ยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

No Thumbnail Available
Date
2019
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อหาแนวทางความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mixed methodology research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 400 คน และทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และใช้การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า โดยผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ 1) พัฒนาด้านเศรษฐกิจ 2) พัฒนาด้านสังคม 3) พัฒนาด้านวัฒนธรรม และ 4) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถสร้างเป็นยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้อำเภอหัวหินดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบริการทางการท่องเที่ยว 3) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน และ 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมาย
Description
The objectives of this study were 1) to find the guidelines for sustainable tourism development in order to maintain the tourist destination of Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province; 2) to find the guidelines for creating the cooperation from various sectors in order to develop sustainable tourism and maintain the tourist destination of Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province; and 3) to create the integrated strategies for sustainable tourism development in order to maintain the tourist destination of Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province. This study was a mixed methodology research consisting of both quantitative and qualitative methods. For quantitative method, the data was collected from 400 Thai and foreign tourists. For qualitative method, in-depth interviews were conducted for collecting data from the key informants including government agencies, private sector, relevant government authorities and academics and content analysis and data triangulation were also performed. The results showed that the guidelines for sustainable tourism development in order to maintain Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province as the tourist destination consisted of 1) economic development, 2) social development, 3) cultural development, and 4) environmental development. The integrated strategies for sustainable tourism development to maintain Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan Province as the tourist destination were successfully created which consisted of 4 strategies: 1) promoting and maintaining Hua Hin District as the tourist destination of sustainable tourism; 2) development of tourist attractions and services; 3) integrated sustainable tourism management; and 4) promoting the participation in all sectors in tourism development in order to maintain the tourist destination of Hua Hin District.
Keywords
ยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ, การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ความเป็นเมืองเป้าหมาย, อำเภอหัวหิน, Integrated strategies, Sustainable tourism development, Tourism destination, Hua Hin District
Citation
ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีป. (2563). ยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).