การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
Loading...
Date
2021
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ค้นหาสาเหตุของการแยกทิ้งของเสียอันตรายที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม และพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 329309 การวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย จำนวน 45 คน ในการดำเนินการวิจัยได้แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การศึกษาเชิงสำรวจและการศึกษากึ่งทดลอง โดยใช้ผลการศึกษาในขั้นตอนแรก มาออกแบบโปรแกรมในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความปลอดภัยในการแยกทิ้งของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซี่งมีข้อมูลเกี่ยวกับ คะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนาแสดงด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การแยกทิ้งของเสียอันตรายก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ paired T-test ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการแยกทิ้งของเสียอันตราย ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ในส่วนของระดับทัศนคติ และพฤติกรรม ก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.916 และ 0.103 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม (p < 0.05) ดังนั้นก่อนมีการจัดการเรียนการสอนบทปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมี และเกิดของเสียอันตรายจากการทดลองหรือวิเคราะห์ ควรมีการจัดอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับระบบการจัดการของเสียอันตราย ข้อปฏิบัติ และกฎระเบียบในการใช้บริการห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้รับบริการ และควรมีการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสื่อสัญลักษณ์ให้พร้อมก่อนมีการใช้ห้องปฏิบัติการ
Description
This action research aimed to study the problems of waste management in laboratory, and the causation of incorrect and inappropriate in waste management leading to development of safety communication model in waste management in laboratory, School of Public Health, University of Phayao. The forty-five students who enrolled in 329309 water and wastewater analysis subject were included in this study. This research divided into 2 steps including survey and quasi-experimental research, then all results from first step were modified for safety communication and waste management intervention program such as safety communication program in waste management in laboratory. The questionnaire comprised of 3 parts; the scores of knowledges, attitude, and behavior in waste management. The descriptive statistics was expressed numbers, percentage, mean and standard deviation. For the comparison the scores of knowledges, attitude, and behavior in waste management of all subjects before and after had intervention were analyzed by paired t-test. The association with the scores of knowledges, attitude, and behavior in waste management of all subjects were determined by Pearson correlation at p value < 0.05. After all subjects joining the intervention, the score of knowledge in waste management had higher than before joining the program (p-value < 0.001), but not statistically different between the score of attitude and behaviors (p-value = 0.916 and 0.103, respectively). Moreover, the score of knowledge were significant associate with the score of attitudes in waste management (p < 0.05). While, the attitude scores had relationship with waste management behaviors at p < 0.05. So, the safety training, communication in waste management, and golden rule were organized for all students and the scientists should prepare the appropriate materials, equipment, and safety sign in laboratory
Keywords
การแยกทิ้งของเสียอันตราย, ห้องปฏิบัติการ, สื่อสาร, ความปลอดภัย, Waste Management, Laboratory, Communication, Safety