของนักเรียน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ถึง 22.5 (สูงกว่าร้อยละ 5 ทุกกรณี) 3) นักเรียนที่มีความพอเพียงน้อยเป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนา ได้แก่ นักเรียนชาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยปกป้องที่สำคัญ สำหรับนักเรียนแต่ละกลุ่มเสี่ยงมีความแตกต่างกัน 4) รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี โดยอธิบายได้ร้อยละ 65 5) รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยรายด้านตั้งแต่ ร้อยละ 90.00 ถึง 92.14 ค่าเฉลี่ยโดยรวม ร้อยละ 90.89 (ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70/75%) ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ และการวิจัยที่ควรจะต้องทำต่อไปในหลายประเด็น
- Itemการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชุมพร ทูโคกกรวดวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน จำนวน 520 บท โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาในระดับสัมพันธสาร และการประกอบสร้างวรรณศิลป์ ผลการวิจัยโดยสรุปมี 2 ประการ 1) การประกอบสร้างรูปแบบวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ด้านรูปแบบคำประพันธ์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ส่วนใหญ่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว มีจำนวนบทและวรรคที่ไม่แน่นอน พบจังหวะใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบจังหวะตายตัว และรูปแบบจังหวะไม่ตายตัว สัมผัส พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสในและสัมผัสนอก สัมผัสใน พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ สัมผัสนอก พบ 3 ลักษณะด้านโครงสร้างภาษา พบการประกอบสร้างเนื้อหา 4 ลักษณะ คือ การเริ่มต้น พบว่า มีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว พบการใช้คำเริ่มต้น 5 ลักษณะ การลงท้าย พบ 4 ลักษณะ การแสดงหัวเรื่อง พบ 5 ลักษณะ การเปลี่ยนหัวเรื่อง พบ 4 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาเก่า พบ 3 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาใหม่ พบ 6 ลักษณะ การเชื่อมโยงความ พบ 4 ลักษณะ คือ การอ้างถึง การละ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสารและการใช้คำศัพท์ การอ้างถึง พบการใช้ 4 ลักษณะ การละ พบว่า ในวจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้การละ เพื่อช่วยให้เนื้อความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสาร พบ 5 ลักษณะ และการใช้คำศัพท์ พบว่า วจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงความ 2) การประกอบสร้างวรรณศิลป์ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน พบกลวิธีการใช้ภาษา 11 ลักษณะ คือ การใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นอีสาน, การใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต, การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การใช้คำบุรุษสรรพนาม, การใช้คำวิเศษณ์, การใช้คำซ้อน, การใช้คำซ้ำ, การซ้ำคำ, การใช้คำย่อ, การใช้คำไวพจน์, และการใช้คำศัพท์แสลง ในด้านกลวิธีการใช้เสียงสัมผัส พบว่า มีการใช้ 3 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระ เสียงสัมผัสพยัญชนะ และเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ เสียงสัมผัสสระ พบการใช้ 2 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระระหว่างวรรค และเสียงสัมผัสสระในวรรค โดยเสียงสัมผัสสระในวรรค พบการใช้ 6 รูปแบบ เสียงสัมผัสพยัญชนะ พบการใช้ 7 รูปแบบ ส่วนเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ พบเพียง 1 สำนวน เท่านั้น ส่วนกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานมีการใช้โวหารภาพพจน์ 8 ประเภท คือ อุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร นามนัยบุคลาธิษฐาน อธิพจน์ อุปมานิทัศน์โวหาร ลัทพจน์โวหาร และปฏิพากย์โวหาร ผลการศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานในครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงผลการวิเคราะห์ภาษาและลักษณะภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดเผยอุดมการณ์ที่ฝังแฝงอยู่ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานด้วย
- Itemจารึกพะเยา : การศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางภาษา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ธัช มั่นต่อการการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงทางภาษา มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาวิเคราะห์ระบบคำและการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในจารึกพะเยา ข้อมูลที่นำมาศึกษา ได้แก่ จารึกพะเยา จำนวน 55 หลัก โดยคัดเลือกจารึกที่จะนำมาศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในแต่ละช่วงพุทธศตวรรษ จำนวน 55 หลัก จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ตามช่วงระยะเวลาที่จารึกไว้ การคัดเลือกจารึกที่มีจำนวนคำในแต่ละหลัก ได้แก่ จารึกที่มีจำนวน 1-10 บรรทัด มีจำนวน 5 หลัก จารึกที่มีจำนวนบรรทัด 11-20 มีจำนวน 15 หลัก จารึกที่มีจำนวนบรรทัด 21-30 มีจำนวน 16 หลัก จารึกที่มีจำนวนบรรทัด 31-40 มีจำนวน 6 หลัก จารึกที่มีจำนวนบรรทัดมากกว่า 41 บรรทัดขึ้นไป