R2R : Routine to Research
Permanent URI for this collection
งานวิจัยของบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา
Browse
Browsing R2R : Routine to Research by Issue Date
Now showing 1 - 20 of 34
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของการรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งหมด จำนวน 132 คน และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยพะเยาเป็น เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 90.91 ช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.33 อยู่ในสถานภาพสมรส ร้อยละ 49.24 มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมืองพะเยา ร้อยละ 62.88 ระดับวุฒิการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ 43.94 ได้รับค่าตอบแทนประมาณ 10,000 - 14,999 บาท ต่อหนึ่งเดือนร้อยละ 50.76 มีประสบการณ์การทำงาน 0 - 10 ปี ร้อยละ 84.09 การประเมินด้านสภาพการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ด้านที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.26 และด้านสภาพการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในหน้าที่ปกติ ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ 3.88 การประเมินระดับของการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยความคิดเห็นเฉลี่ยรวม 4.22 อยู่ในระดับมากที่สุด หากดูแต่ละข้อย่อย พบว่า ความคิดเห็นต่อการเห็นสิ่งผิดปกติขณะปฏิบัติหน้าที่เวรยาม จะรีบประสานผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในทันทีมีคะแนนสูงสุด คือ 4.61 และพบว่า ความคิดเห็นต่อพื้นที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เวรยามนั้น มีแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงานมีความคิดเห็นต่ำสุด คือ 3.78
- Itemปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังของนิสิตทันตแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) สุธาสินี หินแก้วการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ของนิสิตทันตแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอน 2) ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตทันตแพทย์ต่อการจัดการเรียนการสอน 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความคาดหวังของนิสิตทันตแพทย์ ต่อการจัดการเรียนการสอน โดยประชากรที่ศึกษา คือ นิสิตหลักสูตร ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ผู้ปกครองรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ แรงจูงใจส่วนบุคคลในการเลือกศึกษาเพราะนิสิตต้องการความมั่นคง ในวิชาชีพ ด้านสถาบันเพราะอาจารย์ผู้สอนมีความรู้ความสามารถ และสภาพแวดล้อมดี ความคาดหวังของนิสิต คือ คาดหวังการเรียนการสอนที่สร้างมาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านคุณธรรมจริยธรรมในการสร้างจิตสำนึกการดูแลผู้ป่วย และด้านทักษะวิชาชีพในการวางแผน การรักษาทางทันตกรรม และสามารถป้องกันจัดการภาวะฉุกเฉินและแทรกซ้อนทางทันตกรรม ส่วนความพึงพอใจของนิสิต นิสิตส่วนใหญ่พึงพอใจต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากร ในด้านเจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี และอาจารย์มีความน่าเชื่อถือ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังของนิสิต พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านชั้นปีมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังตามมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ อาชีพผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังตามมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับความคาดหวังตามมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยี ด้านสุนทรียศิลป์และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ส่วนแรงจูงใจด้านปัจจัยส่วนบุคคล และด้านสถาบันมีความสัมพันธ์กับความคาดหวังตามมาตรฐานผลการเรียนและปัจจัยสิ่งแวดล้อม
- Itemแนวทางการจัดการระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ในมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการเกิดอุบัติเหตุทางด้านการจราจร ในมหาวิทยาลัยพะเยา ในปีงบประมาณ 2559-2560 เกิดขึ้นทั้งหมด 43 ครั้ง เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 25 ครั้ง และปีงบประมาณ 2560 จำนวน 18 ครั้ง แยกเป็นเพศชาย 41 คน เพศหญิง 14 คน เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 48 คัน และรถอื่น เช่น รถตู้ รถเมล์โดยสาร รถบรรทุก ฯลฯ จำนวน 13 คัน สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุเกิดจากผู้ขับขี่เอง เช่น ชนโดยไม่มีคู่กรณี ตกลงข้างทาง ชนคันอื่นที่จอดอยู่ ฯลฯ 29 ครั้ง เกิดขึ้นโดยมีคู่กรณี คือ ต่างคนต่างขับ เบียดกัน ชนกัน ฯลฯ 11 ครั้ง และสุดท้ายเกิดจากความบกพร่องของรถยนต์ที่ขับขี่ 3 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุทางการจราจรในปีงบประมาณ 2559 และปีงบประมาณ 2560 เห็นว่ามีแนวโน้มลดลงทั้งสามกรณี จุดที่มีอุบัติเหตุเกิดมากที่สุด