R2R : Routine to Research
Permanent URI for this collection
งานวิจัยของบุคลากร มหาวิทยาลัยพะเยา
Browse
Browsing R2R : Routine to Research by Title
Now showing 1 - 20 of 34
Results Per Page
Sort Options
- Itemการประยุกต์ใช้ QR Code Google form และ Google Calendar ในการบริหารจัดการระบบจองห้องเรียน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ณัฎฐนิช พยนต์ยิ้ม; ลักษิกา สว่างยิ่ง; ปภาอร เขียวสีมาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบจองห้องโดยประยุกต์ใช้ QR Code จาก Google form และ Google Calendar โดยประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานระบบการจองห้องด้วย QR Code Google form ร่วมกับ Google Calendar และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบก่อนการพัฒนาระบบ กับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบหลังการพัฒนาระบบ โดยการสร้างระบบการจองห้อง และการตรวจสอบสถานะห้อง และสำรวจความพึงพอใจจากบุคลากรและนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired T-test ผลการวิจัยพบว่า QR Code Google form และ Google Calendar สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบได้เป็นอย่างดี จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ จำนวน 108 คน พบว่า ระบบ QR Code Google form มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.43 และระบบ Google Calendar มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.36 ซึ่งอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired T-test ความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ QR Code Google form ร่วมกับ Google Calendar หลังการพัฒนาระบบมากกว่าก่อนการพัฒนาระบบ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบก่อนการพัฒนาระบบ กับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบหลัง จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้ระบบ ระบบ QR Code Google form ร่วมกับ Google Calendar ในการบริหารจัดการระบบการจองห้องคณะทันตแพทยศาสตร์ มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนและเวลาในการจองห้อง ระบบมีความเป็นปัจจุบันทันสมัย ช่วยประหยัดเวลา และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
- Itemการประเมินความเสี่ยงด้านการจัดการระบบสารเคมีของห้องปฏิบัติการชีวเคมีตามมาตรฐานความปลอดภัย ESPReL คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ปิยะวรรณ นันตาบุญการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและประเมินความเสี่ยงด้านการจัดการระบบสารเคมีในห้องปฏิบัติการชีวเคมี ในการดำเนินการวิจัยนี้ได้ใช้ ESPReL Checklist ในองค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี เป็นเครื่องมือในการสำรวจและทำการประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงในเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของศูนย์บริหารความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล จากการศึกษาพบว่า การจัดการสารเคมีของห้องปฏิบัติการชีวเคมี ไม่มีความเสี่ยงในด้านการจัดการข้อมูลสารเคมี ส่วนด้านการจัดเก็บสารเคมี และการเคลื่อนย้ายสารเคมีภายในห้องปฏิบัติการ มีผลการประเมินความเสี่ยงต่ำซึ่งมีผลต่อสุขภาพเล็กน้อยโดยไม่จำเป็นต้องรักษาและไม่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ส่วนการเคลื่อนย้ายสารเคมีภายนอกห้องปฏิบัติการ พบว่า มีความเสี่ยงปานกลาง มีผลต่อสุขภาพปานกลางที่สามารถหายได้ อาจมีผลกระทบจากการสัมผัสในลักษณะซ้ำ ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งจะต้องมีการสร้างมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และจัดทำแผนความเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป
- Itemการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2018) เทวา หมื่นจันทร์การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากระบบขนส่งมวลชน ในมหาวิทยาลัยพะเยา ใช้วิธีการคำนวณและค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามคำแนะนำของคู่มือการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปี 2006 (Revised 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories) โดยมีรถโดยสารทั้งหมด 40 คัน ทั้งหมดเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียว โดยประเมินก๊าซเรือนกระจกหลักที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนรตรัสออกไซด์ (N2O) ผลการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบขนส่งมวลชน ในมหาวิทยาลัยพะเยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ที่ใช้เชื้อเพลิง NGV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1,579.48 tCO2eq/ปี เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนการสิ้นเปลืองกับเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่นิยมใช้ในการขนส่งมวลชนโดยทั่วไปแล้ว การใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 1,605.24 tCO2eq/ปี