มีจำนวน 13 หลัก ผลจากการศึกษาวิจัยจารึกพะเยาทั้ง 55 หลัก พบว่า มีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางภาษาและไม่มีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ ด้านรูปแบบ มีการเลือกใช้รูปพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกด รูปสระ รูปวรรณยุกต์ ต่างกันกับปัจจุบัน ในลักษณะการสูญ การลด การเพิ่มพยัญชนะ รูปสระ และรูปวรรณยุกต์ ด้านการใช้คำ ใช้คำคนละคำ หรือใช้คำต่างกันกับปัจจุบันซึ่งพบมากในคำสรรพนาม คำลักษณะนาม คำนำหน้านาม ด้านการเรียบเรียงคำต่างกับปัจจุบัน พบมากในการเรียบเรียงคำบอกจำนวนกับคำลักษณนาม ส่วนลักษณะภาษาที่ไม่พบการเปลี่ยนแปลง คือ มีระบบการสร้างคำเป็น คำซ้อน คำประสม คำประสาน คำสมาสคงเดิม ระบบการเปลี่ยนแปลงชนิดของคำเป็นคำนาม คำสรรพนาม คำลักษณะนาม คำนำหน้านาม คำบอกจำนวน คำเรียก เช่นเดียวกับปัจจุบัน
- Itemแนวทางการลดค่าไฟฟ้าด้วยการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ทรงพล ผัดวงศ์การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการลดค่าไฟฟ้าด้วยการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ขั้นตอนแรกของการศึกษาเป็นการจำลองผลประหยัดค่าไฟฟ้าจากการเปลี่ยนมาใช้ค่าไฟฟ้าแบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU) จากการนำข้อมูลโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2558 ตามประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาจัดทำแผนภูมิผลประหยัดค่าไฟฟ้าจากการเปลี่ยนค่าไฟฟ้าจากอัตราปกติ มาเป็นอัตรา TOU พบว่า ผลประหยัดค่าไฟฟ้าขึ้นกับตัวแปรด้านพฤติกรรมของการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของตนเอง แล้วนำมาพิจารณาในแผนภูมิ ทำให้ทราบความเป็นไปได้ถึงผลประหยัดค่าไฟฟ้า เมื่อเปลี่ยนจากค่าไฟฟ้าอัตราปกติมาเป็นค่าไฟฟ้าอัตรา TOU นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่สำคัญที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถเปลี่ยนมาใช้อัตรา TOU คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย อัตรา 1.1.1 และ 1.1.2 ที่แรงดัน 22-33 kV จะต้องมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา On Peak ไม่เกิน 0.7 ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย อัตรา 1.1.1 และ 1.1.2 ที่แรงดันต่ำกว่า 22 kV และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก จะต้องมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา On Peak ไม่เกิน 0.52 ขั้นตอนถัดมาของการศึกษาได้ทำการจำลองวิธีการเลือกขนาดพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic: PV) ที่เหมาะสมสำหรับค่าไฟฟ้าแบบอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU) เพื่อหาขนาดต่ำสุดและสูงสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะได้รับประโยชน์จากอัตรา TOU สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ปริมาณไฟฟ้ามากกว่า 150 หน่วยต่อเดือน และมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 22 kV ที่พิจารณาการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่จังหวัดพะเยา และกำหนดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ใช้สำหรับช่วง On Peak ผลที่ได้จากการศึกษา คือ แผนภูมิการหาขนาดต่ำสุดและสูงสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกขนาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมจากแผนภูมิเหล่านี้ การกำหนดขนาดต่ำสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนติดตั้ง PV (kWhT,E) และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak (αE) ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือนและสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak มากกว่า 0.8 จะไม่สามารถได้รับประโยชน์จากอัตรา TOU และการกำหนดขนาดสูงสุดของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าก่อนติดตั้ง PV (kWhT,E) และสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak (αE) ถ้าหากปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อเดือนและสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วง On Peak สูงขึ้น จะทำให้ขนาดพลังงานแสงอาทิตย์สูงสุดที่สามารถติดตั้งเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากอัตรา TOU สูงขึ้นตาม
- Itemการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ทนันเดช ยงค์กมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ วิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 3 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ กลุ่มประชากร คือ คณะผู้บริหารและครูของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 40 แห่ง จำนวน 680 คน ประจำปีการศึกษา 2560 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.897 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาของการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีสภาพการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ งานวิชาการ และงานทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ งานบุคคล และงานงบประมาณ ส่วนปัญหาการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานทั่วไป และงานบุคคล 