ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students)
Permanent URI for this community
Browse
Browsing ภาคนิพนธ์นิสิตระดับปริญญาตรี (Term Paper of Undergraduate Students) by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 125
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเตรียมตัวดูดซับจากวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติเพื่อกำจัดสีย้อมเมทิลีนบลู(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) สุจินดา แสนธิ; ณัฐฐา ธิวงศ์คำในการศึกษานี้ทำการเตรียมตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานแบบเม็ด เพื่อกำจัดเมทิลีนบลูในสารละลายน้ำโดยใช้เทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรสโกปีที่ตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 664 นาโน เมตร ทำการสังเคราะห์ตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานแบบเม็ด โดยทำการสังเคราะห์ซิลิกาจากเถ้าแกลบแล้วปรับปรุงด้วยไคโตซาน ซึ่งจะทำให้เป็นเม็ดในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ด้วยวิธี Ball dropping ทำการศึกษาอัตลักษณ์ของตัวดูดซับโดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ศึกษาผลของสภาวะที่เหมาะสมต่อการดูดซับโดยทำการศึกษาเวลาความเข้มข้น พีเอช และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการกำจัดเมทิลีนบลู อธิบายสมดุลการดูดซับโดยใช้ไอโซเทอมการดูดซับของแลงเมียร์ ฟรุนดิชและเทมคิน และศึกษาจลนพลศาสตร์การดูดซับจากปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมและปฏิกิริยาอันดับสองเทียม จลนพลศาสตร์การดูดซับและไอโซเทอมการดูดซับสามารถอธิบายได้โดยใช้ปฏิกิริยาอันดับสองเทียมและไอโซเทอมการดูดซับแบบแลงเมียร์ (R2 = 0.9911) พบว่า ความสามารถในการดูดซับสูงสุดของตัวดูดซับซิลิกา-ไคโตซานเม็ด ค่าเท่ากับ 5000 มิลลิกรัมต่อกรัม จากพารามิเตอร์ทางเทอร์โมไดนามิกส์ เช่น พลังงานอิสระกิบส์ เอนทาลปี และเอนโทรปี สามารถอธิบายได้ว่าการดูดซับสีย้อมเมทิลีนบลูเป็นการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง
- Itemการศึกษาคุณภาพน้ำและความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในอ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) กาญจนา สวนดอกไม้การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำทางกายภาพ เคมี และชีวภาพในอ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ ตำบลแม่นาเรือ จังหวัดพะเยา ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือน พฤศจิกายน 2559 เป็นระยะเวลา 3 เดือน ทำการเก็บตัวอย่างทุก 2 สัปดาห์ จากการเก็บตัวอย่าง 3 จุด พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 27 Family 36 Genus โดย Division ที่มีความหลากหลายทางด้าน Family มากที่สุดคือ Chlorophyta (35%) รองลงมา คือ Bacilaliophyta (18%), Cyanophyta (10%), Euglenophyta (15%), Chrysophyta (13%), Pyrrophyta (3%) และ Cryptophyta (3%) แพลงก์ตอนจีนัสเด่น ได้แก่ Eudorina, Ceratium และ Dinobryon เมื่อจัดคุณภาพน้ำด้านชีวภาพโดยใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีบ่งชี้ตาม AARL – PP score จะอยู่ในระดับ คุณภาพน้ำปานกลาง (Mesotrophic status) และเมื่อจัดคุณภาพน้ำตามความมากน้อยของสารอาหารตาม AARL – PC Score พบว่า ในเดือนกันยายน คุณภาพน้ำอยู่ในระดับ ปานกลางค่อนข้างเสีย (Mesotrophic – eutrophic status) เดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน คุณภาพน้ำอยู่ในระดับปานกลาง (Mesotrophic status) รวมทั้งการจัดคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำจืดผิวดินจัดอยู่ในประเภทที่ 3 ซึ่งสามารถนำไปอุปโภค บริโภคได้โดยต้องผ่านกระบวนการบาบัดน้ำเสียทั่วไปก่อน
