ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
Loading...
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางด้านการเปลี่ยนแปลง และการบริหารงานทางด้านวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 329 คน ได้มาโดยการสุ่มแบ่งชั้นตามอำเภอ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลงมา คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ 2) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง กับด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description
This study aimed to 1) understand the transformational leadership of the school administrators, 2) study the academic administration of the school administrators, and 3) observe the relationship between the transformational leadership and the academic administration of the school administrators under the Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3. Samples were 329 school administrators and teachers under the Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3 whom were selected through district random sampling. The statistical tools used in the analysis were frequency, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The finding revealed that 1) the transformational leadership of the school administrators was found at a high level, particularly in terms of idealized influence followed by intellectual stimulation, individualized consideration, and inspirational motivation, respectively. 2) The academic administration of the school administrators was also found at a high level in terms of the research for educational development in the schools followed by educational supervision, testing-evaluation and transfer grades, schools’ curriculum development, teaching and learning management in schools, and learning process development. And, 3) the transformational leadership of the school administrators had a high positive relation to the academic administration of the school administrators under the Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3 at the significant level of 0.01
Keywords
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, Transformational Leadership, Academic administration, School administration