คือ ทางสายหลักเนื่องจากมีการใช้ความเร็วในการขับขี่สูง อีกทั้งสภาพภูมิประเทศเป็นทางขึ้นเขาลงเขา ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จากการศึกษา พบว่า อุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยพะเยานั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ปัจจัยหลัก คือ ความประมาทของผู้ขับขี่เอง และรองลงมา คือ เกิดจากความบกพร่องของรถยนต์ หรือยานพาหนะ โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น ดังนั้นในการจัดระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุด้านการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยา สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ผู้ขับขี่ (Driver) รถยนต์ (Vehicle) สภาวะแวดล้อม (Environmental) ตามลำดับ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ เป็นข้อมูลปีงบประมาณ 2559-2560 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา แต่สภาพการจราจรยอมมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ปีด้วยเหตุนี้หากต้องการพัฒนาระบบจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาแต่ละครั้ง ควรมีการเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด เพื่อมีแนวทางการจัดการระบบการจราจรในมหาวิทยาลัยพะเยาที่เหมาะสมต่อไป
- Itemการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากระบบขนส่งมวลชน ในมหาวิทยาลัยพะเยา ใช้วิธีการคำนวณและค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามคำแนะนำของคู่มือการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปี 2006 (Revised 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories) โดยมีรถโดยสารทั้งหมด 40 คัน ทั้งหมดเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว โดยประเมินก๊าซเรือนกระจกหลักที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนรตรัสออกไซด์ (N2O) ผลการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบขนส่งมวลชน ในมหาวิทยาลัยพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่ใช้เชื้อเพลิง NGV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1,579.48 tCO2eq/ปี เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนการสิ้นเปลืองกับเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่นิยมใช้ในการขนส่งมวลชนโดยทั่วไปแล้ว การใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1,605.24 tCO2eq/ปี เพราะฉะนั้นการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยาในปีงบประมาณ 2560 จึงสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 25.77 tCO2eq นอกจากนี้ จากการศึกษาการปล่อยมลพิษของการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยประเมินจากมลพิษหลัก 4 ชนิด พบว่า มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 1,857.66 Kg/ปี ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) 3,096.10 Kg/ปี ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 8,669.07 Kg/ปี และเกิดฝุ่นละออง (PM) 123.84 Kg/ปี เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนการสิ้นเปลืองกับเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล พบว่า การใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) มีการปล่อยมลพิษที่น้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล โดยคิดเป็นปริมาณดังนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) น้อยกว่า 8.33 เท่า ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) น้อยกว่า 1.40 เท่า ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) น้อยกว่า 3.71 เท่า และเกิดฝุ่นละออง(PM) น้อยกว่า 11.00 เท่า
- Itemสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) มยุเรศ แสงสว่างปัญหาที่สถาบันอุดมศึกษาต้องประสบ คือ ปัญหาจำนวนผู้เรียนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากประชากรวัยเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่จะเข้าสู่มหาวิทยาลัยลดลง สถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับตัว โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ สื่อประชาสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีในสังคม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนิสิตชั้นปีที่ 1 และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนิสิตในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน และส่วนที่ 2 ช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ผลการวิจัยพบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ที่นิสิตให้ความสนใจมากที่สุดในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา คือ ช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ที่เข้าศึกษาจากเฟซบุ๊ก (Facebook) เรียนต่อคณะ ICT ม.พะเยา (https://www.facebook.com/ictupadmission) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.11 มีระดับ ความคิดเห็นมากที่สุด และอันดับรองลงมา คือ ทางเว็บไซต์ (Website) ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (http://ict.up.ac.th) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.03 มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด และอันดับสุดท้ายทราบจากการแนะแนวหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 มีระดับความคิดเห็นมาก ตามลำดับ บทสรุปงานวิจัยนี้ จะทำให้ทราบถึงสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธของคณะ ฯ ให้ทันสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นในยุควิกฤตอุดมศึกษาไทยจากจำนวนประชากรวัยเรียนที่ลดลง
- Itemการพัฒนาระบบการบริหารตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กตัญชลี วันแก้วจากการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการบริหารตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาของการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี โดยใช้ 4 หลักการดังนี้ การวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัญหาโดยใช้กราฟพาเรโต แผนผังก้างปลา (fish bone diagram) โดยใช้ 5M + 1E หลักการ why why analysis และทฤษฎี ECRS จากผลวิจัยได้เครื่องมือที่มาช่วยในการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี โดยมี 3 ระบบ ดังนี้ 1) ระบบ Asset system (ระบบของมหาวิทยาลัยพะเยา) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านที่ 1 มีความผิดพลาดของข้อมูลครุภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หากเทียบข้อมูลปัญหาในปีงปม. 62 และปีงปม. 63 ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ 17 วัน คิดเป็นร้อยละ 36.17 และปัญหาด้านที่ 3 ไม่มีรูปภาพประกอบการตรวจสอบได้ ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ 6 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.57 2) ระบบตารางวางแผนการตรวจสอบครุภัณฑ์ล่วงหน้า (ออกแบบใหม่) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านที่ 2 ไม่ได้วางแผนในการตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหากเทียบข้อมูลปัญหาในปีงปม. 62 และปีงปม. 63 ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ 29 วัน คิดเป็นร้อยละ 59.18 3) ระบบตาราง list เอกสารที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี (ออกแบบใหม่) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านที่ 4 เอกสารไม่ครบถ้วน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หากเทียบข้อมูลปัญหาในปีงปม. 60 และปีงปม. 63 ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ ซึ่งสามารถนำมาลดระยะเวลาการแก้ไขปัญหาของการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปีลงได้ 6 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.57
- Itemการสำรวจความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ฤทธิชัย มณีทิพย์การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบ ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน และด้านความต้องการใช้งานในอนาคต จากระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 32 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 32 คน มีผู้เคยใช้งานระบบในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 16 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 30 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณมหาวิทยาลัยพะเยา ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.91 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.56 และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.80 ในกลุ่มผู้ดูแลระบบ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.74 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.64 และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.84 ผลความต้องการใช้งานในอนาคตจากระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปมีความต้องการมากที่สุด สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการเดินทางไปปฏิบัติงานและการรายงานการเดินทาง ด้านการจัดซื้อจัดจ้างทางพัสดุ และด้านการใช้งบประมาณจากเงินนอกงบประมาณ (เงินรับฝาก) ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความต้องการมากที่สุด สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างทางพัสดุ ด้านโครงการวิจัยงบภายในและภายนอก และด้านโครงการ Super KPI ตามลำดับ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติมในการพัฒนาระบบ เช่น ควรปรับปรุงเมนูการใช้งานให้ง่าย และสะดวกกับผู้ใช้งาน การพัฒนาระบบให้มีความเสถียร และมีคู่มือในการใช้งานที่ชัดเจนและง่ายต่อการศึกษา
- Itemการสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงานและชำนาญการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) จงรักไทย เปลวทองงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจ เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน และอายุงาน รวมถึงเสนอแนะการดำเนินงานเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญงาน และชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 275 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบ ซึ่งใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมกับนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษา พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ตอบแบบทดสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอัตราเงินเดือน 20,001 – 25,000 บาท อายุงาน 7 ปี ขึ้นไป ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญงาน และชำนาญการไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน และอายุงาน มีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยควรเพิ่มการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการ ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา และควรจัดทำวารสารแผ่นพับ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่อธิบายถึงรายละเอียด และเนื้อหาเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการ ลงในเว๊ปไซต์ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาทราบต่อไป
- Itemการสำรวจและวิเคราะห์ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจระดับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันขององค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร จำนวน 52 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าคอนบาคเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test ANOVA Correlation และ Regression ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านวัฒนธรรมหรือจุดมุ่งหมายขององค์กร ด้านภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชา ด้านเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และด้านลักษณะงานมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ชุดตัวแปรทำนายทั้ง 52 ชุด มีความสัมพันธ์กับตัวแปรความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในระดับสูง (R = 0.995) ค่าสัมประสิทธิการทำนายมีค่า (R2 = 0.989) โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีทั้งหมด 5 ตัวแปร ได้แก่ 1) หน่วยงานภายในคณะมีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และสอดคล้องกับทิศทางตามยุทธศาสตร์คณะ 2) บุคลากรมีความเต็มใจที่จะปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรอย่างเคร่งครัด 3) บุคลากรและเพื่อนร่วมงานมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน 4) มีการแก้ไขปัญหาและข้อร้องทุกข์อย่างมีประสิทธิภาพ 5) บุคลากรได้รับผลการทำงานของตนเองในด้านความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemการผลิตสไลด์ถาวรของตัวอย่างโปรโตซัวเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วาสนา เมืองวงค์; ช่อผกา พวงศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำสไลด์ถาวรของตัวอย่างเชื้อโปรโตซัว Giardia /amblia ระยะ cyst ที่ได้จากโครงการออกตรวจพยาธิ เก็บรักษาสภาพเชื้อไว้ในน้ำยา 10% formain นำมาปรับปริมาณเชื้อเริ่มต้นเท่ากับ 105 cel/m/ ในการหาสภาวะที่เหมาะสมการทำสไลด์ถาวร จากผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการทำสไลด์ถาวร คือ การใช้เจลาตินต่อกลีเซอรอล ในอัตราส่วน 90:10 ในการช่วยให้เชื้อเกาะติดสไลด์ และทำการ fixation ด้วย 70% Alcoho จากนั้นทำการย้อมด้วยสี Trichrome ที่มีการปรับปรุงจากสูตร Wheatley 's modification โดยปรับความเข้มข้นของสี ight green เป็นร้อยละ 0.45 ระยะเวลาในการย้อม 15 นาที และล้างสีออกจากเซลล์ด้วย 70% alcohol ที่ผสม acetic เป็นเวลา 1 นาที และดึงน้ำด้วย 70% alcohol, 80% alcohol, 90% alcohol และ absolute alcohol ตามลำดับ จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะทำให้สามารถผลิตสื่อสไลด์ถาวร เพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับปรสิตวิทยาต่อไป ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีประโยชน์ในแง่ของการนำเชื้อที่เหลือใช้ จากโครงการบริการวิชาการมาใช้ในการเตรียมสไลด์ถาวร ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ส่งผลให้ลดรายจ่ายในการซื้อสไลด์ถาวรและเป็นการใช้สิ่งเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์
- Itemการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ศศิธร เทพรังสาร; นงคราญ ใจดี; อชิรวิชญ์ โพละการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพด้านความเหมาะสมของเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบ ความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบ ความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ประธานหลักสูตร และนักวิชาการศึกษาคณะ/วิทยาลัย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฟอร์มตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตร มหาวิทยาลัยพะเยา และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องมือตรวจสอบ ความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบฟอร์มตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตร มหาวิทยาลัยพะเยา มีค่าความเที่ยงตรง 0.95 2) ประธานหลักสูตรและนักวิชาการศึกษาคณะ/วิทยาลัย มีความพึงพอใจต่อเครื่องมือตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.19)
- Itemการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจและทดสอบรถใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วิศรุต มณีทิพย์งานวิจัยนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจและทดสอบรถใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ของศูนย์พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ การวิจัยเริ่มจากศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสำหรับการตรวจรถใช้ก๊าซ โดยการจับเวลาการให้บริการตรวจและทดสอบรถใช้ก๊าซ จากนั้นประเมินและทดสอบแนวทางการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจรถใช้ก๊าซให้ดียิ่งขึ้น จากการดำเนินงานวิจัยพบว่า การประเมินและทดสอบแนวทางการปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสามารถรองรับรถที่เข้ามาใช้บริการได้ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของผู้เข้ารับบริการ ในแต่ละวันโดยไม่ต้องนัดหมายในวันถัดไป จากที่รองรับได้ 8 คัน/วัน เป็น 14 คัน/วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 57
- Itemการประยุกต์ใช้ QR Code Google form และ Google Calendar ในการบริหารจัดการระบบจองห้องเรียน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ณัฎฐนิช พยนต์ยิ้ม; ลักษิกา สว่างยิ่ง; ปภาอร เขียวสีมาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบจองห้องโดยประยุกต์ใช้ QR Code จาก Google form และ Google Calendar โดยประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานระบบการจองห้องด้วย QR Code Google form ร่วมกับ Google Calendar และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบก่อนการพัฒนาระบบ กับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบหลังการพัฒนาระบบ โดยการสร้างระบบการจองห้อง และการตรวจสอบสถานะห้อง และสำรวจความพึงพอใจจากบุคลากรและนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired T-test ผลการวิจัยพบว่า QR Code Google form และ Google Calendar สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบได้เป็นอย่างดี จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ จำนวน 108 คน พบว่า ระบบ QR Code Google form มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.43 และระบบ Google Calendar มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.36 ซึ่งอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired T-test ความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ QR Code Google form ร่วมกับ Google Calendar หลังการพัฒนาระบบมากกว่าก่อนการพัฒนาระบบ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบก่อนการพัฒนาระบบ กับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบหลัง จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้ระบบ ระบบ QR Code Google form ร่วมกับ Google Calendar ในการบริหารจัดการระบบการจองห้องคณะทันตแพทยศาสตร์ มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนและเวลาในการจองห้อง ระบบมีความเป็นปัจจุบันทันสมัย ช่วยประหยัดเวลา และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
- Itemความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่จรรยาบรรณการใช้สัตว์สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) สาธิต จีนะสอนการวิจัยนี้ มีวัถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่จรรยาบรรณการใช้สัตว์ สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา โดยทำการสำรวจความพึงพอใจของนิสิตและบุคลากรจำนวน 146 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ สถิติทดสอบแบบเอฟ (F–test) ค่าความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ (LSD) ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 59.60 และเป็นอาจารย์ ร้อยละ 42.50 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานบริการของผู้ให้บริการอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ระหว่าง 3.83 – 4.08 จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นอาจารย์ มีความพึงพอใจในการได้รับบริการแตกต่างจากนิสิต และเจ้าหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
- Itemการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) จิราพร ขำจันทร์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ค้นหาสาเหตุของการแยกทิ้งของเสียอันตรายที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม และพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 329309 การวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย จำนวน 45 คน ในการดำเนินการวิจัยได้แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาเชิงสำรวจและการศึกษากึ่งทดลอง โดยใช้ผลการศึกษาในขั้นตอนแรก มาออกแบบโปรแกรมในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซี่งมีข้อมูลเกี่ยวกับ คะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาแสดงด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การแยกทิ้งของเสียอันตรายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ paired T-test ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ในส่วนของระดับทัศนคติ และพฤติกรรม ก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.916 และ 0.103 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม (p < 0.05) ดังนั้นก่อนมีการจัดการเรียนการสอนบทปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมี และเกิดของเสียอันตรายจากการทดลองหรือวิเคราะห์ ควรมีการจัดอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับระบบการจัดการของเสียอันตราย ข้อปฏิบัติ และกฎระเบียบในการใช้บริการห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้รับบริการ และควรมีการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อสัญลักษณ์ให้พร้อมก่อนมีการใช้ห้องปฏิบัติการ
- Itemการพัฒนาสื่อการสอนสำหรับงานทดสอบแรงดึงในรายวิชาปฏิบัติการสำหรับวิศวกรเครื่องกล 1 และรายวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) คเณศ อินต๊ะงานวิจัยนี้เป็นพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการทดสอบแรงดึง ในรายวิชาปฎิบัติการของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล การวิจัยเริ่มจากการประเมินความต้องการสื่อการสอนการทำปฏิบัติการของนิสิตที่เรียนรายวิชาปฏิบัติการ โดยการให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม แล้วจึงสร้างสื่อการสอนสำหรับใช้ในการเรียนการสอนปฏิบัติการทดสอบแรงดึง โดยได้สร้างสื่อการสอนในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นได้ให้นิสิตศึกษาการทำปฏิบัติการจากสื่อที่สร้างขึ้นก่อนทำปฏิบัติการจริงแล้ว จึงให้นิสิตประเมินความพึงพอใจต่อสื่อการสอน และประเมินผลการเรียนรู้จากสื่อการสอนด้วยการตอบแบบสอบถาม จากการดำเนินงานวิจัยพบว่า ในการประเมินความต้องการสื่อการสอนมีคะแนนเฉลี่ย 4.04 คิดเป็นความต้องการสื่อการสอนในระดับมาก เมื่อผู้วิจัยได้สร้างสื่อการสอนแล้วนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการสำหรับวิศวกรเครื่องกล 1 และรายวิชาปฏิบัติการวิศวกรรม เครื่องกล เมื่อนิสิตได้เรียนผ่านสื่อการสอน และตอบแบบสอบถาม พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน และมีผลการเรียนรู้จากสื่อการสอนในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 4.19 และ 3.93 ตามลำดับ แต่พบว่า ต้องปรับปรุงให้สื่อการสอนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- Itemความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาต่อการสอบออนไลน์(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ปราณิสา กัลวงษ์ยาการวิจัยครั้งนี้มีวัดถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาต่อการสอบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตทุกชั้นปีที่ศึกษาในรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ตอบแบบประเมิน จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความคิดเห็นของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาต่อการสอบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่ ด้านภาพรวม ด้านการบริหารจัดการสอบแบบออนไลน์ มีความคิดเห็นระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 3.61 โดยมีการวางแผนชี้แจงการจัดสอบก่อนการสอบ ร้อยละความคิดเห็นระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.08 ด้านระบบการสอบออนไลน์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 3.83 โดยเรื่องการเข้าถึงการสอบออนไลน์ทำได้ง่ายและสะดวก มีความคิดเห็นมาก คิดเป็นร้อยละ 4.09 ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการสอบออนไลน์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 1.12 โดยเรื่องช่วยให้ผู้เรียนสามารถสอบได้ทุกที่ มีความคิดเห็นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.80
- Itemระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อมและติดตามงานอาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ภานุวัฒน์ โลมากุล; วรินทร ซอกหอมการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้บริการด้านการประสานงานแจ้งซ่อมระหว่างกองอาคารสถานที่ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อช่วยให้ตรวจสอบ แสดงสถานการณ์ดำเนินการประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ภายในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านการแจ้งซ่อมและการติดตามการดำเนินงานช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วและข้อมูลที่มีความถูกต้องและตรวจสอบได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อมและติดตามงานอาคารสถานที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ได้นำเสนอแผนภาพการออกแบบระบบสารสนเทศเชิงวัตถุ (Object Oriented Design) ดำเนินการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศด้วยหลักคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบวงจรการพัฒนาระบบ ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบพีเอชพี (PHP) เป็นเครื่องมือในการจัดการระบบฐานข้อมูลของการพัฒนาระบบ หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ ผู้ศึกษาได้ทำการทดสอบการใช้งานระบบโดยผู้ใช้งาน เพื่อทำการทดสอบการทำงานของระบบที่จัดทำขึ้น ผลปรากฏว่า ด้านการนำมาใช้งาน ในด้านการทดสอบดำเนินงานประสานติดตามการแจ้งซ่อมงานอาคารสถานที่ภายในคณะฯ เกิดความสะดวกและตรวจสอบการดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้จริงและเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมีความพึงพอใจในด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ด้านประโยชน์ของการนำมาใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 และด้านความถูกต้องและประสิทธิภาพการทำงานของระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51
- Itemการหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมสไลด์ถาวรจากระยะตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในโฮสต์กึ่งกลางหอย Lymnaea spp(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ช่อผกา พวงศรีงานวิจัยนี้ศึกษาการหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมสไลด์ถาวร จากระยะตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในโฮสต์กึ่งกลางหอย Lymnaea spp. นอกจากนี้ตรวจหาตัวอ่อนระยะ Cercaria ของกลุ่มหนอนพยาธิใบไม้โดยใช้วิธี Cercaria shedding โดยทำการสุ่มและเก็บหอย Lymnaea spp. ด้วยวิธี count per unit of time ได้ทั้งหมด 655 ตัว ณ บริเวณพื้นที่นาข้าวในหมู่บ้านสันกว๊าน หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกที่ติดเชื้อทั้งหมดร้อยละ 0.45 (3/655) โดยสามารถจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนพยาธิระยะ Cercaria เป็น 2 ชนิด คือ Gymnocepharous cercariae และ Furcocercous cercariae คิดเป็นอัตราความชุกของหอยที่ติดเชื้อร้อยละ 0.15 (1/655) และ 0.31 (2/655) ตามลำดับ นอกจากนี้สามารถเก็บพยาธิตัวอ่อนระยะ Redia ได้อีกด้วย การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำสื่อสไลด์ถาวรตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะ Cercaria และระยะ Redia พบว่า การติดสไลด์ที่ไม่ใช้ไข่ขาว ย้อมด้วยสี Ehrlich's hematoxylin (1:10) ระยะเวลา 5 นาทีและขั้นตอนการตึงน้ำด้วย 70% alcohol 80% alcohol 90% alcohol และ absolute alcohol ตามลำดับ เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการทำสื่อสไลด์ถาวร งานวิจัยนี้สามารถผลิตสื่อสไลด์ถาวรตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ เพื่อใช้สาธิตตั้งกล้องจุลทรรศน์ในรายวิชาทางด้านปรสิตวิทยาต่อไป
- Itemระบบยืมคืนครุภัณฑ์งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วรินทร ซอกหอมการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อระบบยืมคืนครุภัณฑ์งานเทคโนโลยีสารสนทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานให้คล่องตัวขึ้น และเป็นการจัดทำฐานข้อมูลครุภัณฑ์งานเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้งานในด้านอื่น ๆ ต่อไป การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการแจ้งซ่อม และติดตามงานอาคารสถานที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ใช้หลักการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศเชิงวัตถุ (OOP: Object Oriented Programming และระเบียบวิธีพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอจาย (Agile Methodology) ใช้ภาษาโปรแกรม PHP (Personal Home Page) ในรูปแบบกรอบการดำเนินงาน Laravel Framework จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบระบบฐานข้อมูล (Database System) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเป็นเครื่องมือ ในการจัดการระบบฐานข้อมูลของการพัฒนาระบบหลังจากได้ทำการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ผู้ศึกษาได้ให้ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่มทำการทดสอบการทำงานของระบบที่จัดทำขึ้น โดยมี 4 กลุ่มผู้ใช้งาน คือ ผู้ใช้งานระบบหัวหน้างาน คณบดี และผู้ดูแลระบบ ผลปรากฏว่าสามารถใช้ในการดำเนินงานตามขั้นตอนการยืมคืนครุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยพะเยาในรูปแบบระบบสารสนเทศได้ และผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยในด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 ด้านความถูกต้องและประสิทธิภาพการทำงานของระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 และด้านประโยชน์ของการนำมาใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55