การพัฒนาระบบเลือกตั้งออนไลน์ ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาให้มีความมั่นคงปลอดภัย

Thumbnail Image
Date
2022
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบเลือกตั้งออนไลน์ ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถรองรับผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์ได้พร้อมกันไม่น้อยกว่า 300 คน โดยระบบต้องใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือ Apache JMeter ในการวิเคราะห์ และใช้เทคนิคการเข้ารหัสและถอดรหัส เพื่อปกป้องข้อมูลผลการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากที่ได้ทำการพัฒนาระบบเลือกตั้งออนไลน์ ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ให้มีความมั่นคงปลอดภัย ผู้วิจัยได้นำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง โดยนำไปใช้กับการเลือกตั้งผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งมีผู้มาใช้สิทธิ์ จำนวน 3,652 คน ผลปรากฏว่าระบบสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การเลือกตั้งสำเร็จลุล่วงด้วยดี ไม่มีปัญหาติดขัดทางด้านระบบ ในส่วนของผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือ Apache JMeter ทดลองสร้าง request ให้แก่ระบบ ครั้งละ 300 request ในช่วงเวลา 1 นาที ซึ่งผลการทดสอบได้ค่า Throughput เท่ากับ 300/นาที และไม่มีค่า Error ซึ่งเท่ากับว่าระบบสามารถรองรับผู้ใช้งานได้พร้อมกัน 300 คนใน 1 นาทีอย่างมีประสิทธิภาพ สุดท้ายการเข้ารหัสและถอดรหัสผลการเลือกตั้งระบบ สามารถถอดรหัสผลการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้อง โดยใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ อัลกอริทึม RSA ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 10 วินาที ในการถอดรหัสผลการเลือกตั้งทั้งหมด อีกทั้งยังมีผลการประเมินความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเมินจากนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้นำนิสิต จำนวน 500 คน โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้ ด้านความปลอดภัย (𝑥̅ = 3.95) ด้านการใช้งานโปรแกรม (𝑥̅ = 3.91) ด้านหน้าที่ของระบบ (𝑥̅ = 3.90) และด้านความสามารถทำงานตรงตามความต้องการ (𝑥̅ = 3.88) จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า ระบบเลือกตั้งผู้นำนิสิตสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นิสิตมีความพึงพอใจด้านความปลอดภัยมากที่สุด มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่มุ่งพัฒนาระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว
Description
The goal of this study was to build a secure online voting system that could support at least 300 qualified users simultaneously for the University of Phayao's student leader. High efficiency must be applied when using the system. To protect voting results, the researcher employed Apache JMeter for analytics as well as encryption and decryption methods. Presently, it is considered a crucial privacy protection policy. The researcher actually used the developed system for voting the University of Phayao's student leader held on February 10, 2022, with 3,652 voters after developing an online voting system for the University of Phayao’s student leader to be secure and safe. The findings revealed that the system can provide efficient services. There were no technical issues during the voting process. In terms of system performance testing, the researcher used the Apache JMeter tool to test 300 requests per system at 1-minute intervals. The test results revealed that throughput was 300/min and there was no error. It means that the system can effectively support 300 users in 1 minute. The system can successfully and precisely decrypt the voting results by implementing the RSA encryption algorithm function for the safest method. All votes were decrypted within ten seconds. The 500 University of Phayao students who exercised their right to vote for the student leader provided feedback that indicated a high level of satisfaction in all aspects. The details are as follows: Security factor (𝑥̅ = 3.95), Functionality factor (𝑥̅ = 3.91), System function factor (𝑥̅ = 3.90) and On-demand capability factor (𝑥̅ = 3.88) The findings of this study help to illustrate how the student leader voting method can offer effective services. Thus, most students are most satisfied for the security factor. It is consistent with the research's goal of building a robust and secure system and delivering effective, practical, and quick services
Keywords
ระบบเลือกตั้งออนไลน์, ผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา, การเข้ารหัสและถอดรหัส, Online Voting System, Student Leader, Encryption and Decryption
Citation