การสำรวจความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา

Loading...
Thumbnail Image
Date
2020
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบ ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน และด้านความต้องการใช้งานในอนาคต จากระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 32 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 32 คน มีผู้เคยใช้งานระบบในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 16 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 30 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณมหาวิทยาลัยพะเยา ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.91 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.56 และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.80 ในกลุ่มผู้ดูแลระบบ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.74 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.64 และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.84 ผลความต้องการใช้งานในอนาคตจากระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปมีความต้องการมากที่สุด สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการเดินทางไปปฏิบัติงานและการรายงานการเดินทาง ด้านการจัดซื้อจัดจ้างทางพัสดุ และด้านการใช้งบประมาณจากเงินนอกงบประมาณ (เงินรับฝาก) ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความต้องการมากที่สุด สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างทางพัสดุ ด้านโครงการวิจัยงบภายในและภายนอก และด้านโครงการ Super KPI ตามลำดับ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติมในการพัฒนาระบบ เช่น ควรปรับปรุงเมนูการใช้งานให้ง่าย และสะดวกกับผู้ใช้งาน การพัฒนาระบบให้มีความเสถียร และมีคู่มือในการใช้งานที่ชัดเจนและง่ายต่อการศึกษา
Description
The object of this study is to surveying for Attitude and expectation of The e- Budget Program University of Phayao (Budgeting and Planning Management Program) in 4 dimensions as Effective and efficiency, Design, utilize and service and Further requirement for Budgeting and Planning Management Program. The population of the study is 64 University of Phayao staffs separate for 32 normal user and 32 Admin users. The Former normal user is 16 and the former admin user is 30. The instrument applied in data collecting are self-test online questionnaire. The Result of the study found the satisfaction of The Budgeting and Planning Management Program: The normal user consensus the e-Budget that the Effective and efficiency is Good the average score is 2.91, Design is Good the average score is 2.56, Utilize and service is Good the average score is 2.80, The Admin user consensus the e-Budget Effective and efficiency is Good the average score is 2.74, Design is Good the average score is 2.64, Utilize and service is Good the average score is 2.84, For the Further requirement The most top 3 demand from normal user is Work Commutes Report Government procurement and Deposit Budgeting. The most top 3 demand from Admin user is Government procurement, Research Fund and Super KPI Project management. The Program suggestion requires facilitate and simplify program menu, stableness and user manual or handbook.
Keywords
ความต้องการ, ความคาดหวัง, ระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ, Requirement, Expectation, Budgeting and Planning Management Program
Citation