อิทธิพลของสภาพจุลอุตุนิยมวิทยาต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ระหว่างบรรยากาศกับป่าเต็งรังในมหาวิทยาลัยพะเยา

Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของสภาพจุลอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ระหว่างบรรยากาศ (Atmosphere) กับระบบนิเวศป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest ecosystem) ในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยประยุกต์ใช้เทคนิคความแปรปรวนร่วมแบบหมุนวน (Eddy covariance technique) ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยของสมดุลพลังงาน ในแง่ของความร้อนที่ใช้ในการะเหยน้ำ (Lotent heat: LE) กับ ความร้อนที่ใช้ในการเผาอากาศ (Sensible heat: H) มีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 (Net ecosystem exchange: NEE) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อค่า LE และ H สูงขึ้น ทำให้ค่า NEE ก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงระดับหนึ่งค่า NEE มีแนวโน้มที่คงที่และมีความสอดคล้องกับความเข้มแสงที่พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ (Photosynthetically active radiation: PAR) นอกจากนี้ค่าของ PAR รายเดือนยังขึ้นอยู่กับปริมาณแสงสุทธิที่เข้ามาในระบบในช่วงฤดูกาลเดียวกัน สำหรับการตอบสนองของ NEE ต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในดิน และอุณหภูมิอากาศ พบว่า มีความสัมพันธ์กันไม่ชัดเจน เนื่องจากในช่วงการศึกษาเป็นช่วงฤดูฝน โดยสรุป ปัจจัยทางจุลอุตุนิยมวิทยาที่ส่งผลต่อ NEE คือ LE, H และ PAR ส่วนความชื้นในดิน และอุณหภูมิอากาศ พบว่า ยังไม่ชัดเจน ซึ่งพบว่า ค่า NEE ในพื้นที่ป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ -2.12 µmol/m2/s หรือคิดเป็น 30.6 tC02/ha/yr อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษานี้ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลอยู่ในช่วงฤดูฝนจึงทำให้เห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของ NEE ในรอบปีที่ยังไม่ชัดเจน จึงควรมีการศึกษาในระยะยาวเพื่อสามารถประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในรอบปีได้อย่างถูกต้องต่อไป
Description
This research objective to influence of micrometeorological pattern that affect the carbon dioxide exchange between atmosphere and dry dipterocarp forest in University of Phayao. Using by Eddy covariance technique since May to October 2013. The results showed that the determinants of energy balance in terms of Latent heat (LE) with Sensible heat (H) effect of the of carbon dioxide exchange (Net ecosystem exchange; NEE) which shows that when the LE and H higher. make up NEE it tends to raise the level as well of the NEE is likely to remain constant and have consistent with the photosynthetically active radiation, PAR. The values of PAR monthly income also depend on the amount of light that enters the system during the same season. For the response of NEE to change of soil moisture and air temperature found that a relationship is not clear because the data correction during the study is the rainy season. Summary the influence of micrometeorological pattern Affect to NEE is LE, Hand PAR part soil moisture and air temperature it is not clear that. which the NEE in dry dipterocarp forest in university of Phayao. The average is -2.12 µmol/m2/s or 30.6 tCO2/ha/yr. However, since this study is mainly during the rainy season. Therefore, the changing patterns of NEE during the year are not yet clear. It should have a long-term study to evaluate the potential of carbon sequestration in the year correctly anyway.
Keywords
จุลอุตุนิยมวิทยา, การแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์, ป่าเต็งรัง, Micrometeorology, CO2 exchange, Dry Dipterocarp forest
Citation
เบญจพร แก้วน้อย, มานะ ปันยา และวัชระพงษ์ บุญเรือง. อิทธิพลของสภาพจุลอุตุนิยมวิทยาต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ระหว่างบรรยากาศกับป่าเต็งรังในมหาวิทยาลัยพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.