ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Title
Now showing 1 - 20 of 103
Results Per Page
Sort Options
- Itemกระบวนทัศน์นิเวศวิถีของวรรณกรรมเรื่องสั้นและนวนิยายไทยร่วมสมัยในรอบทศวรรษ พุทธศักราช 2551-2560(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) กานต์รวี แพทย์พิทักษ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดนิเวศวิถี และกลวิธีการนำเสนอกระบวนทัศน์นิเวศวิถีของวรรณกรรมเรื่องสั้น และนวนิยายไทยร่วมสมัยในรอบทศวรรษ พุทธศักราช 2551-2560 โดยใช้ตัวบทเรื่องสั้นและนวนิยาย ที่ตีพิมพ์ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2551-2560 จำนวน 126 เรื่อง มาใช้ในการวิจัย โดยใช้แนวคิดความรู้ในตัวบท ซึ่งได้จากการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแนวคิดความรู้นอกตัวบท และแนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แนวคิดนิเวศวิถี พบว่า ผู้แต่งมีการนำเสนอแนวคิด และกลวิธีการนำเสนอที่มีความสอดคล้องกับเรื่องราว และชีวิตซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศวิทยา มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านโครงเรื่องชีวิตความขัดแย้งและปมปัญหา ใช้มุมมองการเล่าเรื่องแบบผสมผสาน เรื่องสั้นและนวนิยายมีทั้งความสมจริง และจินตนาการของฉากและบทสนทนา โดยมีกลวิธีนำเสนอทั้งที่มีเอกลักษณ์และคล้ายคลึงกัน แนวคิดนิเวศวิถี มี 6 แนวคิด 1) แนวคิดเกี่ยวกับวิถีธรรมชาติ 2) แนวคิดเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของชีวิตและสรรพสิ่ง 3) แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเชื่อ 4) แนวคิดเกี่ยวกับวิกฤติปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ 5) แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และ 6) แนวคิดเกี่ยวกับนิเวศพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แนวคิดนิเวศวิถีทั้ง 6 แนวคิด เป็นความสำคัญของผู้แต่งที่ใช้ในการนำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างจิตสำนึก และช่วยกระตุ้นเตือนผู้อ่านได้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ ที่จะช่วยธำรงรักษาระบบนิเวศของผืนโลกให้มีความสมบูรณ์สืบไป กลวิธีการนำเสนอกระบวนทัศน์นิเวศวิถี มี 4 กลวิธี 1) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดโดยการเล่าเรื่อง 2) กลวิธีการนำเสนอโดยผ่านโครงเรื่อง 3) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดโดยผ่านตัวละคร และ 4) กลวิธีการนำเสนอแนวคิดโดยผ่านฉาก กลวิธีการนำเสนอกระบวนทัศน์นิเวศวิถีทั้ง 4 กลวิธี เป็นกลวิธีที่ผู้แต่งเลือกกระบวนคิดวิเคราะห์ และเลือกสรรการใช้กลวิธีตามแนวทางต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดแนวคิดของผู้แต่งสู่ผู้อ่านด้วยวิธีที่แยบยล โดยสอดแทรกให้ผู้อ่านซึมซับ เข้าใจ ตระหนักรู้ในความจริงแห่งนิเวศวิถี คุณค่าของสรรพสิ่งเป็นวิถีทางที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวทางในการรักษา ฟื้นฟูระบบนิเวศ ในการที่จะช่วยให้มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกับสรรพสิ่งในโลกได้อย่างสันติสุข
- Itemกฤษณา อโศกสิน-ทมยันตี: อัตลักษณ์การประพันธ์นวนิยายร่วมสมัยเชิงประชัน เรื่อง เมียหลวง-เมียน้อย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ผกาเพ็ญ จรูญแสงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลตัวบทนวนิยาย “เมียหลวง” ของกฤษณา อโศกสิน และนวนิยาย “เมียน้อย” ของทมยันตี ในด้านกลวิธีการประกอบสร้างตัวบท และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทสังคม โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรู้ในตัวบท และแนวคิดความรู้นอกตัวบท คือ แนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมประเภทนวนิยาย และแนวคิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทนวนิยายกับบริบทสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ 2 ประการ ดังนี้ 1) กลวิธีการประกอบสร้างตัวบทนวนิยายเรื่องเมียหลวง-เมียน้อย ด้านแก่นเรื่อง สะท้อนปัญหาสังคมครอบครัวเนื่องจากกิเลสตัณหาของสามีที่มีเมียน้อยในที่สุดคุณธรรมความดีช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โครงเรื่องของนวนิยายคล้ายกันในภาพรวม ต่างกันในรายละเอียด โดยเรื่องเมียหลวง สามีมีเมียน้อย แต่ภรรยาซึ่งเป็นเมียหลวงใช้ปัญญาและคุณธรรมความดีแก้ปัญหา เมื่อปมปัญหาคลี่คลาย สามีเลิกเจ้าชู้ ไม่มีเมียน้อยอีก ในขณะเรื่องเมียน้อย ผูกปมให้ตัวละครเอกเป็นเมียน้อยด้วยความจำเป็นในชีวิตและครอบครัว แต่เป็นเมียน้อยมีปัญญาและยึดมั่นในความดี เมื่อปมปัญหาคลี่คลายจึงพ้นจากความเป็นเมียน้อย พบรักกับผู้ชายคนใหม่ แล้วก้าวสู่ความเป็นเมียหลวง ตัวละครเอกในนวนิยายทั้งสองเรื่อง แม้จะต่างกันด้วยบริบทชีวิตและสังคม แต่ตัวละครต่างใช้ปัญญาและคุณธรรมแก้ปัญหาชีวิต เรื่องเมียหลวงกับเรื่องเมียน้อยใช้บทสนทนาดำเนินเรื่องแทนการบรรยาย ทำให้เรื่องมีชีวิตชีวา รู้จักตัวละคร และมีวิธีการไม่ซ้ำซาก เป็นธรรมชาติและสมจริง ในด้านฉากช่วยให้ชวนติดตาม ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใด เมื่อใด ช่วยสื่อความคิดของผู้ประพันธ์ ด้านการใช้ภาษาในภาพรวม ผู้ประพันธ์ใช้คำและสำนวนภาษา ประโยค โวหาร ภาพพจน์ และลีลาภาษาเรียบง่าย สื่อความหมายกระจ่างชัด มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับบริบทสังคม ในด้านวิถีของความเป็นเมียหลวงและเมียน้อย ในด้านบทบาทต่อตนเองมี 4 ด้าน คือ ด้านชาติกำเนิด ด้านการได้รับการอบรมจากครอบครัว และด้านการศึกษา บทบาทดังกล่าวแม้มีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน ด้านบทบาทต่อผู้อื่น ตัวละครเมียหลวงมีบทบาทต่อครอบครัวของตนในฐานะแม่และเมีย ส่วนตัวละครเมียน้อยมีบทบาทต่อครอบครัวที่ตนเองเป็นลูกซึ่งมีพ่อกับแม่และเป็นพี่ซึ่งมีน้องชาย การเป็นเมียหลวงและเมียน้อยในนวนิยายทั้งสองเรื่อง ส่งผลลัพธ์สามมิติ คือ ผลลัพธ์ต่อคู่ครอง ผลลัพธ์ต่อครอบครัวและวงศ์ตระกูล และผลลัพธ์ต่อสังคม ด้านการดำรงอยู่ของเมียหลวงและเมียน้อยนั้น สำหรับเมียหลวงนั้น ช่วงแรกเป็นเมียหลวงที่สมบูรณ์ ต่อมาอยู่ในสถานะหย่าร้างแต่ยังเป็นเมียหลวงโดยพฤตินัย แล้วกลับคืนสู่สถานะเมียหลวงที่สมบูรณ์อีกครั้ง ส่วนการเป็นเมียน้อย ช่วงแรกเป็นเมียน้อยที่งดงามในความเป็นเมีย แล้วในที่สุดเปลี่ยนสภาพเป็นเมียหลวง
- Itemกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ณัฐติพร อ้นด้วงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพแวดล้อม และแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 320 คน การสนทนากลุ่มกับนักทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 33 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน 2) การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยยกร่างกลยุทธ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล จำนวน 60 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพแวดล้อมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดแข็ง คือ ส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตนเองแก่บุคลากร จุดอ่อน คือ ระบบบริหารตำแหน่งล่าช้า โอกาส คือ มีอิสระในการบริหารงานและบุคลากรสายวิชาการมีความก้าวหน้าได้ด้วยตนเอง และภาวะคุกคาม คือ การปรับเปลี่ยนระเบียบและกฎหมายทำให้บริหารงานล่าช้า ส่วนแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทักษะและสมรรถนะ การธำรงรักษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงรุกของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก และ 14 กลยุทธ์ย่อย ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความคล่องตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติการณ์ 2) เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ 4) เสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 5) พัฒนาระบบการธำรงรักษาบุคลากร มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
- Itemกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) มณฑณ ศรีสุขการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษากลยุทธ์และใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผสมผสานไปกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราห์ TOWS และการประชาคม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนชุมชนตำบลนางพญา นักท่องเที่ยว หน่วยงาน และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและโปรแกรมสำเร็จรูป โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพพร้อมที่เอื้อต่อการดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างครบองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ ได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดการด้านสภาพแวดล้อม ด้านความมีชื่อเสียง ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ หลักการสำคัญที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อันดับที่หนึ่ง คือ ต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจังต่อเนื่อง อันดับที่สอง จะต้องระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวและการผลิตทางเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างรู้คุณค่าโดยการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ทรัพยากร อันดับที่สาม คือ การนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนมาสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนตำบลนางพญาอย่างสมดุล ด้วยการใช้การท่องเที่ยวเพื่อสร้างเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอันดับสุดท้าย คือ การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อให้การดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้มีความยั่งยืนต่อไป
- Itemกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) พรทิพย์ รุ่งเรืองงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และอุปสรรคของการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก 2) เพื่อประเมินศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผจญภัยในความต้องการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย จังหวัดนครนายก 4) เพื่อเสนอแนะกลยุทธ์เพื่อพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และนักวิชาการจำนวนรวม 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา และการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามปลายเปิด เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว หรือเข้าร่วมกิจกรรมผจญภัย จังหวัดนครนายก รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รายงานผลด้วยสถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) สถิติทดสอบ One-way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่วิธี Scheffe นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยจังหวัดนครนายก ได้แก่ ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะไม่ทั่วถึง และปัญหาการจราจร เพราะการใช้ยานพาหนะส่วนตัวมักก่อความไม่สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัว อุปสรรค คือ ขาดการทำงานแบบบูรณาการขาดเป้าหมายทิศทางที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงาน 2) ศักยภาพท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในด้านสิ่งดึงดูดใจ คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการ ในขณะที่ศักยภาพด้านที่พัก ด้านการเข้าถึง และด้านกิจกรรมควรปรับปรุง 3) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีความแตกต่างต่อระดับความต้องการการบริการการท่องเที่ยวผจญภัยเชิงกีฬาจังหวัดนครนายก ในด้านอายุ และระดับการศึกษา ส่วนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยที่ต่างกัน ไม่มีความแตกต่างต่อความต้องการการบริการการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัยในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัดนครนายกให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวกีฬาเชิงผจญภัย ในรูปแบบโมเดล A3 P" Paradigm ได้แก่ การเข้าถึง (Accessibility) กิจกรรม (Activity) ความคาดหวัง (Anticipation) พัฒนาธุรกิจที่พักแรม (Place) บุคลากรด้านการบริการ (People) พัฒนาการทำงาน (Policy) พัฒนาโครงสร้างแผนงานชัดเจนเป็นระบบ (Plan) พัฒนาสื่อการประชาสัมพันธ์ (Promotion) พัฒนาการทำงานโดยให้บทบาทสำคัญกับทุกฝ่าย (Participation) ส่งเสริมให้มีสนามฝึกซ้อมกิจกรรมกีฬาเชิงผจญภัย (Practice field)
