กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

No Thumbnail Available
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพของความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่ชุมชนตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษากลยุทธ์และใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผสมผสานไปกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราห์ TOWS และการประชาคม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนชุมชนตำบลนางพญา นักท่องเที่ยว หน่วยงาน และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและโปรแกรมสำเร็จรูป โดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีศักยภาพพร้อมที่เอื้อต่อการดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว ให้เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างครบองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ ได้แก่ ด้านพื้นที่ ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดการด้านสภาพแวดล้อม ด้านความมีชื่อเสียง ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ หลักการสำคัญที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อันดับที่หนึ่ง คือ ต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจังต่อเนื่อง อันดับที่สอง จะต้องระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวและการผลิตทางเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างรู้คุณค่าโดยการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ทรัพยากร อันดับที่สาม คือ การนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนมาสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนตำบลนางพญาอย่างสมดุล ด้วยการใช้การท่องเที่ยวเพื่อสร้างเศรษฐกิจจากความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอันดับสุดท้าย คือ การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อให้การดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้มีความยั่งยืนต่อไป
Description
The objectives of this study were 1) to study the community context and tourism condition of Nangphaya Sub-district, Thapla District, Uttaradit Province, 2) to study the potentiality of its biodiversity to define the strategies for tourism development in the community, and 3) to introduce the strategies of tourism development based on the biodiversity in the area. The study was a strategic research using both qualitative and quantitative research methodology. The tools used were interviews, questionnaires, small group discussions, SWOT and TOWS analysis, and community forums. The population and samples of the study were the representatives of Nangphaya community, tourists, related organizations and businesses. The content analysis was applied using a statistical application for the percentage, mean, and standard deviation. The study found that the tourist attractions in Nangphaya Sub-district had the potentiality which was available to attract tourists in all eight aspects; which were the area, accessibility, facilities, management, environment, popularity, and tourism activities. The key factors used to define the strategies for the development of community-based tourism based on the biodiversity in Nangphaya were firstly to give the importance to the conservation and restoration of natural resources seriously and constantly. Second, to be careful to make sure that the exploitation of natural resources, the living of the people in the community, the tourist activities, and the economic production are made with appreciation and with the participation of people who gain advantages and those who are affected by the use of the resources. Third, the exploitation of the biodiversity resources needs to be balanced by using the tourism to develop the economy from the biodiversity in the community which can lead to the development with the combination of the economic capital, social capital, and natural resource capital. Finally, the management of the exploitation of local natural resources to make the community-based tourism based on the biodiversity in Nangphaya sustainable.
Keywords
กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน, ความหลากหลายทางชีวภาพ, Strategies for the Community-based Tourism, Biodiversity
Citation
มณฑณ ศรีสุข. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).