- Itemการสร้างและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนเพื่อบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเบื้องต้นในเขตพื้นที่เกษตรอินทรีย์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) สายชล ขุนใจในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาและสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวัดปริมาณน้ำฝนอย่างง่าย ซึ่งมีกลไกการทำงาน คือ เมื่อน้ำฝนไหลลงถ้วยกระดกข้างหนึ่งจนเต็มในขณะนั้นจะทำให้เกิดสภาพไม่สมดุล เป็นผลให้ถ้วยกระดกข้างนี้เทน้ำทิ้งขณะเดียวกันถ้วยกระดกอีกข้างก็จะขึ้นมารับน้ำฝนแทนและสลับไปมา ซึ่งการที่ถ้วยกระดกแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดการปิด-เปิดไฟฟ้า (Switch) โดยใช้ต่อวงจรร่วมกับบอร์ด Arduino เมื่อสร้างอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำฝนเสร็จสมบูรณ์ ได้ทำการสอบเทียบกับปริมาณน้ำฝนจริง และนำมาต่อวงจรรวมกับเซ็นเซอร์ อื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์วัดความชื้นในดินและในอากาศ อุณหภูมิ ความเข้มแสง ความเร็วลม และทิศทางลม ประกอบกันเป็นหุ่นไล่กาอัฉริยะ เพื่อบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมในพื้นที่การเกษตร แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้หาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของตัวแปร สำหรับการแก้ไขและพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ในอนาคต
- Itemการสำรวจความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ของนักเรียน โรงเรียนพินิตประสาธน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปีการศึกษา 2559(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) ยุธิดา จุตตโนการศึกษาอิสระ การสำรวจความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ ของนักเรียนโรงเรียนพินิตประสาธน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปีการศึกษา 2559 จำนวนทั้งสิ้น 42 คน เครื่องมือของการสำรวจ คือ แบบสำรวจความรู้ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ พลังงานที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ผลการสำรวจพบว่า โรงเรียนที่ตอบคำถามถูกต้องและสมบูรณ์แบบมากที่สุด คือ นักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง คิดเป็น 7 เปอร์เซ็นต์ โรงเรียนที่ตอบผิดหรือมีความเข้าใจผิดมากที่สุด คือ นักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง คิดเป็นร้อยละ 48 โดยคำถามที่เข้าใจผิดมากที่สุด คือ ข้อ 4 นักเรียนส่วนมากเข้าใจผิดคิดว่าสมการการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์เป็นสมการสัมพัทธภาพพิเศษหลักสมมูลมวลพลังงานของไอน์สไตน์ และเป็นธาตุยูเรเนียมโรงเรียนที่ตอบคำถามผิดหรือเข้าใจผิดลองลงมา คือ นักเรียนโรงเรียนพินิตประสาธน์ คิดเป็นร้อยละ 45.56 ข้อที่นักเรียนตอบคำถามผิดมากที่สุด หรือเข้าใจผิดมากที่สุด คือ ข้อที่ 1 นักเรียนส่วนใหญ่ตอบมาว่าปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเกิดจากการยิงอนุภาคเข้าไปยังนิวเคลียสธาตุหนัก ซึ่งเป็นคำตอบที่สลับกันกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน
- Itemการศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) เบญจวรรณ เจริญสุข; ปิยะวรรณ ศรีโสดาการศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ 3 สถานีในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ได้แก่ สถานีที่ 1 คือ อ่างเก็บน้ำบริเวณสะพานห้วยทับช้างตรงข้ามหอพักนิสิตเวียงพะเยา สถานีที่ 2 คือ อ่างเก็บน้ำอยู่บริเวณตรงข้ามประตูศรีโคมคำ สถานีที่ 3 คือ อ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง ซึ่งตั้งอยู่บ้านห้วยเคียน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาปัจจัยทางชีวภาพของแหล่งน้ำ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช โดยใช้การจัดระดับคุณภาพน้ำโดยใช้แพลงก์ตอนพืชตามวิธี