- Itemกลวิธีการประกอบสร้างและแนวคิดการครองคู่ของตัวละครในนวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สุชัญญา วงค์เวสช์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรสในประเด็น กลวิธีการประกอบสร้าง และแนวคิดการครองคู่ของตัวละคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส จำนวน 15 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดองค์ประกอบของการสร้างนวนิยาย การวิเคราะห์ตัวละครและแนวคิดความสัมพันธ์ในการครองคู่ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีประกอบสร้างของนวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรสแบ่งตามเพศวิถีของตัวละครเป็น 5 ประเภทความสัมพันธ์ ได้แก่ 1) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครเกย์กับเกย์ 2 ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครไบเซ็กชวลกับเกย์ 3) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครชายกับชาย 4) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครเกย์กับชาย และ 5) ประเภทความสัมพันธ์ของตัวละครหญิงกับหญิง ประเด็นแนวคิดการครองคู่ตัวละครในแต่ละประเภทความสัมพันธ์ แบ่งตามขั้นตอนการดำเนินความสัมพันธ์ได้ 3 ขั้น คือ 1) แนวคิดการครองคู่ระยะเริ่มต้น เกิดจากความพึงพอใจรูปลักษณ์ลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกัน พึ่งพาอาศัยได้และมีรสนิยมทางเพศตรงกัน รูปแบบความสัมพันธ์เป็นแบบไม่ผูกมัดและเน้นเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ 2) แนวคิดการครองคู่ระยะเปิดรับความสัมพันธ์ เกิดจากความใกล้ชิด พึงพอใจในรสนิยมและความสบายใจในปฏิสัมพันธ์ รูปแบบความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นแบบเพศรสเสน่หาและความลุ่มหลง และ 3) แนวคิดการครองคู่ระยะสรุปความสัมพันธ์ ปิดเรื่องด้วยความสุขสมหวัง สร้างทางออกในการครองคู่ของตัวละครแบบรักเพศเดียวกัน ด้วยการสร้างครอบครัวที่มีความมั่นคง นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรสทั้ง 5 ประเภทความสัมพันธ์มีกลวิธีการประกอบสร้างและแนวคิดการครองคู่เป็นไปตามรูปแบบและองค์ประกอบของการสร้างนวนิยาย โดยเน้นการเล่าถึงรูปแบบความสัมพันธ์และปัญหาของความรักแบบเพศเดียวกัน โครงสร้างในการดำเนินเรื่องของแต่ละประเภทความสัมพันธ์ได้นำบรรทัดฐานรักต่างเพศ ปัญหาเรื่องเพศ ปัญหาทางจิตของตัวละคร ปัญหาสังคมมาเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์เพื่อให้ตัวละครแก้ไขปัญหา และพิสูจน์ว่ารักร่วมเพศหรือความรักในเพศเดียวกันสามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงการสร้างแนวคิดให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องความเป็นปกติในความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียว ผ่านความสัมพันธ์ของตัวละครบนพื้นฐานของความพึงพอใจ ความเข้าใจและความสบายใจ
- Itemกลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) พยงค์ มูลวาปีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสานจากบทแสดงหมอลำอีสาน 10 คณะ เช่น คณะประถมบันเทิงศิลป์ คณะเสียงอีสาน และคณะระเบียบวาทศิลป์ จำนวน 20 เรื่อง เช่น อิเหนา กิ่งฟ้า กาหลงคอน เจ้าหญิงแตงอ่อน โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาและกลวิธีการสื่อสารในระดับสัมพันธสาร ผลการวิจัยโดยสรุป มี 2 ประการ การประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ 3 ประการ องค์ประกอบทางเนื้อเรื่องของการสื่ออารมณ์ขัน พบเนื้อหาที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน 3 ตอน คือ ตอนเปิดเรื่อง ระหว่างเสนอเนื้อเรื่อง และตอนจบเรื่อง โดยตอนเปิดเรื่องมี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา การใช้บทเพลง และการแสดงท่าทาง ระหว่างการดำเนินเรื่องมี 2 ลักษณะ คือ เนื้อหาขัดแย้งกัน และเนื้อหาคล้อยตาม และตอนจบเรื่อง มี 3 ลักษณะ คือ การสนทนา บทบรรยาย และเพลงกลอนลำ สำหรับการประกอบสร้างวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของระดับในภาษา 3 ระดับ ในระดับมีคำที่ใช้ประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน 7 ลักษณะ คือ คำมูล คำประสม คำซ้อน คำซ้ำ คำประสาน คำทับศัพท์ และคำย่อ ในระดับความหมายจะพบคำที่ประกอบสร้างเพื่อสื่ออารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ คำเน้นความหมายสื่อสาระ และคำเน้นความหมายสอดสังคม ส่วนในระดับสัมพันธสาร มีลักษณะของการสื่อสารแล้วก่อให้เกิดอารมณ์ขัน 2 ลักษณะ คือ การเริ่มต้นและการลงท้าย และการแสดงหัวเรื่องและการเปลี่ยนหัวเรื่อง และประการที่สามการประกอบสร้างอวัจนภาษาสื่ออารมณ์ขัน พบว่า คณะหมอลำอีสานใช้อวัจนภาษา 7 ลักษณะ คือ เทศภาษา กาลภาษา เนตรภาษา สัมผัสภาษา อาการภาษา วัตถุภาษา และปริภาษาในการประกอบสร้างภาษาสื่ออารมณ์ขัน และกลวิธีการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขันของคณะหมอลำอีสาน มี 8 กลวิธี ได้แก่ การใช้ภาษาไม่เป็นทางการ การใช้ท่วงทำนองและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน การใช้ภาษาอุทาน มี 10 ลักษณะ เช่น แสดงความน้อยใจ แสดงความดีใจ และแสดงความเสียใจ การใช้ภาษาเฉพาะกิจมี 10 กลวิธี เช่น ภาษาผวน ภาษาหยาบ และภาษาแกล้งผิด การขยายความ มี 4 กลวิธี เช่น การไขความ การให้ตัวอย่าง และการให้เหตุผล การสมมุติมี 3 กลวิธี คือ การสมมุติคนเป็นยาสีฟันและสินค้าอื่น ๆ ทางสื่อมวลชน การตั้งฉายา ตำแหน่งหรือหน้าที่ และสมมุติฟ้าเป็นมุ้ง การอ้างอิง มี 3 กลวิธี คือ การอ้างอิงรายการทางสื่อมวลชน สัตว์มงคลในเทพนิยาย และอ้างอิงภูมิปัญญาไทย และการหักมุม เป็นการจบเรื่องแบบผู้ชมคาดไม่ถึง
