R2R : Routine to Research
Permanent URI for this collection
งานวิจัยของบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา
Browse
Recent Submissions
- Itemผลการใช้หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้และความมั่นใจในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) กฤษณะ วิรัตน์เกษมการวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการใช้หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน การกู้ชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตร และเปรียบเทียบระดับความรู้และความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาสายสนับสนุน ผู้ปฏิบัติงานด้านบุคลากร จำนวน 24 คน ที่ครอบคลุมด้วยเนื้อหาที่สำคัญในการบรรยายและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ (1) การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (2) การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยวิธีกดหน้าอก (3) การใช้อุปกรณ์ฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (4) การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ และ (5) การจัดท่าพักฟื้นผู้เจ็บป่วยทั่วไป ซึ่งใช้เวลาในการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและนำเข้าสู่โปรแกรม SPSS เพื่อทำการวิเคราะห์ผลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการนำเสนอผลการ ศึกษา พบว่า หลังจากการใช้หลักสูตร ( = 17.42, SD = 1.38) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้หลักสูตร ( = 14.54, SD = 2.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.000) และมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจเท่ากับ 3.97 มีระดับความมั่นใจมากขึ้นกว่าก่อนการใช้หลักสูตร (2.62) ซึ่งมีระดับความมั่นใจน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างได้เสนอแนะว่า เป็นโครงการอบรมในหัวข้อที่เป็นประโยชน์มาก เห็นควรเสนอมหาวิทยาลัยรับจัดอบรมให้บุคลากรและนิสิตทุกส่วนงาน
- Itemการพัฒนาหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะสำหรับนิสิตกายภาพบำบัด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) พัชรินทร์ พรหมเผ่า; พลากร อุดมกิจปกรณ์ทักษะการดูดเสมหะ เป็นหนึ่งในทักษะที่นักกายภาพบำบัดควรปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง การใช้หุ่นจำลองช่วยในการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบันหุ่นจำลองส่วนใหญ่ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง จึงมีใช้อย่างจำกัดในสถานศึกษา นักวิจัยจึงได้คิดประดิษฐ์หุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะที่ต้นทุนต่ำขึ้น สำหรับใช้ในการเรียนการสอนของนิสิตกายภาพบำบัด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ศึกษาในนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 3 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบประเมินประสิทธิภาพหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานหุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพหุ่นจำลองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.69 ± 0.47 คะแนน) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด (4.58 ± 0.50 คะแนน) สรุปได้ว่า หุ่นจำลองฝึกปฏิบัติการดูดเสมหะที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะการดูดเสมหะสำหรับนิสิตกายภาพบำบัดก่อนฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงได้
- Itemการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) วราพงษ์ คล่องแคล่ว; นภัสวรรณ คำอิสสระการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนาตามแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการกองทุน จำนวน 5 คน และนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความประสงค์ยื่นขอรับทุน ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 141 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา และ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานระบบ ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติครอบคลุมการดำเนินงานด้านการสมัครของรับทุนของนิสิต และการติดตามผลการพิจารณาสนับสนุนทุนเพื่อการศึกษา ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานระบบ พบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 และ 4.08 ตามลำดับ)
- Itemการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เรื่อง รีเฟล็กซ์ดั้งเดิมและปฏิกิริยาการตอบสนองอัตโนมัติในกายภาพบำบัดในเด็ก สำหรับนิสิตกายภาพบำบัด(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) จักรพันธ์ ฮ่องลึกงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในเด็ก เรื่อง การตรวจประเมินรีเฟล็กซ์ดั้งเดิม และปฏิกิริยาการตอบสนองอัตโนมัติ 2) ประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในเด็ก 3) ประเมินความพึงพอใจของนิสิตกายภาพบำบัดต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในเด็ก และ 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตกายภาพบำบัดระหว่างชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 ต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในเด็ก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2566 จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) สื่อการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในเด็ก 2) แบบประเมินประสิทธิภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิต แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 89 คน อายุเฉลี่ย 21.58 ± 0.82 ปี เป็นชั้นปีที่ 3 จำนวน 44 คน (ร้อยละ 49.44) และชั้นปีที่ 4 จำนวน 45 คน (ร้อยละ 50.56) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) ผลประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในเด็ก โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (4.74±0.30) 2) ประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของนิสิตกายภาพบำบัดโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (4.74 0.32) และ 3) ไม่พบความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนระหว่างชั้นปี
- Itemการพัฒนาระบบสารสนเทศการลางานของบุคลากร กรณีศึกษา : กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) นพรัตน์ พระดวงงามการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาและพัฒนาระบบการลาออนไลน์ของบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา โดยกรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่ นำมาซึ่งแนวทางในการพัฒนาระบบการลาออนไลน์ที่สามารถนำไปใช้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยาทั้งหมด โดยในการวิจัยได้ทำการศึกษาระบบการลาระบบเดิม เพื่อหาแนวทางนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ระบบการลาออนไลน์ระบบใหม่สามารถตอบสนองความต้องการ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้มากที่สุด รวมถึงเหมาะสมกับบริบทการทำงานของมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างแท้จริง ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครผู้ใช้งานระบบการลาออนไลน์ทั้งหมด ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีความถึงกันยายน พ.ศ. 2566 พึงพอใจต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบ โดยรวมพบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.46, S.D. = 0.64) ความพึงพอใจในด้านความสามารถในการทำงานตามหน้าที่ของระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.39, S.D. = 0.68) ด้านความง่ายต่อการใช้งานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.43, S.D. = 0.62) และในด้านความปลอดภัยของการรักษาข้อมูลมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.54, S.D. = 0.59) ซึ่งจากผลการวิจัยจากการทดลองใช้งานจริงของกลุ่มอาสาสมัคร และทำแบบประเมินสรุปได้ว่า งานวิจัยเรื่องระบบการลาออนไลน์ กรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยพะเยาอยู่ในระดับมาก