AARL-PP Score และเพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพและทางเคมีของแหล่งน้ำ โดยใช้การจัดคุณภาพน้ำตามปริมาณของสารอาหารโดยวิธี AARL-PC Score จากการศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ (แพลงก์ตอนพืช) พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 Division 47 Genus โดยแพลงก์ตอนพืชที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด คือ Division Chlorophyta รองลงมา คือ Division Euglenophyta และ Division Cyanophyta ตามลำดับ โดยสถานีที่ 1 แพลงก์ตอนชนิดเด่น ได้แก่ Oscillatoria, Trachelomonas, Phacus และ Euglena สถานีที่ 2 แพลงก์ตอนชนิดเด่น ได้แก่ Trachelomonas, Merismopedia, Oscillatoria และ Micractinium และสถานีที่ 3 แพลงก์ตอนชนิดเด่น ได้แก่ Dictyospherium, Peridinium, Pediastrum และ Lepocinclis คุณภาพน้ำสถานีที่ 1 และ สถานีที่ 2 อยู่ในระดับ Eutrophic สารอาหารสูง คุณภาพน้ำไม่ดี และคุณภาพน้ำในสถานีที่ 3 อยู่ในระดับ Meso-eutrophic สารอาหารปานกลางถึงสูง คุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี และจากการศึกษาคุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมี พบว่า ค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 22.8-30.5 oC, ค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 216-428 μs/cm, ค่าความเป็นกรด-เบสอยู่ในช่วง 7.5-8.5, ค่า DO อยู่ในช่วง 1.06- 4.63 mg/l, ค่า Ammonia-Nitrogen อยู่ในช่วง 1.16-8.88 mg/l, ค่า Nitrate-Nitrogen อยู่ในช่วง 0.10-0.20 mg/l, ค่า Nitrite-Nitrogen อยู่ในช่วง 0.04-0.23 mg/l, ค่า Phosphate-phosphorus อยู่ในช่วง 0.65-3.48 mg/l พบว่า คุณภาพน้ำทั้ง 3 สถานี อยู่ในระดับ น้ำคุณภาพปานกลางค่อนข้างเสีย
- Itemการเจริญเติบโตของหน่อกล้วยน้ำว้าในหลอดทดลอง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กมลวรรณ ราชพัฒน์การเจริญเติบโตของชิ้นส่วนหน่อกล้วยน้ำว้าที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ บนอาหารสูตร MS ดัดแปลง ที่เติมสารต้านอนุมูลอิสระ กรด Ascorbic acid และ Citric acid ความ เข้มข้น 0.1 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 30 วัน พบว่า Citric acid 0.1 % สามารถป้องกันการเกิด Browning ได้ดีที่สุด และชิ้นส่วนพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี อาหารสูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต Thidiazuron (TDZ) ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5 และ 1 มก./ล. เป็นเวลา 60 วัน พบว่า อาหารสูตร MS ที่ไม่เติม TDZ สามารถชักนำการเจริญเติบโตความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 4.00 ซม. ชักนำการเกิดรากเฉลี่ยมากที่สุด 1.80 รากต่อต้น และชักนำการเกิดใบ เฉลี่ยมากที่สุด 2.75 ใบต่อต้น อาหารสูตร MS ดัดแปลง ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต Benzyladenine (BA) ความเข้มข้น 0, 1, 5 และ 10 มก./ล. เป็นเวลา 60 วัน พบว่า อาหารสูตร MS ที่ไม่เติม BA สามารถชักนำการเจริญเติบโตความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 4.00 ซม. ชักนำให้เกิดรากเฉลี่ยมากที่สุด 1.80 รากต่อต้น และอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 5 มก./ล. สามารถชักนำให้เกิดใบเฉลี่ยมากที่สุด 3.00 ใบต่อต้น และจากการทดลองทั้งหมดที่กล่าวมา พบว่า หน่อกล้วยน้ำว้าสามารถชักนำให้เกิดเป็นต้นได้สมบูรณ์
- Itemการคัดแยกแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดิน ลำไส้ไส้เดือน และนำหมักไส้เดือน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ชฎาทร พลศรีคัดแยกแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ดิน ลำไส้ไส้เดือน และน้ำหมักไส้เดือน บนอาหารแข็ง Pikovskaya's medium (PVK) ในการศึกษาอิสระครั้งนี้ พบแบคทีเรีย ละลายฟอสเฟต จำนวน 94 ไอโซเลต จากนั้นนำแบคทีเรียที่คัดแยกได้มาทดสอบประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตในอาหารเหลวสูตร PVK โดยเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน ตรวจสอบปริมาณฟอสเฟตที่ละลายได้ และค่าความเป็นกรด – ด่าง สามารถคัดเลือกแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตสูงและมีค่าความเป็นกรดด่างในช่วง 5-6 ได้ 3 ไอโซเลต ได้แก่ ไอโซเลต S3, S31.2 และ EW32 ซึ่งมีค่าฟอสเฟตที่ละลายได้เท่ากับ 246.6, 665.5 และ 303.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 5.6, 6.0 และ 5.3 ตามลำดับ จากการบ่งชี้ชนิดด้วยหาการลำดับเบส 16s rDNA พบว่า ไอโซเลต S3, S31.2 และ EW32 คือ Bacillus subtilis strain IP6, Bacillus subtilis strain B11 และ Klebsiella pneumoniae strain 26 ตามลำดับ
- Itemผลของไคโทซานปุ๋ยอินทรีย์น้ำและน้ำจากน้ำพุร้อนต่อการเจริญเติบโตและค่าสรีรวิทยาบางประการในข้าวก่ำเมืองพะเยาที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) จันทร์จิรา เทียนทอง; ณัฏฐ์นรี ศิริระพรจากการศึกษาภาวะเครียดจากการขาดธาตุอาหารของต้นกล้าข้าวก่ำเมืองพะเยาโดยใช้ระบบปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ที่มีสารละลาย Hoagland เสริมไคโทซาน O80 (1ml/L) และเสริมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (2.5ml/L) พบว่า ค่าการเติบโตและค่าทางสรีรวิทยาของชุดทดลองที่ขาดธาตุอาหารมีค่าลดลงทั้งความสูงของลำต้น และน้ำหนักแห้งของส่วนยอด โดยระหว่างขาดธาตุอาหาร พบว่า ต้นกล้าที่ได้รับไคโทซาน O80 จะมีความยาวรากเพิ่มขึ้น (8.37 cm.) และอัตราส่วนระหว่างความยาวรากต่อความสูงของลำต้นได้เพิ่มขึ้น เช่นกัน (0.373) ความยาวรากและอัตราส่วนของความยาวรากต่อความสูงของลำต้นของต้นกล้าที่ได้รับไคโทซาน O80 นั้น มีค่าเป็น 2 และ 1.87 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุมตามลำดับ อย่างไรก็ตามต้นกล้าในชุดการทดลองที่ได้รับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และชุดการทดลองควบคุมแสดงค่าน้ำหนักสดและความยาวของลำต้นและรากที่คล้ายคลึงกัน แต่ในทางตรงกันข้ามค่าน้ำหนักแห้งและค่าความยาวของลำต้นของต้นกล้าข้าวจะถูกจำกัดลงเมื่อเพาะเลี้ยงต้นกล้าข้าวด้วยน้ำพุร้อน การสะสมของรงควัตถุต่าง ๆ เช่น คลอโรฟิลล์ a (1.195 เท่า), คลอโรฟิลล์ b (1.20 เท่า) และแคโรทีน (1.17 เท่า) ในต้นกล้าข้าวที่ขาดธาตุอาหารแต่เสริมด้วย chitosan O80 นั้น จะสามารถคำนวณได้จากสมการของ Lichtentaler และ Wellburn จากการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANOVA) และการทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธีดันแคน (DMRT) พบว่า ไคโทซาน O80 สามารถกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของความยาวของปากใบได้ 2.198 เท่า เมื่อเทียบกับชุดการทดลองควบคุม และยังเพิ่มจำนวนความหนาแน่นของปากใบต่อพื้นที่หนึ่งตารางมิลลิเมตร (18.45 เซลล์) ซึ่งการค้นพบทั้งหลายนี้ ชี้ให้เห็นถึงกลไกการทำงานของไคโทซานทีเกี่ยวข้องกับการรอดชีวิตในต้นกล้าข้าวก่ำเมืองพะเยาที่อยู่ในสภาพการขาดธาตุอาหาร
- Itemการสร้างและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดทิศทางลมเพื่อบันทึกข้อมูลสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเบื้องต้น(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ณัฐพล วงษ์ยอดการเจริญเติบโตของพืชในสภาพที่เหมาะสมที่สุดจะขึ้นอยู่กับผลร่วมของปัจจัยต่าง ๆ ทางลมฟ้าอากาศ ผลร่วมอันนี้หมายถึง อุณหภูมิ ปริมาณฝน ความชื้นในดิน ความเร็วลม ทิศทางลม เป็นต้น ซึ่งการสร้างและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดทิศทางลมนั้นประกอบไปด้วยแบตเตอรี่ เซ็นเซอร์ สภาพแวดล้อม และการจัดเก็บข้อมูล โดยงานวิจัยชิ้นนี้สนใจศึกษาทิศทางลม โดยการสร้างและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดทิศทางลมเพื่อบันทึกข้อมูลสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเบื้องต้นในเขตพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ใช้ QSE114 Phototransistor ทำงานร่วมกับ LED Infrared 8 คู่ แต่ละคู่ตรงกัน และมีตัวกั้น Infrared ระหว่างตัว QSE114 Phototransistor กับ LED Infrared กั้นอยู่ และตัวกั้น Infrared จะมีรูขนาด 1 cm เพื่อให้ QSE114 Phototransistor รับ Infrared ทำให้ตัวต้านทานของ QSE114 Phototransistor ลดลง เราจะทราบทิศทางว่าลมพัดไปทางไหนได้เมื่อ ตัวต้านทานของ QSE114 Phototransistor ลดลง ชึ่งใช้งานร่วมกับบอร์ด Arduino Mega2560 เพื่อประมวลผลสัญญาณและบันทึกข้อมูลสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเบื้องต้น ในเขตพื้นที่เกษตรอินทรีย์
- Itemการสังเคราะห์อนุภาคนาโนของทองคำ เงิน และทองแดง โดยวิธีดีซีอาร์คดิสชาร์จ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ศุภณัฐ วงศ์กระจ่างในการศึกษาครั้งนี้ อนุภาคนาโนของทองคำ เงิน และทองแดง ถูกสังเคราะห์จากวิธีดีซีอาร์คดิสชาร์จ ความต่างศักย์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ คือ 75 โวลต์, 125 โวลต์, 175 โวลต์, 225 โวลต์ และ 275 โวลต์ โดยใช้ระยะห่าง ในการอาร์คดิสชาร์จประมาณ 1 มิลลิเมตร ภายในของเหลวปริมาตร 100 มิลลิลิตร สำหรับการสังเคราะห์อนุภาคนาโนของเงินและทองแดงในขณะที่อนุภาคนาโนของทองคำจะถูกสังเคราะห์ในเอทานอล ที่มีปริมาตร 100 มิลลิลิตร ค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดอยู่ที่ 526 นาโนเมตร, 441 นาเมตร และ 578 นาโนเมตร ซึ่งใช้ความต่างศักย์ไฟฟ้า 225 โวลต์, 125 โวลต์ และ 275 โวลต์ สำหรับอนุภาคนาโนของทองคำ เงิน และทองแดง ตามลำดับ ขนาดอนุภาคเฉลี่ยที่วิเคราะห์ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน โดยใช้เงื่อนไขที่เด่นชัดที่สุด มีขนาดอยู่ที่ 31 นาโนเมตร, 73 นาโนเมตร และ 99 นาโนเมตร สำหรับอนุภาคนาโนของทองคำ เงิน และทองแดง ตามลำดับ
- Itemระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังสำหรับเด็กแรกเกิดถึงอายุ 3 ปี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ณัฏฐณิชา จันทร์ปัญญา; ขนิษฐา บุญยังในงานวิจัยนี้ได้ออกแบบและพัฒนาระบบเซนเซอร์เฝ้าระวังสำหรับเด็กแรกเกิดถึงอายุ 3 ปี โดยระบบประกอบด้วย Arduino Pro Mini เทอร์มิสเตอร์ เซ็นเซอร์วัดชีพจรและปริมาณออกซิเจนในเลือด เซ็นเซอร์ความเร่ง และโมดูลบลูทูธ สำหรับวัดค่าต่าง ๆ แล้วทำการเขียนแอปพลิเคชั่นโดย App Inventor 2 สำหรับแสดงผล จากเซนเซอร์ค่าที่วัดได้จะส่งผ่านสัญญาณบลูทูธมาแสดงยังแอปพลิเคชันในมือถือแอนดรอยด์ ผลการทดสอบการทำงาน พบว่า ระบบสามารถวัดอุณหภูมิร่างกาย ชีพจรและปริมาณออกซิเจนในเลือด และพฤติกรรมการนอนมาแสดงบนแอปพลิเคชันมือถือแอนดรอยด์ได้
- Itemการศึกษาทดลองเทคนิคโฟโตลิโธกราฟีและซอฟต์ลิโธกราฟีสำหรับการประดิษฐ์อุปกรณ์ของไหลจุลภาค(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) รุ่งทิวา ร้องขันแก้ว; สุดารัตน์ สุขบรรจงในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ ออกแบบ ประดิษฐ์และพัฒนาระบบชิปของไหลจุลภาค และระบบตรวจวัด โดยใช้เทคนิคโฟโตลิโธกราฟี สำหรับประดิษฐ์แม่แบบชิปของไหลจุลภาคด้วยฟิล์มที่ไวแสงด้วยการฉายแสงอัลตราไวโลเลตผ่านหน้ากากนาน 10 นาที และคัดลอกสำเนาจากแม่แบบด้วยเทคนิคซอฟต์ลิโธกราฟีโดยใช้พอลิเมอร์ชนิด PDMS กระบวนในการประดิษฐ์ชิปทั้งหมดใช้เวลา 30 นาที ในงานวิจัยนี้พบว่า ขนาดท่อที่เล็กที่สุดที่สามารถประดิษฐ์ได้เท่ากับ 30 ไมโครเมตร สำหรับระบบตรวจวัดในชิปของไหล งานวิจัยนี้เลือกใช้วิธีวัดค่าความจุไฟฟ้าแบบไม่สัมผัส โดยใช้ไอซีเบอร์ AD7746 ซึ่งมีค่าความแม่นยำในการวัดความจุไฟฟ้า 4 เฟมโตฟารัด และวัดได้ในช่วง ±4 พิโคฟารัด สำหรับขั้วไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วยขั้วกระตุ้นและขั้วรับสัญญาณวางขนานกัน ประดิษฐ์จากลวดทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 47 ไมโครเมตร ผู้วิจัยได้ประดิษฐ์ชิปที่ผลิตหยดของเหลวขนาดเล็กที่มีปริมาตรในระดับนาโนลิตร โดยสร้างหยดน้ำผสมสีในสายการไหลของน้ำมัน พบว่า ระบบตรวจวัดสามารถแยกสัญญาณระหว่างน้ำผสมสีกับน้ำมันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายน้ำเกลือภายในท่อการไหลจุลภาคได้ในช่วงความเข้มข้น 0.43 ถึง 5.60 โมลาร์ วิธีการประดิษฐ์ชิปของไหลจุลภาคและระบบการวัดค่าความจุไฟฟ้าแบบไม่สัมผัสได้ถูกทดสอบและสาธิตการใช้งานเป็นที่น่าพึงพอใจเหมาะแก่การพัฒนางานวิจัยด้านของไหลจุลภาคสำหรับมหาวิทยาลัยพะเยาต่อไป
- Itemเครื่องมือทดสอบความแข็งของเมล็ดข้าว(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ขนิษฐา ใจทนเมล็ดข้าวถือว่าเป็นสสารหรือวัสดุอย่างหนึ่ง ที่มีสมบัติพื้นฐานทางกายภาพของวัสดุทั่วไป คือ มีความแข็ง ความเหนียว หรือความยืดหยุ่น ซึ่งสมบัติพื้นฐานทางกายภาพเหล่านี้จะ มีความแตกต่างกันก็ต่อเมื่อระยะเวลาผ่านไปสมบัติพื้นฐานทางกายภาพก็จะเปลี่ยนแปลงไป หากเราสังเกตเมล็ดข้าวที่ขัดสีแล้วอายุการผลิตส่งออกต่างกัน เราสามารถบอกได้ไหมว่าข้าวพันธ์ ไหนแข็งกว่าหรืออ่อนกว่า ดังนั้นทางผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความแข็งของเมล็ดข้าวที่ขัดสีแล้ว จึงได้สร้างเครื่องมือวัดความแข็งของเมล็ดข้าวขึ้นมา โดยใช้หลักการ การทดสอบแบบบริเนลล์ หลักการนี้จะอาศัยการกดของหัวกดทรงกลมลงบนพื้นผิวชิ้นงานทดสอบด้วยแรงกด เมล็ดข้าวที่นำมาศึกษามีอยู่ 5 กลุ่มตัวอย่างมีความแข็งที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ข้าวพันธุ์ตาขาวแห้งมีความแข็งมากที่สุด ค่าเฉลี่ยแรงกด 0.1505 N/mm ข้าวพันธุ์หอมมะลิจุน ค่าเฉลี่ยแรงกด 0.1393 N/mm ข้าวพันธุ์หอมมะลิ ค่าเฉลี่ยแรงกด 0.1283 N/mm ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ค่าเฉลี่ยแรงกด 0.1282 N/mm และข้าวพันธุ์หอมมะลิสุรินทร์มีความแข็งน้อยสุด ค่าเฉลี่ยแรงกด 0.1246 N/mm ตามลำดับ
- Itemผลของสูตรอาหารต่อการขยายพันธุ์โปรโตครอมในหลอดทดลองของกล้วยไม้เอื้องสายน้ำครั่ง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) เมธินี ตีฆาอายุการศึกษาผลของสูตรอาหารต่อการขยายพันธุ์โปรโตครอมในหลอดทดลองของกล้วยไม้เอื้องสายน้ำครั่ง โดยการนำโปรโตคอร์มที่มีขนาดประมาณ 1 ซม. ย้ายมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหารต่าง ๆ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาผลของ BA ในสูตรอาหาร VW ต่อการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มกล้วยไม้เอื้องสายน้ำครั่ง ตอนที่ 2 ศึกษาผลของ BA ในอาหารสูตร VW ร่วมกับน้ำมะเขือเทศและน้ำแตงกวาต่อชักนำยอด ราก และใบของโปรโตคอร์มกล้วยไม้เอื้องสายน้ำครั่ง ตอนที่ 3 ศึกษาผลของ BA ในอาหารที่มีปุ๋ยเคมีเป็นองค์ประกอบต่อการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มกล้วยไม้เอื้องสายน้ำครั่ง ตอนที่ 4 ศึกษาผลของสูตรอาหาร MS ดัดแปลงที่เติมน้ำมะพร้าว น้ำมันฝรั่ง Activated charcoal ร่วมกับปริมาณน้ำตาลซูโครสต่างกันต่อการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มของกล้วยไม้เอื้องสายน้ำครั่ง เมื่อนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบกัน อาหารสูตรที่ชักนำการเกิดยอดและใบเฉลี่ยมากที่สุด คือ สูตร VW ที่เติม BA ความเข้มข้น 5 mg/L ร่วมกับน้ำมะเขือเทศ 150 ml/L สามารถชักนำให้เกิดจำนวนยอดเฉลี่ยมากที่สุด 5.2 ยอดต่อชิ้นและชักนำให้เกิดใบเฉลี่ยมากที่สุด 8.3 ใบต่อชิ้นการชักนำ ให้เกิดราก เมื่อนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบแล้ว พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 12 g/L ร่วมกับน้ำมะพร้าว 150 ml/L น้ำมันฝรั่ง 150 ml/L และ Activated charcoal 2 g/L สามารถชักนำให้จำนวนรากเฉลี่ยมากที่สุด 8.3 รากต่อชิ้น
- Itemผลของน้ำพุร้อน และอาหารเหลวต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของสาหร่ายเกลียวทอง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กิตติพุทธ พวงทอง; จำเนียร ทาติเพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และปริมาณรงควัตถุ ในสาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina platensis) ที่เลี้ยงในน้ำเปล่าเที่ยบกับน้ำพุร้อนจากแหล่งเวียงป่าเป้าและจากแหล่งห้วยทรายขาวและสูตรอาหารเหลวเลี้ยงสาหร่าย จำนวน 3 สูตร (A, B และ C) ภายใตัสภาพการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมทั้งระดับ pH (9.5-10) ความเข้มแสง (94.5 μmol/m-2/s-1) และอุณหภูมิ (28 °C) ผลการทดลองพบว่า น้ำพุร้อนมีผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ และปริมาณรงควัตถุในการสังเคราะห์ด้วยแสง (คลอโรฟิลล์ เอ, แคโรทีนอยด์, ไฟโคโซยานิน) โดยเฉพาะน้ำพุร้อนจากแหล่งเวียงป่าเป้า ซึ่งให้ผลไปในทิศทางเดียวกันกับอาหารสูตร B และสูตรผสมระหว่างน้ำพุร้อนและอาหารสูตร B จากการวิเคราะห์ธาตุ พบว่า น้ำพุร้อนจากแหล่งเวียงป่าเป้าจะมีสารกลุ่มไนเตรทและซัลเฟอร์สูงกว่าน้ำเปล่าและน้ำพุร้อนจากแหล่งอื่นที่ใช้ในการทดลอง สำหรับปุ๋ยสูตร B พบว่า มีธาตุอาหารกลุ่ม N P K (16:16:16) และปุ๋ยสูตร C มี MgSO4 และ NaCl เป็นองค์ประกอบ เมื่อทำการเปรียบเทียบจำนวนเซลล์และปริมาณรงควัตตุจากมากไปน้อย พบว่า อาหารสูตร B ที่ผสมน้ำพุร้อนจากแหล่งเวียงป่าเป้าจะกระตุ้นการเติบโตได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ อาหารสูตร B และน้ำพุร้อนเวียงป่าเป้า ตามลำดับ
- Itemการควบคุมหุ่นยนต์บีมด้วยวงจรซัสเปนด์ไบคอร์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ปิยรัชนี ประไพรภูมิหุ่นยนต์บีม (BEAM ย่อมาจาก Biology, Electronics, Aesthetics, Mechanics) เป็นรูปแบบหุ่นยนต์ที่ทำงานโดยไม่ใช้ระบบไมโครคอนโทรนเลอร์ (microcontroller) แต่ใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายมาควบคุม หรือเปรียบเสมือนสมองสั่งงานให้หุ่นยนต์ทำงานเลียนแบบพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น พฤติกรรมตอบสนองต่อแสง พฤติกรรมเดินหาแสง พฤติกรรมเดินหนีความร้อน พฤติกรรมตอบสนองต่อเสียง เป็นต้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการควบคุมหุ่นยนต์บีม (BEAM robot) ให้มีพฤติกรรมเคลื่อนที่เข้าหาแสงด้วยวงจรซัสเปนไบคอร์ (suspended bicore) โดยใช้ไอซีเบอร์ 74HC240 มาต่อเป็นระบบควบคุมการทำงานภายในของหุ่นยนต์และใช้ photodiode มาต่อเป็นส่วนเซนเซอร์รับแสงเพื่อใช้ในการควบคุมหุ่นยนต์ให้มีพฤติกรรมเคลื่อนที่ตามแสง สำหรับกลไกการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์จะเดินด้วยขาโดยใช้มอเตอร์กระแสตรงในการขับเคลื่อนการเดินของขาด้วยระบบเฟือง ควบคุมการทำงานคล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต และหุ่นยนต์บีม (BEAM robot) นี้ยังสามารถนาไปประยุกต์ปรับใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ได้ เช่น อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ไฟฟ้า วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ และทัศน์คติที่ดีต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น
- Itemการศึกษาการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบประดิษฐ์เองสำหรับหุ่นยนต์ Lego Mindstorms NXT(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) สุพัตรา กิจพิทักษ์; สุรางคนา วันทองงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบประดิษฐ์เอง สำหรับหุ่นยนต์ Lego Mindstorms NXT โดยใช้การสื่อสารแบบ I2C โปรแกรม Bricx Command Center ถูกใช้ในการเขียนโค้ดคำสั่งเพื่อเชื่อมต่อหุ่นยนต์ Lego Mindstorms NXT กับ ไอซี PCF8574 และโมดูล MPU6050 นอกจากนี้ยังใช้โปรแกรม App Inventor ในการควบคุมหุ่นยนต์ Lego Mindstorms NXT และส่งถ่ายข้อมูลอีกด้วย
- Itemสร้างเครื่องกำเนิดความร้อนขนาดเล็ก (ฮีตเตอร์)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ธีรวัฒน์ เป็งปานันท์งานวิจัยครั้งนี้ สร้างเครื่องกำเนิดความร้อนขนาดเล็ก (ฮีตเตอร์) ด้วยมีส่วนประกอบหลักคือ 1) ดินคอมพาวด์ 2) ลวดนิโครม เพื่อศึกษาสมบัติทางไฟฟ้า เช่น ความต่างศักย์ ความต้านทาน และกระแสไฟฟ้า ที่มีผลต่ออุณหภูมิของกำเนิดความร้อนขนาดเล็กแบบต่าง ๆ หลักการทำงาน คือ จ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ฮีตเตอร์ทำให้ลวดเกิดความร้อนและวัดอุณหภูมิ
- Itemผลของการแช่เมล็ดข้าวในไคโทซาน O80 น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และน้ำพุร้อนเวียงป่าเป้าต่อการงอกการเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวสังข์หยดพัทลุง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กานติมา ตรงต่อมิตร; จิราพงษ์ ทองเหลา; สุทธิภาพร เสนาะจำนงค์การศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดข้าวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการงอกของเมล็ด และการเติบโตของต้นกล้าข้าว จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสังหยดพัทลุง การเคลือบเมล็ดข้าวจะทำโดยการแช่เมล็ดข้าวในน้ำเปล่า ไคโทซาน O80 น้ำส้มควันไม้ น้ำหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และน้ำพุร้อนที่ความเข้มข้น 10, 50 และ 100 ppm เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า การงอกของเมล็ดข้าวทุกพันธุ์ (3-6 วัน) จะเพิ่มขึ้นตามระดับ ความเข้มข้นของสารที่ใช้ในการแช่เมล็ด เมล็ดข้าวไรซ์เบอรี่ที่ทำการแช่ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และน้ำหมักมูลไส้เดือนที่ 10 ppm สามารถเพิ่มจำนวนการงอกของเมล็ดเช่นเดียวกับน้ำพุร้อน (50 ppm) และน้ำส้มควันไม้ (100 ppm) การแช่เมล็ดด้วยน้ำหมักมูลไส้เดือนที่ทุกความเข้มข้นสามารถเพิ่มความสูงให้กับต้นกล้าข้าว (10 และ 14 วัน) ทุกชนิดพันธุ์ แต่น้ำพุร้อน (10 ppm) น้ำส้มควันไม้ (100 ppm) และไคโตซาน O80 (100 ppm) สามารถกระตุ้นความสูงของข้าวไรซ์เบอรี่ นอกจากนี้ จำนวนใบในทุกชุดการทดลองไม่ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น เมล็ดข้าวที่แช่ด้วยไคโตซาน O80 (10 ppm) น้ำส้มควันไม้ (10, 50 ppm) น้ำหมักมูลไส้เดือน (50 ppm) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (50 ppm) สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนใบในข้าวสังข์หยดพัทลุง อย่างไรก็ตาม น้ำพุร้อน (100 ppm) และน้ำหมักมูลไส้เดือน (100 ppm) สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนใบในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และไรซ์เบอรี่ได้ตามลำดับ
- Itemการสร้างสื่อการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของประจุในสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอด้วยโปรแกรม Scratch(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) ประภัสสร ใยนวนงานวิจัยนี้ได้ทำการสร้างสื่อการสอน เรื่อง การเคลื่อนที่ของประจุในสนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ ด้วยโปรแกรม Scratch โดยนำเครื่องมือไปทดสอบ ซึ่งได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนรู้-หลังเรียนรู้ โดยนำเครื่องมือนี้ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นนักเรียน 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนของโรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการสอนแบบปกติ และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา โดยทำการสอนแบบใช้โปรแกรม Scratch ร่วมกับการสอนแบบปกติ โดยผลปรากฏว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนรู้ ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05