การประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน

Loading...
Thumbnail Image
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน จำนวน 520 บท โดยใช้แนวคิดการประกอบสร้างภาษาในระดับสัมพันธสาร และการประกอบสร้างวรรณศิลป์ ผลการวิจัยโดยสรุปมี 2 ประการ 1) การประกอบสร้างรูปแบบวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ด้านรูปแบบคำประพันธ์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน ส่วนใหญ่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว มีจำนวนบทและวรรคที่ไม่แน่นอน พบจังหวะใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบจังหวะตายตัว และรูปแบบจังหวะไม่ตายตัว สัมผัส พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสในและสัมผัสนอก สัมผัสใน พบ 2 ลักษณะ คือ สัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ สัมผัสนอก พบ 3 ลักษณะด้านโครงสร้างภาษา พบการประกอบสร้างเนื้อหา 4 ลักษณะ คือ การเริ่มต้น พบว่า มีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว พบการใช้คำเริ่มต้น 5 ลักษณะ การลงท้าย พบ 4 ลักษณะ การแสดงหัวเรื่อง พบ 5 ลักษณะ การเปลี่ยนหัวเรื่อง พบ 4 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาเก่า พบ 3 ลักษณะ การแสดงเนื้อหาใหม่ พบ 6 ลักษณะ การเชื่อมโยงความ พบ 4 ลักษณะ คือ การอ้างถึง การละ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสารและการใช้คำศัพท์ การอ้างถึง พบการใช้ 4 ลักษณะ การละ พบว่า ในวจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้การละ เพื่อช่วยให้เนื้อความกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ การใช้คำเชื่อมสัมพันธสาร พบ 5 ลักษณะ และการใช้คำศัพท์ พบว่า วจนะมงคลพื้นถิ่นอีสานมีการใช้คำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงความ 2) การประกอบสร้างวรรณศิลป์ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสาน พบกลวิธีการใช้ภาษา 11 ลักษณะ คือ การใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นอีสาน, การใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต, การใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การใช้คำบุรุษสรรพนาม, การใช้คำวิเศษณ์, การใช้คำซ้อน, การใช้คำซ้ำ, การซ้ำคำ, การใช้คำย่อ, การใช้คำไวพจน์, และการใช้คำศัพท์แสลง ในด้านกลวิธีการใช้เสียงสัมผัส พบว่า มีการใช้ 3 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระ เสียงสัมผัสพยัญชนะ และเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ เสียงสัมผัสสระ พบการใช้ 2 ลักษณะ คือ เสียงสัมผัสสระระหว่างวรรค และเสียงสัมผัสสระในวรรค โดยเสียงสัมผัสสระในวรรค พบการใช้ 6 รูปแบบ เสียงสัมผัสพยัญชนะ พบการใช้ 7 รูปแบบ ส่วนเสียงสัมผัสวรรณยุกต์ พบเพียง 1 สำนวน เท่านั้น ส่วนกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ พบว่า วจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานมีการใช้โวหารภาพพจน์ 8 ประเภท คือ อุปมาโวหาร อุปลักษณ์โวหาร นามนัยบุคลาธิษฐาน อธิพจน์ อุปมานิทัศน์โวหาร ลัทพจน์โวหาร และปฏิพากย์โวหาร ผลการศึกษาการประกอบสร้างวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานในครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงผลการวิเคราะห์ภาษาและลักษณะภาษาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดเผยอุดมการณ์ที่ฝังแฝงอยู่ในวจนะมงคลในพื้นถิ่นอีสานด้วย
Description
This thesis aimed to study a construction of sacred discourse in the Northeastern region from the 520 texts employing concept of construction of language at discourse level and construction of literary art. The result of research was summarized into two types as follows: A construction of sacred discourse in the Northeastern region in form of composition was found that the sacred discourse in the Northeast mostly was composed of a long prose with number of uncertain stanza and line, in which rhythm was found in two types: definite rhythm and indefinite rhythm. Rhyme was found in two types: internal and external rhyme. The internal rhyme was found in two types: vowel and consonant rhyme. The external rhyme was found in three types. The result of study of construction of sacred discourse in the Northeastern region was not merely an analysis of language and character of language, but also discloser of ideology implied in the sacred discourse of the Northeastern region. Reference was found in four types. The omission in the sacred discourse of the Northeastern region was found in use to make the text concise and not wordy. The usesing discourse marker was found in five types and the usesing word was found that the auspicious word in the Northeastern region consisted of word with similar meaning to connect the discourse. The construction of literary art in the sacred discourse in the Northeastern region was found in 11 language strategies: usesing Isan dialect, usesing Pali and Sanskrit word, usesing English word, usesing pronounce, usesing adjective, usesing doublet, usesing duplicate word, repetition of word, usesing abbreviation, usesing synonym, usesing slang. The rhyme strategies were found in three types: vowel rhyme, consonant rhyme, and tonal rhyme. The vowel rhyme was found in two types: vowal rhyme between line and within line, in which a vowel rhyme in the line was found in six types, and a consonant rhyme was found in seven types, whereas, a tonal rhyme was found in one expression only. The strategies of figure of speech was found that the sacred discourse in the Northeastern region consisted of 8 types of figure of speech: simile, metaphor, metonomy, personification, hyperbole, allegory, onomatopoeia, and paradox. In the structure of language, four characteristics of construction were found: initiation with uncertain form and five characteristics form of initiation were found: ending in four characteristics, displaying of heading in five characteristics, change of heading in four characteristics, displaying of new text in six characteristics, connection of context in four characteristics: reference, omission, usesing discourse maker, and word.
Keywords
การประกอบสร้าง, วจนะมงคล, Discourse creation, The sacred
Citation