- Itemการกลายพันธุ์แบคทีเรียด้วยเทคนิคพลาสมาพลังงานต่ำเพื่อผลิตอาหารหมักในโคนม(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) นิติพล พลสาThe aim of this work was to induce three bacterial species, including Bacillus amyloliquefaciens (cellulase-producing bacteria), Bacillus subtilis (xylanase-producing bacteria) and Enterococcus faecium (lactic acid bacteria), by using a low-energy plasma technique. The mutant bacteria were screened by hydrolysis capacity (H.C.) on carboxymethyl cellulose substrate. Then, the investigation of molecular changes, enzyme mechanisms, and fermentation processing from agricultural wastes, such as durian peel, corn cob, pineapple peel, and pineapple cork, was observed. The results showed that lactic acid bacteria, E. faecium, showed a mutant with higher lactic acid activity than control, approximately 12% under argon plasma treatment at 1.5/1.5 min on MRS broth. B. amyloliquefaciens, a cellulase-producing bacteria, was treated by low-energy plasma immersion ion implantation (PIII) to enhance their cellulase activity. According to a protein modeling analysis, replacing K370 with glutamic acid was proposed to form a hydrogen bond to Y436 a shorter distance (2.6 Å) than the control (5.4 Å), which may allow the structure to be more compact and stable, contributing to higher catalytic efficiency. Moreover, xylanase-producing bacteria, B. subtilis, were bombarded by an atmospheric pressure plasma jet (APPJ) and higher catalytic activity was screened. Sequence analysis revealed only a single amino acid substitution from threonine to serine at position 162 (T162S) to be in the glycosyl hydrolase family (GH11). To reduce feed costs, agricultural wastes were an optional choice as raw material to feed under fermentation processing, which required bacteria. The quality of fermented feed after being fermented by mutant bacteria showed that the mutant bacteria produced protein at a higher level than the control, increasing 20– 30%. The pH decreased by 10–20%, indicating the quality of fermentation associated with lactic acid content increased by 10–20%. After that, the dairy cattle were fed for a month. The amount of milk and milk composition (fat, protein, lactose, and ash) were not different from the control, although the feed cost was decreased by 40%.
- Itemการจัดการประสบการณ์ความเป็นไทยในโรงแรม: กรณีพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประเทศไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ภิญญาพัชญ์ มุณีแก้วการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการประสบการณ์ลูกค้าและความเป็นไทยในธุรกิจโรงแรม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้า 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเป็นไทยกับความพึงพอใจ 4) เพื่อวิเคราะห์การรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้า และ 5) เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการประสบการณ์ลูกค้าด้วยความเป็นไทยในโรงแรม กรณีพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประเทศไทย ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือนตุลาคม 2564 - เดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักมีการจัดการประสบการณ์ลูกค้าและความเป็นไทยใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านการจัดการ 3) ด้านเทคโนโลยี 4) ด้านอาหารไทย การวิจัยเชิงปริมาณมีขนาดตัวอย่าง 416 ตัวอย่าง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้าของข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย ไค-สแควร์ = 344.35, p = 0.06, df = 294, ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ (chi-square / df) = 1.17, CFI = 1.00, GFI = 0.95, AGFI = 0.91, RMSEA = 0.02 องค์ประกอบการรับรู้การจัดการประสบการณ์ลูกค้าด้วยความเป็นไทย ของนักท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันตก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วยองค์ประกอบประสบการณ์ (-0.42) จุดติดต่อการบริการในโรงแรม (0.36) โครงสร้างประสบการณ์ (0.33) ความเป็นไทย (0.31) และส่วนประสมทางการตลาด (0.06) จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้นำมาจัดทำเป็นแนวทางการจัดการประสบการณ์ลูกค้าด้วยความเป็นไทยในโรงแรม กรณีพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก ประเทศไทยโดยการประชุมสนทนากลุ่ม กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน ได้แนวทาง 3 แนวทาง คือ 1) การพัฒนาบุคลากรด้วยความเป็นไทย (Thainess Man Power) 2) การนำเสนอความเป็นไทยผ่านจุดสัมผัสบริการ (Thainess Service Touchpoint) และ 3) การนำเสนอความเป็นไทยผ่านอาหาร (Thainess Gastronomy) 4) การนำเสนอความเป็นไทยผ่านการดูแลสุขภาพ (Thainess Wellness)
- Itemการตลาดสินค้าท่องเที่ยวไทยผ่านสื่อออนไลน์ของลูกค้าในแต่ละช่วงอายุคน(2020) สุธินี ธีรานุตร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการตลาดสินค้าท่องเที่ยวไทยผ่านสื่อออนไลน์ของลูกค้าแต่ละช่วงอายุคน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ จำแนกตามลูกค้าแต่ละช่วงอายุคน 3) เพื่อปรับปรุงการตลาดออนไลน์ที่ใช้ในการขายสินค้าท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ จำแนกตามลูกค้าแต่ละช่วงอายุคน 4) เพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าท่องเที่ยวไทยผ่านสื่อออนไลน์ของลูกค้าแต่ละช่วงอายุคน การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการทำการตลาดสินค้าท่องเที่ยวไทยผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน 4 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มีอายุระหว่าง 17-38 ปี และ 39-58 ปี จำนวน 384 คน ใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ในการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Chi-square และ T-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวมีความตั้งใจใช้สื่อออนไลน์ทำการตลาดเพื่อขายสินค้าท่องเที่ยว โดยใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (9P's) ทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์และใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์สินค้าท่องเที่ยว 