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนออกเป็น 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคกลาง ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันออก ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันตก และศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตปกครองพิเศษ โดยมีการสร้างองค์ประกอบเครือข่าย 6 องค์ประกอบ ในการบริหารโรงเรียนทั้ง 40 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้แก่ 1) การมีมุมมองร่วมกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การประสานงานเครือข่าย 4) การให้คำปรึกษาเครือข่าย 5) การสร้างสรรค์ผลงาน และ 6) การกำกับดูแลและติดตาม และ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ทั้งด้านความเป็นประโยชน์และด้านความเหมาะสม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเป็นประโยชน์ และ 2) ด้านความเหมาะสม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นย่อย พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกข้อ ยกเว้นประเด็นเกี่ยวกับมีความเหมาะสมที่เกี่ยวข้อง รูปแบบนี้ได้ระบุกระบวนการ/ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายและองค์ประกอบของเครือข่ายได้อย่างชัดเจน และกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่ายตามรูปแบบมีความชัดเจน เหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมาก
- Itemการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วิเนส จันทะวงษ์ศรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ 48 คน และนักศึกษา 307 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 6 คน อาจารย์ 4 คน และนักศึกษา 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาญี่ปุ่นและ/หรือผู้มีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอน จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นนำร่างรูปแบบฯ ไปสร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจากความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 82 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา จำนวน 119 คน ในภาคการศึกษาที่ 2/2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์มีความคิดเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาของการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาของการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุน ผู้บริหารและอาจารย์เห็นว่ารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01.และ 3) เมื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ พบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) มณฑณ ศรีสุขการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษากลยุทธ์และใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผสมผสานไปกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราห์ TOWS และการประชาคม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนชุมชนตำบลนางพญา นักท่องเที่ยว หน่วยงาน และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและโปรแกรมสำเร็จรูป โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพพร้อมที่เอื้อต่อการดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างครบองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ ได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดการด้านสภาพแวดล้อม ด้านความมีชื่อเสียง ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ หลักการสำคัญที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อันดับที่หนึ่ง คือ ต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจังต่อเนื่อง อันดับที่สอง จะต้องระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวและการผลิตทางเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างรู้คุณค่าโดยการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ทรัพยากร อันดับที่สาม คือ การนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนมาสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนตำบลนางพญาอย่างสมดุล ด้วยการใช้การท่องเที่ยวเพื่อสร้างเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอันดับสุดท้าย คือ การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อให้การดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้มีความยั่งยืนต่อไป
- Itemการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) อธิเทพ งามศิลปเสถียรงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ รูปแบบความต้องการ แนวโน้ม และปัญหาของการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมท่องเที่ยวในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์บทบาทของการถ่ายทำภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมท่องเที่ยวในปัจจุบัน และ 3) เสนอรูปแบบการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์ในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชน รวม 29 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัยภาครัฐ พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากในการเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เพราะมีสถานที่สวยงามหลากหลาย มีศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ รัฐบาลได้บูรณาการส่วนผสมทางการตลาดให้พร้อมทุกด้าน จุดอ่อน เช่น การคืนภาษี Incentive น้อยกว่าประเทศคู่แข่งในส่วนภาคเอกชน พบว่า อิทธิพลของภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์ที่มีคุณภาพสามารถสร้างชาติได้ ค่ายผู้ผลิตฯ จะสร้างตามกระแสของผู้ชมโดยดำเนินการทุกอย่างเอง จุดอ่อน เช่น ภาครัฐไม่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครอย่างจริงจัง ผู้วิจัยนำข้อมูลไปวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (TOWS matrix analysis) อันประกอบด้วยภาครัฐ กลยุทธ์เชิงรุก คือ เพิ่มการประชาสัมพันธ์สถานที่สวยงามของไทยผ่านทางภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ การออกกฎหมายที่ชัดเจนและเป็นธรรมให้กองถ่ายทำฯ ต่างชาติ กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การประชาสัมพันธ์สถานที่ถ่ายทำฯ ด้วยระบบเทคโนโลยี IT ที่แปลกใหม่ กลยุทธ์เชิงรับ คือ เชิญเจ้าของพื้นที่มาร่วมวางแผนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่วนภาคเอกชน กลยุทธ์เชิงรุก คือ พัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครไทยอย่างจริงจัง กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การร่วมกันสร้างกระแสให้คนไทยรักษาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ การร่วมบูรณาการพัฒนาคุณภาพของการเขียนบทและการถ่ายทำฯ ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลยุทธ์เชิงรับ คือ การเพิ่มผลประโยชน์พิเศษให้กองถ่ายทำต่างชาติภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์อย่างจริงจัง โดยภาครัฐควรสนับสนุนภาคเอกชนอย่างเต็มที่ เช่น ด้านแหล่งเงินทุน เพิ่มการประชาสัมพันธ์สถานที่สวยงามของไทยผ่านทางภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก เพิ่มความสะดวกด้วยบริการ One stop service เพิ่ม Incentive ให้เหนือกว่าประเทศคู่แข่ง การออกกฎหมายที่ชัดเจนและเป็นธรรมให้กองถ่ายทำฯ ต่างชาติ ในส่วนของภาคเอกชนควรมุ่งพัฒนาคุณภาพการเขียนบทและการถ่ายทำฯ ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ
- Itemเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้มและอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กวี วรกวินการศึกษาวิจัยเรื่อง เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ ในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติศิลาทราย อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายภาพด้านธรณีสัณฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก 2) ศึกษาการรับรู้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก และ 3) สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในเขตแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายบริเวณอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก ในจังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และพระสงฆ์จำนวน 5 รูป รวม 25 คน/รูป ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทางกายภาพด้านธรณีสัณฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทรายในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และอุทยานแห่งชาติสามพันโบก มีลักษณะสัณฐานทางกายภาพเพื่อการท่องเที่ยว 10 อนุสัณฐาน คือ ผาหิน ชั้นหิน เสาหิน ระแหงหิน ปุ่มหิน แก่งหิน บ่อหิน ชะง่อนหิน น้ำตก และดินทราย 2) การรับรู้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีสัณฐานหินทราย มี 3 ระดับ คือ ระดับรู้เห็น ระดับรู้พิจารณา และระดับรู้คิด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้อยู่ในระดับการรู้เห็น ระดับการรู้พิจารณานั้นมีน้อย และระดับการรู้คิดมีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย ดังนั้น การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวปัจจุบันมีลักษณะการท่องเที่ยวแบบไปเห็นแล้วรู้จักการเที่ยวแล้วรู้คุณค่ามีน้อย และเที่ยวแล้วได้องค์รู้ใหม่ ๆ มีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย 3) ผู้วิจัยนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยว จำนวน 8 เส้นทาง ประกอบด้วย การท่องเที่ยวทางนํ้า จำนวน 5 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางสามพันโบก เส้นทางผาชัน เส้นทางระหว่างแก่งผาชะนะได-บ้านทุ่งนาเมือง เส้นทางแก่งเก้าพันโบก และเส้นทางแก่งผาโสก และเส้นทางท่องเที่ยวทางบก จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วยเส้นทางผาแต้มตอนใต้ เส้นทางผาแต้มตอนกลาง และเส้นทางผาแต้มตอนเหนือ (ผาชัน-ผานางคอย) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ผลการวิจัยในการจัดทำข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยว และนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มโนทัศน์ในแหล่งท่องเที่ยวสัณฐานศิลาทราย
- Itemยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัล สำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว 4.0(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) พิริยะ เงินศรีสุขงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว 4.0 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่ม 4.0 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ และการตลาดดิจิทัลสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว 4.0 3) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว 4.0 การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูล สำคัญ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว 4.0 และกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาสรุปเพื่อกำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว 4.0 โดยสามารถสรุปออกมาเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ผู้นำองค์กรต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดของตนเอง 2) บุคลากรต้องพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน 3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบเทคโนโลยีภายในองค์กร 4) เสริมความแข็งแกร่งด้วยเครื่องมือทางดิจิทัล 5) พัฒนาแผนการสื่อสารการตลาดด้วยกลยุทธ์ทางด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ดังนี้ กลยุทธ์การสร้างตัวตนของลูกค้า (Customer Personal), กลยุทธ์การสร้างหรือการหาเครื่องมือดิจิทัล, กลยุทธ์การประเมินช่องทางการตลาดและเงินทุน, กลยุทธ์การตลาด 5A, กลยุทธ์ทางด้านการตลาดเนื้อหา (Content Marketing), กลยุทธ์การดึงความสนใจลูกค้า (Inbound Marketing Strategy) และกลยุทธ์การตลาดผู้มีอิทธิพล (Influencer Marketing) 6) ลงมือทำและขยับขับเคลื่อนองค์กรไปตามแผนการที่วางไว้
- Itemยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีปงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อหาแนวทางความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mixed methodology research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 400 คน และทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และใช้การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า โดยผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาด้านเศรษฐกิจ 2) พัฒนาด้านสังคม 3) พัฒนาด้านวัฒนธรรม และ 4) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถสร้างเป็นยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้อำเภอหัวหินดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบริการทางการท่องเที่ยว 3) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และ 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมาย
- Itemนวัตกรรมการเพิ่มคุณภาพการบริการผู้โดยสารของธุรกิจสายการบินพาณิชย์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ภูวดล งามมากงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสารสายการบินพาณิชย์ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณภาพการใช้บริการในธุรกิจสายการบินพาณิชย์ 3) เพื่อกำหนดรูปแบบและการพัฒนาการเพิ่มคุณภาพการบริการของผู้โดยสารในธุรกิจสายการบินพาณชย์ ซึ่งป็นวิจัยแบบผสมโดยมี 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินพาณิชย์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน แบบสอบถามปลายเปิด ที่ประกอบด้วย ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินพาณิชย์ ข้อมูลด้านพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสารที่บริการในธุรกิจสายการบินพาณิชย์ข้อมูล ด้านการรับรู้คุณภาพการบริการในธุรกิจสายการบินพาณิชย์ และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานจะใช้สถิติทดสอบ Chi-Square test, T-test, F-test ในการทดสอบสมมติฐานจากการการทดสอบสมมติฐาน การวิจัยจะถูกนำมาสร้างเป็นบทสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้างกับกลุ่มประชากร คือ ภาครัฐ ได้แก่ องค์การการบินพลเรือน กรมการท่าอากาศยาน ตัวแทนผู้บริหารสายการบินพาณิชย์ และตัวแทนจัดการธุรกิจท่องเที่ยวในการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อนวัตกรรมการเพิ่มคุณภาพการบริการของผู้โดยสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสารมีปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินพาณิชย์ที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสารสายการบินพาณิชย์ 2) ด้านการรับรู้คุณภาพการบริการ สามารถแบ่งช่วงการรับรู้คุณภาพการบริการในธุรกิจสายการบินพาณิชย์ ได้แก่ คุณภาพการให้บริการช่วงก่อนการขึ้นเครื่อง คุณภาพการให้บริการช่วงทำการบิน คุณภาพการให้บริการช่วงหลังทำการบิน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งผลต่อนวัตกรรมการเพิ่มคุณภาพการบริการมากที่สุด ได้แก่ ด้านการตอบสนองความต้องการกับผู้โดยสาร (Responsiveness) ด้านบริการที่สัมผัสได้ทางกายภาพ (Tangibility) ด้านความมั่นใจกับผู้โดยสาร (Assurance) และ 3) ด้านกำหนดรูปแบบและการเพิ่มคุณภาพการบริการของผู้โดยสารในธุรกิจสายการบินพาณิชย์ ประกอบไปด้วย A = Assurance ความเชื่อมั่นต่อผู้โดยสาร R=Responsiveness การตอบสนองผู้โดยสาร T = Tangibility ความเป็นรูปธรรมของการบริการผู้โดยสาร I = Improvement = การปรับปรุงนวัตกรรม T = Trust ความไว้วางใจในการให้บริการ (ARTI MODE สุนทรียะแห่งการบริการสร้างความประทับใจ) เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสารเสริมสร้างวิสัยทัศน์ในการให้บริการ และพัฒนาขีดความสามารถให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรงได้
- Itemแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวจุดหมายปลายทาง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) อรวรรณ เหมือนภักตร์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สามารถรองรับการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวจุดหมายปลายทาง 2) วิเคราะห์แนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวจุดหมายปลายทาง 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวจุดหมายปลายทาง วิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรด้านบริการทางการท่องเที่ยว และทรัพยากรมหกรรม และ Events เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความพร้อมที่จะสามารถรองรับการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย อาทิ สถานีรถไฟนครลำปาง และงานเซรามิกแฟร์ 2) การวิเคราะห์แนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวจุดหมายปลายทาง พบว่า เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการตลาดทางตรงเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุด นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดลำปาง แบ่งตามลักษณะพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ซึ่งได้กำหนดทั้งหมด 15 ความฝันของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ พบว่า จังหวัดลำปางมีจุดเด่น คือ 1) ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่หลากหลาย อาทิ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และที่โดดเด่น คือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ที่ตั้งจังหวัดลำปางอยู่กึ่งกลางของภาคเหนือตอนบนเป็นเส้นทางผ่านเชื่อมโยงไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ ใกล้เคียง ทำให้ผู้มาเยือนสนใจที่จะแวะพักและท่องเที่ยว ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ 3) เป็นจังหวัดที่ได้รับการสนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยวตามนโนบายของภาครัฐโดยตลอด แต่ในขณะเดียวกัน จังหวัดลำปาง ก็พบอุปสรรคต่อการพัฒนา เช่น ขาดความร่วมมือการทำงาน ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน และบุคลากรขาดทักษะเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และที่สำคัญจังหวัดลำปางมีการใช้สื่อที่หลากหลาย แต่ก็ยังไม่ได้ผลตอบรับจากนักท่องเที่ยวนอกเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวจุดหมายปลายทางได้กำหนด 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการแบบเชิงรุก 2) กลยุทธ์สร้างมาตรฐานและการเป็นที่ยอมรับระดับสากล 3) กลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 4) กลยุทธ์การบริหารจัดการ การยกระดับจังหวัดลำปางเป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย
- Itemกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) พรทิพย์ รุ่งเรืองงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคของการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก 2) เพื่อประเมินศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผจญภัยในความต้องการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 4) เพื่อเสนอแนะกลยุทธ์เพื่อพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และนักวิชาการจำนวนรวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา และการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามปลายเปิด เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว หรือเข้าร่วมกิจกรรมผจญภัย จังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลด้วยสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) สถิติทดสอบ One-way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่วิธี Scheffe นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก ได้แก่ ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง และปัญหาการจราจร เพราะการใช้ยานพาหนะส่วนตัวมักก่อความไม่สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว อุปสรรค คือ ขาดการทำงานแบบบูรณาการขาดเป้าหมายทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน 2) ศักยภาพท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในด้านสิ่งดึงดูดใจ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการ ในขณะที่ศักยภาพด้านที่พัก ด้านการเข้าถึง และด้านกิจกรรมควรปรับปรุง 3) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีความแตกต่างต่อระดับความต้องการการบริการการท่องเที่ยวผจญภัยเชิงกีฬาจังหวัดนครนายก ในด้านอายุ และระดับการศึกษา ส่วนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างต่อความต้องการการบริการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในรูปแบบโมเดล A3 P" Paradigm ได้แก่ การเข้าถึง (Accessibility) กิจกรรม (Activity) ความคาดหวัง (Anticipation) พัฒนาธุรกิจที่พักแรม (Place) บุคลากรด้านการบริการ (People) พัฒนาการทำงาน (Policy) พัฒนาโครงสร้างแผนงานชัดเจนเป็นระบบ (Plan) พัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์ (Promotion) พัฒนาการทำงานโดยให้บทบาทสำคัญกับทุกฝ่าย (Participation) ส่งเสริมให้มีสนามฝึกซ้อมกิจกรรมกีฬาเชิงผจญภัย (Practice field)