การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3

Loading...
Thumbnail Image
Date
2021
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ของผู้บริหารโรงเรียน และครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 จำนวน 175 คน โดยระบุขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตาราง เครจซี่และมอร์แกน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องได้เท่ากับ 1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ (F-test หรือ One-way ANOVA) ในประสบการณ์ เมื่อพบความแตกต่างกันทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ (Scheffe's Method) จากผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) จากผลการเปรียบเทียบของผู้บริหารโรงเรียน และครู จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์การ หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ควรกำหนดแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน การสนับสนุนส่งเสริมการบริหารงานวิชาการจากภาคีเครือข่าย
Description
This study aims to 1) to study the academic administration of small schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 3, 2) to compare the academic administration of small schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 3, and 3) suggestions the academic administration of small schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 3. The samples group used school administrators and teachers under Lampang Primary Educational Service Area Office 3, total 175 people by specifying the size of the sample by opening the Crazy and Morgan tables were selected by simple random sampling by using the drawing method. The instrument used in the research was a check list and a questionnaire with 5 levels of rating scale with the IOC of 1.00 and the reliability of the questionnaire 0.99. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, F-test or One-way ANOVA, and used the Scheffe's Method by pairwise analysis when the differences were found. The results of the research showed that 1) the academic administration of small schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 3, in the overall was entirely high level. 2) From the result of school administrators and teachers the comparison by education level and experience, there was no significant difference in all aspects. When considering from each aspect, have a statistically significant difference at 0.05 level including the curriculum development of educational institutions research to improve the quality of education and supporting about academic for individuals, families, organizations, agencies and other institutions. 3) The suggestions of the academic administration for small schools as following a systematic action plan should be established, the develop plan should be in the same direction, supporting and promoting academic administration from network partners.
Keywords
การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนขนาดเล็ก, Academic administration, Small schools
Citation