เพราะฉะนั้นการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยาในปีงบประมาณ 2560 จึงสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 25.77 tCO2eq นอกจากนี้ จากการศึกษาการปล่อยมลพิษของการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยพะเยา โดยประเมินจากมลพิษหลัก 4 ชนิด พบว่า มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 1,857.66 Kg/ปี ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) 3,096.10 Kg/ปี ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) 8,669.07 Kg/ปี และเกิดฝุ่นละออง (PM) 123.84 Kg/ปี เมื่อเปรียบเทียบตามอัตราส่วนการสิ้นเปลืองกับเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล พบว่า การใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) มีการปล่อยมลพิษที่น้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล โดยคิดเป็นปริมาณดังนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) น้อยกว่า 8.33 เท่า ก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) น้อยกว่า 1.40 เท่า ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) น้อยกว่า 3.71 เท่า และเกิดฝุ่นละออง(PM) น้อยกว่า 11.00 เท่า
- Itemการประเมินผลโครงการในแผนปฏิบัติการประจำปี 2563 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ดวงใจ ใจกล้าการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงจำนวนโครงการที่สามารถนำไปใช้จริงในการปฏิบัติงาน อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงการตามแผนการปฏิบัติงานประจำปี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ กับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะทันตแพทยศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และใช้สถิติ Student T-test เปรียบเทียบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ ต่อการประเมินผลโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2563 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีในทุก ๆ ด้าน โดยค่าเฉลี่ยรวมของทุกโครงการเท่ากับ 4.02 และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2563 กับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะ พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงทุกโครงการที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า โครงการตามแผนปฏิบัติงานปี 2563 สามารถดำเนินการต่อได้ในปีต่อไปทั้ง 11 โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Itemการผลิตสไลด์ถาวรของตัวอย่างโปรโตซัวเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วาสนา เมืองวงค์; ช่อผกา พวงศรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทำสไลด์ถาวรของตัวอย่างเชื้อโปรโตซัว Giardia /amblia ระยะ cyst ที่ได้จากโครงการออกตรวจพยาธิ เก็บรักษาสภาพเชื้อไว้ในน้ำยา 10% formain นำมาปรับปริมาณเชื้อเริ่มต้นเท่ากับ 105 cel/m/ ในการหาสภาวะที่เหมาะสมการทำสไลด์ถาวร จากผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการทำสไลด์ถาวร คือ การใช้เจลาตินต่อกลีเซอรอล ในอัตราส่วน 90:10 ในการช่วยให้เชื้อเกาะติดสไลด์ และทำการ fixation ด้วย 70% Alcoho จากนั้นทำการย้อมด้วยสี Trichrome ที่มีการปรับปรุงจากสูตร Wheatley 's modification โดยปรับความเข้มข้นของสี ight green เป็นร้อยละ 0.45 ระยะเวลาในการย้อม 15 นาที และล้างสีออกจากเซลล์ด้วย 70% alcohol ที่ผสม acetic เป็นเวลา 1 นาที และดึงน้ำด้วย 70% alcohol, 80% alcohol, 90% alcohol และ absolute alcohol ตามลำดับ จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะทำให้สามารถผลิตสื่อสไลด์ถาวร เพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับปรสิตวิทยาต่อไป ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีประโยชน์ในแง่ของการนำเชื้อที่เหลือใช้ จากโครงการบริการวิชาการมาใช้ในการเตรียมสไลด์ถาวร ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ส่งผลให้ลดรายจ่ายในการซื้อสไลด์ถาวรและเป็นการใช้สิ่งเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์
- Itemการพัฒนาระบบการบริหารตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กตัญชลี วันแก้วจากการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการบริหารตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาของการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี โดยใช้ 4 หลักการดังนี้ การวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของปัญหาโดยใช้กราฟพาเรโต แผนผังก้างปลา (fish bone diagram) โดยใช้ 5M + 1E หลักการ why why analysis และทฤษฎี ECRS จากผลวิจัยได้เครื่องมือที่มาช่วยในการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี โดยมี 3 ระบบ ดังนี้ 1) ระบบ Asset system (ระบบของมหาวิทยาลัยพะเยา) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านที่ 1 มีความผิดพลาดของข้อมูลครุภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หากเทียบข้อมูลปัญหาในปีงปม. 62 และปีงปม. 63 ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ 17 วัน คิดเป็นร้อยละ 36.17 และปัญหาด้านที่ 3 ไม่มีรูปภาพประกอบการตรวจสอบได้ ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ 6 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.57 2) ระบบตารางวางแผนการตรวจสอบครุภัณฑ์ล่วงหน้า (ออกแบบใหม่) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านที่ 2 ไม่ได้วางแผนในการตรวจสอบ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหากเทียบข้อมูลปัญหาในปีงปม. 62 และปีงปม. 63 ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ 29 วัน คิดเป็นร้อยละ 59.18 3) ระบบตาราง list เอกสารที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี (ออกแบบใหม่) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านที่ 4 เอกสารไม่ครบถ้วน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย หากเทียบข้อมูลปัญหาในปีงปม. 60 และปีงปม. 63 ซึ่งสามารถลดระยะเวลาแก้ไขปัญหาลงได้ ซึ่งสามารถนำมาลดระยะเวลาการแก้ไขปัญหาของการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปีลงได้ 6 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.57
- Itemการพัฒนาระบบการยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) จาตุรนต์ กัณทะธงการวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบของการศึกษา การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำมาพัฒนาระบบการยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการยืมครุภัณฑ์การศึกษารูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ที่พัฒนาขึ้นของผู้ใช้งานระบบการยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นิสิตที่ใช้บริการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งเป็นนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 113 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลัง โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Dependent T-test เมื่อข้อมูลมีการกระจายตัวแบบปกติ ( Normal distribution) หรือใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test เมื่อข้อมูลมีการกระจายตัวแบบไม่ปกติ (Non-normal distribution) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-Value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ค่ามัธยฐานความพึงพอใจหลังพัฒนาระบบการยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีความพึงพอใจมากกว่าก่อนพัฒนาระบบ การยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-Value < 0.05 ดังนั้นก่อนมีการใช้งานระบบยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ควรมีการทดลองใช้งาน และควรจัดการเตรียมความพร้อม อธิบายขั้นตอนการใช้งานระบบยืมครุภัณฑ์การศึกษาให้กับกลุ่มตัวอย่าง ก่อนที่มีการใช้งานการยืมครุภัณฑ์การศึกษาในห้องปฏิบัติการ
- Itemการพัฒนาระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ภานุพงศ์ มูลจันทร์ต๊ะการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา และแบบสอบถามประสิทธิภาพการใช้งานระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากรของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 8 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา ทำให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย ช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรในการตรวจสอบครุภัณฑ์ที่ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบ สามารถปรับปรุงข้อมูลครุภัณฑ์ที่มีการเคลื่อนย้ายให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา ทำให้การควบคุม ติดตาม ตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปีเกิดความรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังรองรับการตรวจสอบครุภัณฑ์จากหน่วยตรวจสอบภายใน และออดิทผู้ตรวจสอบของมหาวิทยาลัยพะเยา และได้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจในการบริหารจัดการครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบควบคุมครุภัณฑ์ของวิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.68, S.D. = 0.65)
- Itemการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำหรับการวางแผนพัฒนาบุคลากรคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) รณชัย ทิพย์มณฑาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้แก่ 1) บุคลากรสายวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 64 คน 2) บุคลากรสายสนับสนุน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 23 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้ข้อมูล ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้าสำนักงานคณะ หัวหน้างาน และประธานหลักสูตร จำนวน 21 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรม Draw.io และโปรแกรม Microsoft Power Point ใช้สำหรับวิเคราะห์ออกแบบฐานข้อมูล 2) โปรแกรม Visual Studio Code ใช้สำหรับการพัฒนาระบบ 3) แบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ สามารถใช้งานข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลประวัติการพัฒนาตนเอง ข้อมูลการขอตำแหน่งทางวิชาการ ข้อมูลแผนพัฒนาบุคลากร ข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านความต้องการของผู้ใช้งาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.33) 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ด้านหน้าที่ของระบบ อยู่ในระดับมาก (x̅=3.71) 4) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ด้านการใช้งานโปรแกรม อยู่ในระดับมาก (x̅=4.02) 5) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.29)
