ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Recent Submissions
Now showing 1 - 5 of 131
- Itemดีมานต์เรสปอนส์และอัลกอริทึมสำหรับระบบการจัดการพลังงานในไอแลนด์โหมดจากพลังงานทางเลือก(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) เสาวลักษณ์ ยอดวิญญูวงศ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและทดสอบอัลกอริทึมของดีมานต์เรสปอนส์สำหรับบริหารจัดการพลังงานในไอแลนด์โหมดจากพลังงานทางเลือก วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์ของพลังงานทางเลือกในไอแลนด์โหมด โดยนำระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) โน้มน้าวผู้ใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้งานของโหลดสูงสุด โดยทำการออกแบบอัลกอริทึมพร้อมพัฒนาแบบจำลอง และนำระบบสั่งการแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated Demand Response System) มาใช้ในการออกแบบวงจรควบคุม ทั้งนี้มีการทดสอบระบบการบริหารจัดการพลังงานในไอแลนด์โหมดจากพลังงานทางเลือกด้วยแบบจำลอง ทั้งหมด 5 โหมดหลัก ประกอบด้วย โหมดที่ 1 พลังงานแสงอาทิตย์ โหมดที่ 2 พลังงานลม โหมดที่ 3 แบตเตอรี่สำรอง โหมดที่ 4 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล และโหมดที่ 5 พลังงานไฮบริด เพื่อบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในไอแลนด์โหมดจากพลังงานทางเลือกให้เพียงพอต่อความต้องการด้านโหลดครบ 7 ชั่วโมง โดยไม่พึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล การทดลองชี้ให้เห็นว่า เมื่อทำการเพิ่มพลังงานจากโซลาร์เซลล์ให้กับทุกโหมดหลัก โหมดที่ 1 ใช้ต้นทุนในการติดตั้งน้อยที่สุด ตามด้วยโหมดที่ 3 และโหมดที่ 2 มีค่าเท่ากับ 86,135 บาท, 144,557 บาท, 190,674 บาท ตามลำดับ โดยมีกำลังติดตั้ง 1.35, 2.25, 3.15 กิโลวัตต์ ตามลำดับ มีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 15.75, 15.86, 14.95 ปีตามลำดับ และเมื่อเพิ่มพลังงานลมให้กับทุกโหมดหลัก ในโหมดที่ 1 ใช้ต้นทุนในการติดตั้งน้อยที่สุด ตามด้วยโหมดที่ 3 และโหมดที่ 2 มีค่าเท่ากับ 148,195 บาท, 251,985 บาท, 338,120 บาท ตามลำดับ มีผลประหยัดพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 945, 1,575, 2,205 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ตามลำดับ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 530.15, 883.58, 1,237.01 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีจากพลังงานไฟฟ้า และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 2,062.50, 5,156.25, 7,218.75 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีจากพลังงานเชื้อเพลิงดีเซล
- Itemกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าสำหรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ภูวนารถ ศรีทองการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์และศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขีดความสามารถในการแข่งขันของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในภาคเหนือตอนบน และเสนอกลยุทธ์การสร้างได้เปรียบทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 โดยมีการศึกษาข้อมูลองค์ประกอบการของจัดการท่องเที่ยวเดินป่า การประเมินศักยภาพของการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า โดยการลงพื้นที่สำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ตัวแทนชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยวเดินป่า จำนวน 400 คนและมีประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวเพื่อให้ได้กลยุทธ์ที่เหมาะสม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเดินป่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาเป็นแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์และศักยภาพทางการแข่งขันในการจัดการท่องเที่ยวเดินป่า พบว่า อยู่ในระดับต่ำ 4 ด้าน ปานกลาง 2 ด้าน โดยมีอำนาจต่อรองจากนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์จากแรงผลักดัน 5 ประการมากที่สุด ในการจัดทำกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ประกอบด้วย กลยุทธ์ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์, กลยุทธ์ความแตกต่างด้านบริการ, กลยุทธ์ความแตกต่างด้านบุคลากร และกลยุทธ์ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ โดยมีพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นแรงดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยว การบังคับใช้กฎระเบียบกับชุมชนรอบพื้นที่ ภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องร่วมกันประสานงาน และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนให้กับทั้งชุมชน ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยวในเรื่องกิจกรรมเดินป่า การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่เน้นการกระจายผลประโยชน์กับชุมชน การสร้างบุคลากรมัคคุเทศก์เดินป่าที่มีความเชี่ยวชาญทั้งการบริการ และความปลอดภัยการบูรณาการกับหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการอบรมมัคคุเทศก์และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาในการกำหนดสมรรถนะ และมาตรฐานการให้บริการอย่างมืออาชีพ รวมทั้งแผนการส่งเสริมการตลาดของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องมุ่งเน้นเจาะลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่นิยมธรรมชาติ และสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้การท่องเที่ยวแบบเดินป่าในภาคเหนือตอนบน 2 อย่างยั่งยืน
- Itemการประมาณสถานะของระบบไฟฟ้ากำลังที่มีการพิจารณาสถานะความร้อนของสายส่งและหม้อแปลงกำลัง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) ดำรงศักดิ์ วงศ์ตาThe problem of the voltage stability assessment considering the thermal limit of the transmission line has been addressed in this dissertation. Two indicators, namely line voltage stability and line ampacity indices, to determine the voltage stability states and line security of power systems under various operating conditions have been proposed. Both indices rely on the measured values that are already obtained from conventional measurements used in power systems. The identification of weak buses and critical lines based on the proposed indices is possible using only voltage magnitude and real power measurements. Numerical experimental results on two power networks have been tested under increasing system loading and line outage conditions indicate that by considering both line voltage stability and line ampacity indices, power systems could mitigate the risks of voltage collapse and excessive current in transmission lines. The influence of the thermal states of the transmission line and the power transformer on state estimation of electric power systems has also been studied. The three - phase state estimation algorithm based on the weighted least square method has also been proposed. The node admittance matrix model of the three - phase transformer and the weather - dependent thermal model of the overhead transmission line are integrated into the state estimation problem. It is then formulated as a nonlinear optimization with equality and inequality constraints. The estimated state variables consist of the bus voltage phasors, the transformer parameters, the transmission line conductor temperatures, and the weather states. Then, the top - oil and the hot - spot winding temperatures of the transformers can be evaluated using the estimates states. The IEEE 30 - bus and 118 - bus systems have been modified as three - phase test systems and the numerical results indicate that the proposed state estimation can be used to estimate the thermal states of the transmission line and the power transformers, and the accuracy of the estimated states is also improved.
- Itemรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) จารุวรรณ โปษยานนท์การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินศักยภาพทรัพยากรวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา และเสนอรูปแบบการจัดการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา โดยมีการศึกษาข้อมูลศักยภาพทรัพยากรวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา โดยการลงพื้นที่สำรวจและการสัมภาษณ์ ตัวแทนหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา และผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพะเยา จำนวน 400 คน และจัดเวทีสนทนากลุ่มย่อยผู้ที่หน้าที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การศึกษาศักยภาพของแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นเมืองรองและมีความสำคัญในระดับภูมิภาค ที่มีศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยวสูงที่สุด มีความแตกต่างจากงานวิจัยที่ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมในระดับชาติ จะมีด้านศักยภาพในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวสูงที่สุด ด้านความคาดหวังต่อการจัดการแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังด้านความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด ทั้งด้านความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและความปลอดภัยในทรัพย์สิน ด้านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่ต้องการได้รับจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ พบว่า นักท่องเที่ยวต้องการได้รับประสบการณ์ด้านอารมณ์ รู้สึกมีความสุข ความสนุก เพลิดเพลินท่องเที่ยวในแหล่งโบราณคดีมากที่สุด และพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมการจัดการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มน้ำอิงในจังหวัดพะเยา ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2566-2571
- Itemการพัฒนาวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคมในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) อัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ผลการศึกษาพัฒนาการและพลวัต CBT-SE ในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 : ช่วงริเริ่มแนวคิดกิจการเพื่อสังคม (SE) ในประเทศไทย (พ.ศ. 2512 – 2534) ระยะที่ 2 : ช่วงเกิดกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืน และเกิดรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) (พ.ศ. 2535 – 2544) ระยะที่ 3 : ช่วงพัฒนาของการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) และช่วงริเริ่มวางรากฐานกิจการเพื่อสังคม (SE) ในประเทศไทย (พ.ศ. 2545 – 2554) และระยะที่ 4 : ช่วงยกระดับวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคม (CBT-SE) อย่างยั่งยืน (พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน) ผลการศึกษา องค์ประกอบและตัวชี้วัดของ CBT-SE ในประเทศไทย พบว่า มีองค์ประกอบ 7 ด้าน มีตัวชี้วัดย่อย 34 ตัวชี้วัด และความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบ และตัวชี้วัดในภาพรวม พบว่า CBT ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.31, S.D. = 0.85) ด้านที่มากที่สุด คือ การบริหารของผู้นำ (Style) ส่วนนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญภาพรวม ระดับมากที่สุด (x̅ = 4.29, S.D. = 0.62) โดยด้านที่มากที่สุด คือ คุณค่าร่วมในองค์กร (Share Valued) สำหรับการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย พบว่า ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อครั้งของนักท่องเที่ยว (X) มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการ CBT-SE (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 4.22 ตามสมการ Y = 4.22 + (2.234x10-5) X ผลการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนา CBT-SE ในประเทศไทย สรุปได้ว่าการพัฒนาควรแบ่งตามกลุ่มความพร้อมของ CBT โดยมีแนวทางการพัฒนา 3 มิติ คือ 1) บ่มเพาะหนุนเสริม 2) ยกระดับสร้างมาตรฐาน 3) สื่อสารชุมชนเพื่อสังคม โดยมีมาตรการแตกต่างไปตามระดับองค์ประกอบและตัวชี้วัดของกลุ่ม CBT พร้อมทั้งเสนอให้ภาครัฐประกาศนโยบายขับเคลื่อนเชิงรุก “เที่ยวไทยทั้งที เป็นอยู่ดีเพื่อสังคม” ด้วยยุทธศาสตร์ 3 ส. (สร้าง-เสริม-สาน) คือ 1) สร้างการรับรู้ : เชื่อมโยงกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่การท่องเที่ยวเพื่อสังคม 2) เสริมชุมชน : ให้เป็น “ชุมชนท่องเที่ยวเพื่อสังคม” ระดับ 3 ดาว 4 ดาว และ 5 ดาว และ 3) สานพลังยั่งยืน : ประสานความร่วมมือเครือข่าย CBT-SE และ SE-CBT เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน