ผลการออกกลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในนิสิตหญิง คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (การศึกษานำร่อง)
No Thumbnail Available
Date
2013
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในวัยรุ่นหญิง วิธีการศึกษา อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิงสุขภาพดีที่กำลังศึกษาอยู่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 20 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุและดัชนีมวลกายที่ใกล้เคียงกัน อาสาสมัครที่ถูกจัดไว้ 2 กลุ่ม ได้รับเงื่อนไขให้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มออกกำลังกายเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ใช้เวลานาน 40 นาที/ครั้ง ความถี่ 3 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประเมินปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Maximum oxygen consumption: VOrmax) ด้วยวิธีการ Modified Bruce Treadmill Protocol โดยประเมิน 2 ครั้ง คือก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Student t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการศึกษา: ค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดของอาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกาย (p = 0.03) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติสำหรับค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกายในอาสาสมัครกลุ่มควบคุม สรุปผลการศึกษา การออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. มีประสิทธิผลต่อการเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในรุ่นหญิง
Description
Objective: to determine the effect of UP Fawn Jerng excise on cardiovascular endurance in female adolescent. Methods: Twenty healthy female students from School of Allied Health Sciences, University of Phayao were recruited to the study. Subjects were divided into two groups based on the nearest mean of age and body mass index. The two groups were randomly assigned into either control (n = 10) or exercise group (n = 10). The exercise group performed UP Fawn Jemg exercise for 40-minute time, 3 times/week, for 6 weeks. Maximum oxygen consumption (VO-max) was assessed by Modified Bruce Treadmill Protocol at before and end of training. Student t-test was used to analyze data and an alpha level of 0.05 was used to determine statistical significance. Result: Significant increase in VO-max was found for exercise group at post-test (p = 0.03) and no significant difference between pre- and post-test was found for VO2max in control group. Conclusion: UP Fawn Jerng exercise can improve cardiovascular endurance in female adolescent.
Keywords
ฟ้อนเจิง, การออกกำลังกาย, วัยรุ่น, ความทนทาน, เพศหญิง, Fawn Jerng, Exercise, Adolescent, Endurance, Female
Citation
ธนานันต์ ปัญญา, เบญจวรรณ รูปงาม และเมธาวี อินต๊ะวัง. (2556). ผลการออกกลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในนิสิตหญิง คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (การศึกษานำร่อง). [ปริญญานิพนธ์บัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).