ระดับปริญญาโท (Master Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาโท (Master Degree) by Subject "Academic administration"
Now showing 1 - 8 of 8
Results Per Page
Sort Options
- Itemการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) มยุรี รินศรีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ของผู้บริหารโรงเรียน และครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 175 คน โดยระบุขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตาราง เครจซี่และมอร์แกน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องได้เท่ากับ 1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ (F-test หรือ One-way ANOVA) ในประสบการณ์ เมื่อพบความแตกต่างกันทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ (Scheffe's Method) จากผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) จากผลการเปรียบเทียบของผู้บริหารโรงเรียน และครู จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์การ หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ควรกำหนดแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน การสนับสนุนส่งเสริมการบริหารงานวิชาการจากภาคีเครือข่าย
- Itemการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ไกรสิทธิ์ ดิบรุณย์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe’ ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มเนินพระ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านการพัฒนาและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจำแนกตามขนาดโรงเรียนที่ครูสังกัด โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- Itemการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) สุธินี แซ่ซินการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 136 คน และครูผู้สอนจำนวน 866 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,002 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 40 คน และครูผู้สอนจำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น 2) คุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 โดยมีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ธิษตยา ภิระบันการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประชากรในการวิจัยเป็นครูในสถานศึกษา สังกัดเขตสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 จำนวน 322 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ โดยใช้คำถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบสอบถามเพื่อสอบถามการบริหารงานวิชาการ และประสิทธิผลของสถานศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 โดยรวมและรายด้าน มีคุณลักษณะผู้นำสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็น การพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงานสถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา ส่วนด้านการแนะแนวมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู ด้านความสามารถในการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีของครู รองลงมา คือ ด้านความใฝ่รู้ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ถัดไปคือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนต่อสภาวะแวดล้อมที่มากระทบทั้งภายในและภายนอก ส่วนด้านความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) จิราภรณ์ วาสเอื้อวงศ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางด้านการเปลี่ยนแปลง และการบริหารงานทางด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 329 คน ได้มาโดยการสุ่มแบ่งชั้นตามอำเภอ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลงมา คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ 2) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง กับด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) ณัฐธิดา งามตาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สหวิทยาเขตอิงโขง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบไปด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ซึ่งมี 11 สถานศึกษา จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของสถานศึกษา โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ตำแหน่งครูผู้สอน และมีประสบการณ์การทำงานในสถานศึกษามากกว่า 15 ปีขึ้นไป 2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน มีระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลกับการบริหารงานวิชาการ พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการมากที่สุด คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนซึ่งมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง 5) การสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาซึ่งมีปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน (X3) ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา (X1) ปัจจัยด้านความพร้อมเกี่ยวกับสถานที่ (X4) และปัจจัยด้านครูผู้สอน (X2) ที่เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่ดีที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.865 สัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.748 หรือมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 74.80 สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาได้ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.645 + 0.254X3 + 0.246X1 + 0.195X4 + 0.141X2 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน y = 0.329Zy(X3) + 0.299Zy(X1) + 0.203Zy(X4) + 0.143Zy(X2)
- Itemปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สุพันณี เชิดฉันงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง ดินแดง หน่วยบริการ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทัศนคติต่อการเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนของผู้ปกครอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ได้แก่ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านนโยบายในการจัดการศึกษา ด้านทัศนคติต่อการเป็นครู และด้านการสนับสนุนของผู้ปกครอง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.73 สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูได้ร้อยละ 54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) นภาพร สุทธวงค์การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ และเพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารและครูผู้สอนตามประสบการณ์การทำงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนการสอน และรองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการบริหารงานวิชาการ พบว่า 1) ด้านหลักสูตร ครูผู้สอนที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการสอนยังไม่เข้าใจหลักสูตร ควรให้หัวหน้ากลุ่มสาระเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลและผู้บริหารควรแนะนำและวิธีใช้หลักสูตร 2) ด้านการวางแผนงานวิชาการ บางช่วงเวลาไม่สามารถดำเนินงานตามแผนงานวิชาการที่วางไว้ได้ และควรส่งเสริมงานวิชาการทุกกลุ่มสาระ ควรขยายช่วงเวลาในการดำเนินงาน และควรจัดอบรมหรือศึกษาดูงาน 3) ด้านการเรียนการสอนจำนวนนักเรียนในห้องมากเกินไป ควรแบ่งการทำงานเป็นกลุ่ม 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน นักเรียนไม่ตั้งใจทำข้อสอบ ครูผู้สอนควรบอก ตักเตือน และแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ 5) ด้านการวิจัยชั้นเรียน ครูผู้สอนไม่สามารถจัดทำงานวิจัยระยะยาวได้ เพราะมีภาระงานมาก จึงควรจัดทำงานวิจัยระยะสั้นภายใน 1 ภาคเรียน 6) ด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการสอน ครูไม่สามารถผลิตสื่อได้มาก เนื่องจากภาระงานมีมาก และงบประมาณไม่เพียงพอควรจัดหาสื่อสำเร็จรูปมาแทน และผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ 7) ด้านการมีส่วนร่วมของ ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีในท้องถิ่น ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้าร่วม โดยการแบ่งกลุ่มครูเพื่อเข้าร่วมประเพณีดังกล่าว 8) ด้านการนิเทศการศึกษาผู้บริหารขาดการนิเทศแบบต่อเนื่อง ควรให้ผู้บริหารจัดสรรเวลาในการเข้านิเทศ 9) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดเปลี่ยนไปทำให้ครูขาดความเข้าใจ ควรจัดอบรมให้ครูจากการเปรียบเทียบการดำเนินการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ทำงาน พบว่า ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน 16 ปีขึ้นไปมีการดำเนินงานสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ทำงาน 1-15 ปี และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่ 4 ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนมีการดำเนินการอยู่ระดับมากที่สุด