สมบัติดินและการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดินชั้นบนบริเวณพื้นที่ป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา

Abstract
การศึกษาสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดินพื้นที่ป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินปริมาณการสะสมคาร์บอนของทรัพยากรดินในป่าเต็งรัง ในการกำหนดจุดเก็บตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนที่ตัวดีที่สุด จำนวน 8 จุด โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่บริเวณเนินเขา พื้นที่ลาดเอียง พื้นที่ราบ และพื้นที่ใกล้ทางน้ำ ซึ่งเก็บตัวอย่างที่ 3 ระดับความลึก ได้แก่ 0-5, 5-15 และ 15-30 cm เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินในป่าเต็งรังเป็นดินตื้นซึ่งมีเนื้อดินอยู่ในพิสัยดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเหนียวปนทราย ความหนาแน่นของดิน พบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีระดับความลึกมากขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยในแต่ละความลึกดังนี้ 1.47, 1.78 และ 1.76 g/cm³ ค่าปฏิกิริยาของดินเป็นกรดรุนแรงมาก (pH, 4.4) ถึงกรดเล็กน้อย (pH, 6.6) ปริมาณอินทรียวัตถุในดินชั้นบนมีปริมาณต่ำไปจนถึงมาก (463.4 - 7.69g/kg) เช่นเดียวกับอินทรีย์คาร์บอนที่ระดับ 0-5, 5-15 และ 15-30 cm มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.41, 1.13 และ 0.84 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับไนโตรเจน (0.01-1.29 g/kg) ในดินชั้นบนสุดพบว่า อัตราส่วน C/N มีค่าประมาณ 31.31 ซึ่งเพียงพอต่อการเกิดกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน
Description
Soil physical and chemical properties and assessment of carbon storages in dry dipterocarp forest, University of Phayao was studied to estimated soil carbon storage in the forest. Soil samples were collected from the best steads for 8 sites which divided 4 area types such as top hill, slope area, plain and waterway area. Each sample was collected from 3 different soil depths such as 0-5, 5-15 and 15-30 cm. Results revealed that soil in dry dipterocarp forest was shallow, and soil texture ranged between sandy clay loam to sandy clay. Soil density was higher in deeper profiled, which average density in each profile were 1.47, 1.78 and 1.76 g/cm³ Soil activity was between extremely acid (pH, 4.4) to slightly acid (pH, 6.6). Soil organic matter had a range between low to very high (4.69-63.47 g/kg) and decreased in deeper soil similar to soil organic carbon at 0-5, 5-15 and 15-30 cm average were 2.41, 1.13 and 0.84, respectively. Moreover, those values correlated with nitrogen (0.01-1.29 g/kg). In topsoil, C/N ratio was about 31.31 which was enough for soil microbial degradation.
Keywords
สมบัติดิน, คาร์บอนในดิน, ป่าเต็งรัง, Soil Properties, Soil Carbon, Dry Dipterocarp Forest
Citation
สุภาภรณ์ แก้วสน และหทัยชนก จรเข้. (2557). สมบัติดินและการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดินชั้นบนบริเวณพื้นที่ป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา. [ปริญญานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.