2) ปัจจัยช่วงอายุคนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ ในด้านระยะเวลา ด้านสาเหตุที่ซื้อ ด้านผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการประเมินทางเลือก สำหรับปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (9P's) ผ่านสื่อออนไลน์นักท่องเที่ยวแต่ละช่วงอายุคนมีความแตกต่างกันในด้านพนักงาน 3) การปรับปรุงการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ได้แก่ สร้างแบรนด์การท่องเที่ยวไทยให้น่าเชื่อถือ และเพิ่มทักษะของพนักงานด้านการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ 4) การพัฒนาการตลาดสินค้าท่องเที่ยวผ่านสื่อออนไลน์ ได้แก่ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเป้าหมายในเชิงลึก (Big Data Analytics) 2) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย (Engagement Marketing) 3) ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงเล่าเรื่อง (Content Marketing) 4) มีบริการให้นักท่องเที่ยวได้ติดต่อกับผู้ขายผ่านแชทออนไลน์ (C-Commerce) 5) เพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลาย (E-Commerce) และ 6) สื่อสารข้อมูลทางการตลาดให้เกิดการตัดสินใจ (Customer Journey)
- Itemการประกอบสร้างคำฉันท์ของกวีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) นวพร คำเมืองการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประกอบสร้างคำฉันท์ของกวีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวบทวรรณกรรมคำฉันท์ของกวี 4 กลุ่ม คือ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน จำนวน 20 เรื่อง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมด้านรูปแบบ เนื้อหา และวรรณศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า การประกอบคำสร้างคำฉันท์มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบคำประพันธ์ต่างจากเดิม ใช้ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยร้อยกรองที่ใช้มีทั้งฉันท์ กาพย์ โคลง กลบท และคาถา ด้านเนื้อหามีการแสดงแนวคิด ทางด้านศาสนา การดำเนินชีวิต และความรัก แหล่งที่มาของเนื้อหาคำฉันท์เกิดจากการสร้างสรรค์โครงเรื่องใหม่ของกวี การได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมสันสกฤต วรรณกรรมอังกฤษ วรรณกรรมชาดก วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมพุทธประวัติ คัมภีร์พระพุทธศาสนา และปกรณัม ทางด้านวรรณศิลป์ พบว่า กวีเลือกสรรคำอย่างมีอลังการ ใช้สื่อภาวะอารมณ์ของตัวละคร ทั้งสัทลังการ ศัพทลังการ อรรถลังการ และสัมพันธลังการ ทำให้คำฉันท์ในยุคสมัยนี้มีความรุ่งเรือง และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นยุคทองของวรรณกรรมคำฉันท์ นอกจากนี้ยังพบว่า อัตลักษณ์ของวรรณกรรมคำฉันท์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พัฒนารูปแบบคำประพันธ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่แตกต่างไปจากการแต่งวรรณคำฉันท์แบบเดิม คือ ใช้ร้อยแก้วมาแต่งร่วมกับฉันท์ ใช้คำประพันธ์ร้อยกรองนอกเหนือฉันท์และกาพย์ กล่าวคือใช้โคลง กลบท และคาถา มาแต่งร่วมด้วย และพบว่า กวีเลือกใช้ชนิดของฉันท์ไม่เป็นไปตามขนบนิยมตามตำราการแต่งฉันท์ ลักษณะสำคัญที่เป็นอัตลักษณ์เด่น คือ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา เพราะเป็นบทละครที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ใช้รูปแบบคำประพันธ์แบบใหม่ซึ่งยังไม่ปรากฏมาก่อนในแวดวงวรรณกรรมไทย
- Itemการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ชุมพร ทูโคกกรวดวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน จำนวน 520 บท โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาในระดับสัมพันธสาร และการประกอบสร้างวรรณศิลป์ ผลการวิจัยโดยสรุปมี 2 ประการ 1) การประกอบสร้างรูปแบบวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ด้านรูปแบบคำประพันธ์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ส่วนใหญ่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว มีจำนวนบทและวรรคที่ไม่แน่นอน พบจังหวะใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบจังหวะตายตัว และรูปแบบจังหวะไม่ตายตัว สัมผัส พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสในและสัมผัสนอก สัมผัสใน พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ สัมผัสนอก พบ 3 ลักษณะด้านโครงสร้างภาษา พบการประกอบสร้างเนื้อหา 4 ลักษณะ คือ การเริ่มต้น พบว่า มีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว พบการใช้คำเริ่มต้น 5 ลักษณะ การลงท้าย พบ 4 ลักษณะ การแสดงหัวเรื่อง พบ 5 ลักษณะ การเปลี่ยนหัวเรื่อง พบ 4 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาเก่า พบ 3 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาใหม่ พบ 6 ลักษณะ การเชื่อมโยงความ พบ 4 ลักษณะ คือ การอ้างถึง การละ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสารและการใช้คำศัพท์ การอ้างถึง พบการใช้ 4 ลักษณะ การละ พบว่า ในวจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้การละ เพื่อช่วยให้เนื้อความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสาร พบ 5 ลักษณะ และการใช้คำศัพท์ พบว่า วจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงความ 2) การประกอบสร้างวรรณศิลป์ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน พบกลวิธีการใช้ภาษา 11 ลักษณะ คือ การใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นอีสาน, การใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต, การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การใช้คำบุรุษสรรพนาม, การใช้คำวิเศษณ์, การใช้คำซ้อน, การใช้คำซ้ำ, การซ้ำคำ, การใช้คำย่อ, การใช้คำไวพจน์, และการใช้คำศัพท์แสลง ในด้านกลวิธีการใช้เสียงสัมผัส พบว่า มีการใช้ 3 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระ เสียงสัมผัสพยัญชนะ และเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ เสียงสัมผัสสระ พบการใช้ 2 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระระหว่างวรรค และเสียงสัมผัสสระในวรรค โดยเสียงสัมผัสสระในวรรค พบการใช้ 6 รูปแบบ เสียงสัมผัสพยัญชนะ พบการใช้ 7 รูปแบบ ส่วนเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ พบเพียง 1 สำนวน เท่านั้น ส่วนกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานมีการใช้โวหารภาพพจน์ 8 ประเภท คือ อุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร นามนัยบุคลาธิษฐาน อธิพจน์ อุปมานิทัศน์โวหาร ลัทพจน์โวหาร และปฏิพากย์โวหาร ผลการศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานในครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงผลการวิเคราะห์ภาษาและลักษณะภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดเผยอุดมการณ์ที่ฝังแฝงอยู่ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานด้วย