- Itemการพัฒนาระบบเลือกตั้งออนไลน์ ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาให้มีความมั่นคงปลอดภัย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ณัฐวุฒิ ดาวทองการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบเลือกตั้งออนไลน์ ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถรองรับผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์ได้พร้อมกันไม่น้อยกว่า 300 คน โดยระบบต้องใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือ Apache JMeter ในการวิเคราะห์ และใช้เทคนิคการเข้ารหัสและถอดรหัส เพื่อปกป้องข้อมูลผลการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากที่ได้ทำการพัฒนาระบบเลือกตั้งออนไลน์ ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีความมั่นคงปลอดภัย ผู้วิจัยได้นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง โดยนำไปใช้กับการเลือกตั้งผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งมีผู้มาใช้สิทธิ์ จำนวน 3,652 คน ผลปรากฏว่าระบบสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเลือกตั้งสำเร็จลุล่วงด้วยดี ไม่มีปัญหาติดขัดทางด้านระบบ ในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือ Apache JMeter ทดลองสร้าง request ให้แก่ระบบ ครั้งละ 300 request ในช่วงเวลา 1 นาที ซึ่งผลการทดสอบได้ค่า Throughput เท่ากับ 300/นาที และไม่มีค่า Error ซึ่งเท่ากับว่าระบบสามารถรองรับผู้ใช้งานได้พร้อมกัน 300 คนใน 1 นาทีอย่างมีประสิทธิภาพ สุดท้ายการเข้ารหัสและถอดรหัสผลการเลือกตั้งระบบ สามารถถอดรหัสผลการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้อง โดยใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ อัลกอริทึม RSA ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 10 วินาที ในการถอดรหัสผลการเลือกตั้งทั้งหมด อีกทั้งยังมีผลการประเมินความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเมินจากนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้นำนิสิต จำนวน 500 คน โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้ ด้านความปลอดภัย (𝑥̅ = 3.95) ด้านการใช้งานโปรแกรม (𝑥̅ = 3.91) ด้านหน้าที่ของระบบ (𝑥̅ = 3.90) และด้านความสามารถทำงานตรงตามความต้องการ (𝑥̅ = 3.88) จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า ระบบเลือกตั้งผู้นำนิสิตสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นิสิตมีความพึงพอใจด้านความปลอดภัยมากที่สุด มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่มุ่งพัฒนาระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว
- Itemการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) จิราพร ขำจันทร์การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ค้นหาสาเหตุของการแยกทิ้งของเสียอันตรายที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม และพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 329309 การวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย จำนวน 45 คน ในการดำเนินการวิจัยได้แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาเชิงสำรวจและการศึกษากึ่งทดลอง โดยใช้ผลการศึกษาในขั้นตอนแรก มาออกแบบโปรแกรมในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซี่งมีข้อมูลเกี่ยวกับ คะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาแสดงด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การแยกทิ้งของเสียอันตรายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ paired T-test ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ในส่วนของระดับทัศนคติ และพฤติกรรม ก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.916 และ 0.103 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม (p < 0.05) ดังนั้นก่อนมีการจัดการเรียนการสอนบทปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมี และเกิดของเสียอันตรายจากการทดลองหรือวิเคราะห์ ควรมีการจัดอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับระบบการจัดการของเสียอันตราย ข้อปฏิบัติ และกฎระเบียบในการใช้บริการห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้รับบริการ และควรมีการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อสัญลักษณ์ให้พร้อมก่อนมีการใช้ห้องปฏิบัติการ
- Itemการพัฒนาสื่อการสอนสำหรับงานทดสอบแรงดึงในรายวิชาปฏิบัติการสำหรับวิศวกรเครื่องกล 1 และรายวิชาปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) คเณศ อินต๊ะงานวิจัยนี้เป็นพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการทดสอบแรงดึง ในรายวิชาปฎิบัติการของสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล การวิจัยเริ่มจากการประเมินความต้องการสื่อการสอนการทำปฏิบัติการของนิสิตที่เรียนรายวิชาปฏิบัติการ โดยการให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม แล้วจึงสร้างสื่อการสอนสำหรับใช้ในการเรียนการสอนปฏิบัติการทดสอบแรงดึง โดยได้สร้างสื่อการสอนในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นได้ให้นิสิตศึกษาการทำปฏิบัติการจากสื่อที่สร้างขึ้นก่อนทำปฏิบัติการจริงแล้ว จึงให้นิสิตประเมินความพึงพอใจต่อสื่อการสอน และประเมินผลการเรียนรู้จากสื่อการสอนด้วยการตอบแบบสอบถาม จากการดำเนินงานวิจัยพบว่า ในการประเมินความต้องการสื่อการสอนมีคะแนนเฉลี่ย 4.04 คิดเป็นความต้องการสื่อการสอนในระดับมาก เมื่อผู้วิจัยได้สร้างสื่อการสอนแล้วนำไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการสำหรับวิศวกรเครื่องกล 1 และรายวิชาปฏิบัติการวิศวกรรม เครื่องกล เมื่อนิสิตได้เรียนผ่านสื่อการสอน และตอบแบบสอบถาม พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอน และมีผลการเรียนรู้จากสื่อการสอนในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 4.19 และ 3.93 ตามลำดับ แต่พบว่า ต้องปรับปรุงให้สื่อการสอนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- Itemการพัฒนาสื่อการเรียนออนไลน์ สำหรับการเขียนโปรแกรมและควบคุมเครื่องกัด CNC ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมวิศวกรรมอุตสาหการ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ปิยะพงษ์ ยารวงงานวิจัยนี้เป็นการศึกษา เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนออนไลน์ สำหรับการเขียนโปรแกรมและควบคุมเครื่องกัด CNC ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ สื่อการเรียนออนไลน์ สำหรับการเขียนโปรแกรม และควบคุมเครื่องกัด CNC ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบหลังการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อสื่อการเรียนออนไลน์ สำหรับการเขียนโปรแกรม และควบคุมเครื่องกัด CNC ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมวิศวกรรมอุตสาหการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (T-test) ผลการศึกษาพบว่า สื่อการเรียนออนไลน์ สำหรับการเขียนโปรแกรมและควบคุมเครื่องกัด CNC ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมวิศวกรรมอุตสาหการ ที่สร้างขึ้นนิสิตมีความเข้าใจ และพอใจจากการเรียนโดยใช้สื่อการเรียนออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1 มีค่าเท่ากับ 82.81, E2 มีค่าเท่ากับ 78.67 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- Itemการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ศศิธร เทพรังสาร; นงคราญ ใจดี; อชิรวิชญ์ โพละการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพด้านความเหมาะสมของเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบ ความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบ ความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ประธานหลักสูตร และนักวิชาการศึกษาคณะ/วิทยาลัย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฟอร์มตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตร มหาวิทยาลัยพะเยา และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเครื่องมือตรวจสอบ ความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบฟอร์มตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตร มหาวิทยาลัยพะเยา มีค่าความเที่ยงตรง 0.95 2) ประธานหลักสูตรและนักวิชาการศึกษาคณะ/วิทยาลัย มีความพึงพอใจต่อเครื่องมือตรวจสอบความถูกต้องรายละเอียดของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.19)
- Itemการพัฒนาโปรแกรมบริหารงบประมาณรายจ่าย กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) รณภัทร อักษรศิริการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบบริหารงบประมาณรายจ่าย และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมบริหารงบประมาณรายจ่าย โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel การดำเนินงานมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งาน 2) วิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนผังก้างปลา 3) วางแผนและพัฒนาโปรแกรม 4) ทดสอบใช้โปรแกรม 5) นำผลทดสอบมาปรับปรุงโปรแกรม 6) นำโปรแกรมไปใช้งานจริง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ คณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ Microsoft Excel โดยวิธีการประยุกต์ใช้คำสั่ง ดังนี้ 1) FILTERS โดยใช้ดึงข้อมูลมาแสดงเป็นรายงานตามเงื่อนไขที่ระบุ 2) COUNTIFS โดยใช้นับจำนวนตามเงื่อนไขที่ระบุ 3) SUMIFS โดยใช้คำนวณผลรวมตามเงื่อนไขที่ระบุ 4) IF โดยใช้เป็นเงื่อนไขในการเลือกข้อมูลเพื่อแสดงผล 5) Conditional โดยใช้ในการปรับแต่ง Cell ข้อมูลตามเงื่อนไขที่ระบุ 6) Formatting โดยใช้ปรับแต่งตัวอักษรตามเงื่อนไขที่ระบุ 7) Form Selection โดยใช้เป็นช่องรับข้อมูลเงื่อนไขสำหรับการแสดงรายงาน และหลังจากการใช้งานระบบได้สอบถามความคิดเห็นการใช้งานจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 1) ควรมีรายงาน Dashboard แสดงข้อมูลการใช้งบประมาณหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้ผู้ใช้เห็นภาพรวมการใช้งบประมาณไปในทิศทางใด 2) ควรมีรายงานแสดงการเปรียบเทียบการใช้งบประมาณย้อนหลัง 3-4 ปี เพื่อใช้สนับสนุนการวางแผนในปีงบประมาณถัดไป ผลการดำเนินการพัฒนาโปรแกรม ประกอบไปด้วย 4 ระบบ คือ 1) ระบบบันทึกข้อมูลการใช้งบประมาณ 2) ระบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงงบประมาณ 3) ระบบส่งออกรายงานการใช้งบประมาณ และ 4) ระบบการตรวจการใช้งบประมาณแบบเรียลไทม์
- Itemการศึกษาความหลากหลายของยีสต์จากดินบริเวณมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ทัดดาว อินทร์ประสิทธิ์การศึกษาการแยกยีสต์และระบุสปีชีส์จากดินบริเวณศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในป่าบริเวณมหาวิทยาลัยพะเยา โดยการเก็บตัวอย่างดิน 24 ตัวอย่าง สามารถวัดค่าความเป็นกรดด่างได้เท่ากับ 6 ซึ่งมีความเป็นกรดอ่อน และสามารถแยกตัวอย่างยีสต์ทั้งหมดได้ 78 ไอโซเลท โดยการใช้วิธี Enrichment ในอาหารเลี้ยงเชื้อ YM broth ที่เติมยาปฏิชีวนะ Chloramphenicol และ Sodium propionate เมื่อทำการจัดกลุ่มยีสต์ด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา และชีวเคมี สามารถแบ่งกลุ่มยีสต์ได้ทั้งหมด 18 กลุ่ม จากเชื้อยีสต์ทั้งหมด 78 ไอโซเลท และเมื่อนำเชื้อยีสต์ที่ได้ ไปทดสอบทางชีวโมเลกุล โดยการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ D1/D2 domains ของ 26S rRNA gene สามารถระบุสปีชีส์ได้ 7 สปีชีส์ คือ Schwanniomyces vanrijiae var. vanrijiae, Saturnispora sekii Debaryomyces sp. UFMG-CM-Y343, Vanrija humicola Scheffersomyces gosingicus, Candida dendronema และ Tetrapisispora namnaonaoensis ซึ่งจากจำนวนสปีชีส์ทั้งหมด พบว่า เชื้อยีสต์ Schwanniomyces vanrijiae var. vanrijiae เป็นเชื้อที่พบได้สูงที่สุดจากบริเวณป่าในศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช และจากเชื้อยีสต์ที่แยกได้และรู้ชื่อสปีชีส์จะนำไปทำสไลด์ถาวร เพื่อใช้ในการเรียนการสอนปฏิบัติการในรายวิชายีสต์และยีสต์เทคโนโลยีต่อไป
- Itemการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) วรรณา เสริมสุขการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา การวิจัยในครั้งนี้ มีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ จากกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 34 คน จากเครือข่ายวิเทศสัมพันธ์ ในลักษณะของข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 5 คน จากผู้ที่ตอบแบบสอบถามที่มีคะแนนสูงสุดของ 3 กลุ่มสาขาวิชาของคณะ/วิทยาลัย/โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มสาขาวิชามนุษย์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิเทศสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐานประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โดยใช้การวิเดราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยจากแบบสอบถาม พบว่า เพศชายและเพศหญิง สังกัดแต่ละคณะวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิเทศสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยภายใน (SWOT) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.19) ด้านปัจจัยภายนอก (PESTEL) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.45) ด้านการบริหารงาน (PDCA) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.53) ในส่วนผลของข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านปัจจัยภายใน (SWOT) ในองค์กรยังคงมีแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นสากลอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องด้วยโครงสร้างองค์กรด้านงานวิเทศสัมพันธ์ยังคงมีความไม่ชัดเจน ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ยังอยู่ระดับปานกลาง ทำให้การดำเนินงานการปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ยังมีลำดับขั้นตอนการดำเนินงานไม่ครอบคลุม ประกอบกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์มีความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยภายนอก (PESTEL) มีผลต่อการพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์โลกปัจจุบันส่งผลต่อการขาดความต่อเนื่อง ในการปฏิบัติงานด้านงานวิเทศสัมพันธ์ในองค์กรเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การประสานงานและความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกขาดความต่อเนื่อง ทำให้การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาด้านความเป็นสากลในองค์กรยังอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงาน (PDCA) มีผลต่อการพัฒนาการบริหารงานวิเทศสัมพันธ์ ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยา ถ้าในองค์กรการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านความเป็นสากลยังมีความไม่ชัดเจน การบริหารงานด้านความป็นสากลยังคงต้องพัฒนา และเตรียมพร้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความเป็นสากลต่อไป
- Itemการสำรวจความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) ฤทธิชัย มณีทิพย์การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการและความคาดหวังที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบ ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน และด้านความต้องการใช้งานในอนาคต จากระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 32 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 32 คน มีผู้เคยใช้งานระบบในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 16 คน และผู้ดูแลระบบ จำนวน 30 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณมหาวิทยาลัยพะเยา ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.91 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.56 และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.80 ในกลุ่มผู้ดูแลระบบ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยที่ 2.74 ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.64 และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ย 2.84 ผลความต้องการใช้งานในอนาคตจากระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปมีความต้องการมากที่สุด สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการเดินทางไปปฏิบัติงานและการรายงานการเดินทาง ด้านการจัดซื้อจัดจ้างทางพัสดุ และด้านการใช้งบประมาณจากเงินนอกงบประมาณ (เงินรับฝาก) ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ดูแลระบบ มีความต้องการมากที่สุด สามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างทางพัสดุ ด้านโครงการวิจัยงบภายในและภายนอก และด้านโครงการ Super KPI ตามลำดับ ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติมในการพัฒนาระบบ เช่น ควรปรับปรุงเมนูการใช้งานให้ง่าย และสะดวกกับผู้ใช้งาน การพัฒนาระบบให้มีความเสถียร และมีคู่มือในการใช้งานที่ชัดเจนและง่ายต่อการศึกษา
- Itemการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ฤทธิชัย มณีทิพย์งานวิจัยเพื่อการพัฒนางานประจำ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการระบบบริหารจัดการแผนและงบประมาณ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบ ด้านการให้คำปรึกษาการใช้งาน และด้านการสนับสนุนการใช้งาน ทำการสำรวจจากการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการระบบ ได้แก่ หัวหน้าสำนักงาน/ หัวหน้างานแผนงาน/ ผู้รับผิดชอบด้านแผนงาน จำนวน 34 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการระบบบริหารจัดการแผน และงบประมาณมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 5 พบว่า ด้านการให้คำปรึกษาการใช้งาน มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.60 รองลงมา ได้แก่ ด้านการสนับสนุนการใช้งาน มีคะแนนเฉลี่ย 4.29 ด้านประสิทธิผลและประโยชน์ของระบบ มีคะแนนเฉลี่ย 4.27 และด้านการออกแบบ มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.24 ตามลำดับ
- Itemการสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงานและชำนาญการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) จงรักไทย เปลวทองงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจ เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการ ของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน และอายุงาน รวมถึงเสนอแนะการดำเนินงานเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญงาน และชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 275 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบ ซึ่งใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมกับนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษา พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ตอบแบบทดสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอัตราเงินเดือน 20,001 – 25,000 บาท อายุงาน 7 ปี ขึ้นไป ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการของพนักงานมหาวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีเพศแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่ง ชำนาญงาน และชำนาญการไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน และอายุงาน มีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยควรเพิ่มการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการ ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา และควรจัดทำวารสารแผ่นพับ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่อธิบายถึงรายละเอียด และเนื้อหาเกี่ยวกับการขอเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญงาน และชำนาญการ ลงในเว๊ปไซต์ของมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยพะเยาทราบต่อไป