- Itemการประกอบสร้างอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) บุญชู สุดโสม, พระครูปริยัติกิตติวิมลวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ในด้านลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบ และสารัตถะอุปลักษณ์มโนทัศน์ โดยใช้วรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จำนวน 51 เรื่อง อันมีข้อความอุปลักษณ์ จำนวน 400 ข้อความ แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ แนวคิดความเปรียบ และแนวคิดพุทธธรรม ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบ พบว่า มีกลวิธีการประกอบสร้างความเปรียบ 2 ระดับ คือ โลกิยะธรรม และระดับโลกุตตระธรรม ในความเปรียบโลกิยะธรรม จำแนกได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความเปรียบประเภทสิ่งมีชีวิต คือ มนุษย์ สัตว์ และเทวดา กลุ่มความเปรียบประเภทธรรมชาติ คือ พืช ปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำ ไฟ และแผ่นดิน กลุ่มความเปรียบประเภทอาคารสถานที่ กลุ่มความเปรียบสถานที่ เกี่ยวกับน้ำ อาคาร ถนน และอ่างเก็บน้ำ กลุ่มความเปรียบประเภทเครื่องใช้ เกี่ยวกับภาชนะ และทรัพย์สิน และกลุ่มความเปรียบประเภทธรรมะ ลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบในระดับโลกิยะใช้คำเชื่อมแสดงการเปรียบเทียบมากที่สุด คือ "เหมือน" รองลงมา คือ "เปรียบเหมือน" และ "เหมือนกับ" ความเปรียบโลกุตตระธรรมพบ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสิ่งมีชีวิต คือ คน สัตว์ รวมถึงเทวดา พรหม ยักษ์ และอมนุษย์ และกลุ่มธรรมชาติ คือ น้ำ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีลักษณะการประกอบสร้างความเปรียบโดยใช้คำเชื่อมแสดงการเปรียบเทียบมากที่สุด คือ "เหมือน" รองลงมา คือ "เปรียบเหมือน" และ "เหมือนอย่าง" สารัตถะอุปลักษณ์มนทัศน์ พบว่า มี 2 ลักษณะ ได้แก่ สรัตถะโลยะ มีแก่นเนื้อหาสาระ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารัตถะครอบครัวเน้นว่าสถาบันครอบครัว กลุ่มสารัตถะการศึกษา กลุ่มสารัตถะการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มสารัตถะการปฏิบัติธรรม กลุ่มสารัตถะการบริหารจิต และกลุ่มสารัตถะพระพุทธศาสนา ส่วนสรัตถะโลกุตตระ มี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสารัตถะคำนิยามความหมายและผู้บอกทางปฏิบัติ กลุ่มสารัตถะลักษณะการบรรลุธรรม กลุ่มสารัตถะลักษณะของผู้บรรลุธรรม กลุ่มสารัตถะของธรรมที่เกิดขึ้นหลังจากตรัสรู้แล้ว และกลุ่มสารัตถะของคุณวิเศษที่ได้จากการบรรลุธรรม อุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เหล่านี้ เป็นประโยชน์ในการนำไปปรับประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านการดำเนินชีวิต ด้านปัญญา ด้านการเมืองการปกครอง และด้านการศึกษา ตามลำดับสืบไป
- Itemการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการไฟฟ้าบนเครือข่ายสมาร์ตกริด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) การุณย์ ชัยวณิชย์, พันโทการวิจัยนี้มีวัถุประสงค์ เพื่อประเมินการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก เศรษฐศาสตร์ ออกแบบการจำลองสถานการณ์ ประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยการจัดการไฟฟ้าบนเครือข่ายสมาร์ตกริดภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีขนาด 0.5 MW โดยจะทำการประเมินตลอดอายุการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์ตลอดอายุ 20 ปี (ปี 2559 - 2578) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังการติดตั้ง 0.5 MW มีค่าเท่ากับ 912,500 kWh/year ต่อผลิตไฟฟ้า 1 kWh มีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 0.2281 kgCO2eq ด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า NPV ที่อัตราดอกเบี้ย 9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เท่ากับ 1,253,130.17 บาท แสดงให้เห็นว่าคุ้มค่าที่จะลงทุน BCR เท่ากับ 1.03 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 โครงการนี้คุ้มค่าที่จะลงทุน และระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 8.08 ปี พลังงานสะสม เพื่อผลิตไฟฟ้า 1 kWh (3.6 MJ) เท่ากับ 2.251 MJ โดยเซลล์แสงอาทิตย์มีพลังงาน สะสมมากที่สุด 2.234 MJ หรือคิดเป็นสัดส่วน 99.24 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าพลังงานสุทธิเท่ากับ 1.349 ซึ่งบ่งบอกว่าระบบ สมาร์ตกริดมีประสิทธิภาพทางพลังงานและมีความคุ้มค่าทางพลังงานในระดับดี ดังนั้น การบำรุงรักษาระบบเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้นจาก 20 ปี เป็น 25 ปี สามารถลดพลังงานสะสมลงได้ 14.17 เปอร์เซ็นต์ จากการจำลองสถานการณ์ที่ 1 พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้การจัดการไฟฟ้าโดยการติดตั้งระบบควบคุมระบบปรับอากาศ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 1,027.251 tonCO2/year คิดเป็นร้อยละ 12.18 ต่อปี ของการปล่อยก๊าซเรือนทั้งหมดในระบบปรับอากาศของมหาวิทยาลัยพะเยา ทางด้านเศรษฐศาสตร์จะมีระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 0.09 ปี จากการจำลองสถานการณ์ที่ 2 โดยการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 2 MW สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 2,544.61 tonCO2/year คิดเป็นร้อยละ 22.61 ต่อปีของการปล่อยก๊าซเรือนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยพะเยา ด้านเศรษฐศาสตร์จะมีระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 8.09 ปี แบบมหาวิทยาลัยลงทุน และถ้าแบบบริษัทเอกชนลงทุนสามารถประหยัดมูลค่าไฟฟ้าที่ลดลงเทียบเท่าปัจจุบันเท่ากับ 18,547,708.65 บาทต่อปี
- Itemการพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) จิตติมา จันทกาศการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) สร้างชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 880 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จาก 16 มหาวิทยาลัยเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ขั้นตอนที่ 2 สร้างชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยเลือกองค์ประกอบที่มีความสำคัญ มากที่สุด คือ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ที่มีค่าไอเกนอยู่ในระดับสูงสุด เท่ากับ 16.989 แล้วนำมาพัฒนาเป็นชุดฝึกอบรม และประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของชุดฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน โดยใช้การทดสอบไคว์สแควร์ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรม โดยนำชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก จำนวน 25 คน ทำการประเมินคุณลักษณะนักศึกษาก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรม และประเมินความพึงพอใจหลังการเข้ารับการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกันและกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความรู้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ นวัตกรรมทางความคิด การบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาวะผู้นำการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และการเป็นผู้ประกอบการ 2) ชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ความเป็นมา แนวคิด และหลักการของชุดฝึกอบรม วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม ระยะเวลา สื่อ และการวัดและประเมินผล และหน่วยการเรียนรู้มี 2 หน่วย ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้กระบวนการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักศึกษา 4 ขั้นตอน และผลการประเมินชุดฝึกอบรม พบว่า มีความเหมาะสมและความสอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า นักศึกษามีคุณลักษณะความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemการพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ชัยศาสตร์ คเชนทร์สุวรรณการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 2) สร้างชุดกิจกรรมการพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 988 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยัน ขั้นตอนที่ 2 สร้างชุดกิจกรรมการพัฒนาภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยเลือกองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มีค่าไอเกนอยู่ในระดับสูงสุด เท่ากับ 18.257 แล้วนำมาพัฒนาเป็นชุดกิจกรรม และประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรม โดยนำชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 30 คน ทำการวัดภาวะผู้นำของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีของกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อิสระกัน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมหลังการใช้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว เทียบกับเกณฑ์ (μ = 3.50) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความเป็นพลเมือง ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การบริหารจัดการ การมีวิจารณญาณ การควบคุมตนเอง และการรู้จักตนเอง 2) ชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ความสำคัญ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา วิธีดำเนินการ และการวัด และประเมินผล ชุดกิจกรรมประกอบด้วย 10 กิจกรรม ดังนี้ การสร้างมิตรภาพ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การปรับตัว การใช้เหตุผลในการตัดสินใจ การมีปฏิภาณไหวพริบ การจัดการความขัดแย้ง การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา การกล้าเผชิญปัญหา การยอมรับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม และการยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง โดยชุดกิจกรรมได้รับการประเมินว่ามีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3) นักเรียนมีภาวะผู้นำหลังใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
- Itemการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานของระบบปรับอากาศเพื่อลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดในอาคาร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) นัทธิ์ธนนท์ พงษ์พานิชงานวิจัยนี้จะเป็นการศึกษา เพื่อพัฒนาต้นแบบแนวทางการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศเพื่อลดค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดในอาคาร (PD) โดยใช้จากการจัดการร่วมกันระหว่างการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (PV) และรูปแบบการจัดการด้านการใช้พลังงงาน (DSM) ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม การศึกษาเริ่มจากการประเมินศักยภาพของ PV โดยใช้ข้อมูลจาก Smart Grid UP ของอาคาร B3 ติดตั้งระบบ PV ขนาด 60 kWp และรูปแบบความต้องการพลังงานไฟฟ้าจากระบบปรับอากาศอาคารที่มีขนาดรวม 1,500,265 BTUH ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ความต้องการพลังงานไฟฟ้ากับการผลิตไฟฟ้ามีช่วงเวลาไม่ตรงกันทำให้มีพลังงานส่วนเกิน (Over Energy) มากกว่าความต้องการเฉลี่ย 66.18 kWh/วัน หรือคิดเป็น 21.11% ของความสามารถในการผลิตไฟฟ้า จากนั้นจึงพัฒนาแบบจำลอง DSM ร่วมกับ PV เพื่อติดตั้งบนอาคาร 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบ 1) การใช้ PV โดยตรงเพื่อลด PD ของอาคาร รูปแบบ 2) ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System, BESS) ที่เหมาะสมร่วมกับ PV และรูปแบบ 3) การออกแบบระบบควบคุมการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าด้วยการสำรองพลังงานอยู่ในรูปแบบน้ำเย็น (Chilled Water Thermal Storage, CWTS) ร่วมกับ PV จากการวิเคราะห์ อาคารที่ไม่มีการจัดการพลังงานจะเกิด PD จะเท่ากับ 120.54 kW เมื่อเปรียบเทียบกับในรูปแบบ 1) ระดับ PD ของอาคารลดลงเหลือ 75.36% รูปแบบ 2 สามารถลด PD เหลือ 54.39% จากจำลองขนาดของ BESS ติดตั้ง 45 kWh และสุดท้ายรูปแบบ 3) PD ของอาคารลดลงเหลือ 55.70% จากการติดตั้งระบบทำน้ำเย็นขนาด 175,400 BTUH เมื่อเปรียบเทียบความน่าสนใจในการลงทุนใน พบว่า ในรูปแบบ 3) มีอัตราส่วนการลงทุนที่ต่ำที่สุดในการลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ ที่ 28,881.86 บาท/kW น้อยกว่าโดยที่รูปแบบ 1) และ 2) มีอัตราส่วนการลงทุนอยู่ที่ 111,073.71 บาท/kW และ 54,878.05 บาท/kW ตามลำดับ แต่เมื่อเมื่อพิจารณาผลตอบแทนด้วยตัวชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนโดยเฉพาะในรูปแบบ 2 เนื่องจากต้นทุนของระบบ BESS ที่เลือกเป็นแบบแบตเตอรี่ลิเธียมไออน (Lithium-ion battery) มีราคาสูงมากในปัจจุบัน
- Itemการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) วราภรณ์ ศรีจันทร์พาลการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนกโดยมีวิธีการดำเนินวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและแนวทางของการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินสภาพการบริหารงานวิชาการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนแนวทางการบริหารงานวิชาการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 และตรวจสอบรูปแบบโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารงานวิชาการ จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บริบทของการบริหารงานวิชาการ หลักการ วัตถุประสงค์ และปัจจัยสู่ความสำเร็จของรูปแบบ 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการบริหารงานวิชาการ 4) ผลผลิต 5) ผลลัพธ์ และ 6) ข้อมูลป้อนกลับ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ โดยรวมพบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
- Itemการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) วิเนส จันทะวงษ์ศรีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์ 48 คน และนักศึกษา 307 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร 6 คน อาจารย์ 4 คน และนักศึกษา 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาญี่ปุ่นและ/หรือผู้มีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอน จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นนำร่างรูปแบบฯ ไปสร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจากความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 82 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และสอบถามความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา จำนวน 119 คน ในภาคการศึกษาที่ 2/2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์มีความคิดเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาของการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าสภาพการบริหารจัดการการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านปัจจัยเกื้อหนุนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาของการบริหารจัดการการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านนักศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุน ผู้บริหารและอาจารย์เห็นว่ารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01.และ 3) เมื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ พบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) ทนันเดช ยงค์กมลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ วิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ระยะที่ 3 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ กลุ่มประชากร คือ คณะผู้บริหารและครูของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ 40 แห่ง จำนวน 680 คน ประจำปีการศึกษา 2560 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.897 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาของการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีสภาพการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ งานวิชาการ และงานทั่วไป โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ งานบุคคล และงานงบประมาณ ส่วนปัญหาการบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานทั่วไป และงานบุคคล 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ มีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนออกเป็น 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคกลาง ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันออก ศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตภาคตะวันตก และศูนย์การบริหารโรงเรียนเขตปกครองพิเศษ โดยมีการสร้างองค์ประกอบเครือข่าย 6 องค์ประกอบ ในการบริหารโรงเรียนทั้ง 40 โรงเรียนทั่วประเทศ ได้แก่ 1) การมีมุมมองร่วมกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การประสานงานเครือข่าย 4) การให้คำปรึกษาเครือข่าย 5) การสร้างสรรค์ผลงาน และ 6) การกำกับดูแลและติดตาม และ 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ ทั้งด้านความเป็นประโยชน์และด้านความเหมาะสม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเป็นประโยชน์ และ 2) ด้านความเหมาะสม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นประเด็นย่อย พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเกือบทุกข้อ ยกเว้นประเด็นเกี่ยวกับมีความเหมาะสมที่เกี่ยวข้อง รูปแบบนี้ได้ระบุกระบวนการ/ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายและองค์ประกอบของเครือข่ายได้อย่างชัดเจน และกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่ายตามรูปแบบมีความชัดเจน เหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อยู่ในระดับมาก