ระดับปริญญาโท (Master Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาโท (Master Degree) by Subject "Academic Administration"
Now showing 1 - 11 of 11
Results Per Page
Sort Options
- Itemการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) อนันต์ แพงวงษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 จำแนกตามสถานภาพของครู ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์สอนของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูพระภิกษุและครูฆราวาสที่สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 161 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1 มีค่าความเชื่อมั่น = 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T- test) และการทดสอบค่า F (F-test: การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่ม 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 1 จำแนกตามสถานภาพของครู และจำแนกตามประสบการณ์สอนของครู โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยภาพรวมมีการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยโรงเรียนขนาดกลางมีการบริหารงานวิชาการสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก
- Itemการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ณัจฉรียา ภาธรธนฤตการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตามจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ปีการศึกษา 2565 โดยแยกเป็นโรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยาอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า บุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- Itemการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) จิดาภา ศรีมูลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 2) ศึกษาระดับทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 3) ศึกษาการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 244 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ เท่ากับ 0.965 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารงานวิชาการกับทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 4) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 3 ด้าน คือ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (x5), การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (x1), ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (x8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และสามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ได้ร้อยละ 40.26 ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y^ = 0.696 + 0.326(x5) + 0.221(x1) + 0.248(X8) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z^y= 0.353(x5) + 0.233(x1) + 0.265(X8)
- Itemการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว ดอยฮาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) ศิราณี ราชลำการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว–ดอยฮาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว–ดอยฮาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว–ดอยฮาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.893 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว One-way ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว–ดอยฮาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว–ดอยฮาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ครูกลุ่มโรงเรียนแม่ยาว–ดอยฮาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- Itemการบริหารงานวิชาการโดยใช้ CR2ACTS Model ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) สิริกานต์ มูลฟองการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการโดยใช้ CR2ACTS Model ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการโดยใช้ CR2ACTS Model ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการโดยใช้ CR2ACTS Model ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement) รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม (Spirit) รองลงมา คือ ด้านการอ่านออกเขียนได้ (Thai Literacy) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการสื่อสาร (เน้นภาษาอังกฤษ) (Communication) 2) ข้อเสนอแนะ การบริหารงานวิชาการโดยใช้ CR2ACTS Model ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Achievement) ควรจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทางความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอย่างหลากหลาย ด้านการสื่อสาร (เน้นภาษาอังกฤษ) (Communication) ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active learning เน้นการสื่อสาร ที่ในชีวิตประจำวัน ด้านการอ่านออกเขียนได้ (Thai Literacy) ควรสนับสนุน และพัฒนาครูให้เลือกใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอ และด้านคุณธรรม (Spirit) ควรส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดเป็นกิจกรรมในโรงเรียน
- Itemการศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) รัตนาภรณ์ เผ่าฟูการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 181 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนแล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องระหว่างคำถามและวัตถุประสงค์ที่ระดับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test) การทดสอบ ค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีทดสอบความแตกต่างของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ในภาพรวม จำนวน 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดผล การประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน อยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำแนกตามอายุของบุคลากรในโรงเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการนิเทศทางการศึกษา และด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- Itemการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) นพดล สมทรัพย์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำแนกตามตำแหน่งในการปฏิบัติงาน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จำนวน 16 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 144 รูป/คน ใช้วิธีการประมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซีและมอร์แกน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นแล้วนำมากำหนดสัดส่วนตามขนาดของกลุ่มประชากรในโรงเรียน และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน อยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับน้อยที่สุดทุกด้าน 2) การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน จำแนกตามตำแหน่งในการปฏิบัติงานและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- Itemการศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามทรรศนะของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) พิมพ์ธิดา อุตซีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามทรรศนะของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามทรรศนะของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามเพศ ช่วงชั้นที่สอน และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 123 คน ได้มาโดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามทรรศนะของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากสูงสุด 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามทรรศนะของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามช่วงชั้นที่สอน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามทรรศนะของครู โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) ชลลดา หนูนิลปลอดดีการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้านภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.92 และด้านการบริหารวิชาการของสถานศึกษาเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านการกำหนดทิศทางขององค์การ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ และด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ตามลำดับ 2) การบริหารวิชาการของสถานศึกษาในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .844, ≤ .01)
- Itemปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) พิรญาณ์ แร่ทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระดับการบริหารงานวิชาการกับระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 4) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 254 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดโรงเรียนเป็นชั้นของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของสถานศึกษา กับระดับการบริหารงานวิชาการของ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) การสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มี 4 ปัจจัย คือ ด้านอาคารสถานที่ (X3) ด้านครูผู้สอน (X2) ด้านผู้ปกครองและชุมชน (X2) และด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (X) ตามลำดับ สามารถพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 71 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังสมการณ์พยากรณ์ต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.40 + 35(X5) + 0.27(X2) + 0.20(X3) + 0.14(X6) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.46(Z5) + 0.31(Z2) + 0.20(Z3) + 0.13(Z6)
- Itemสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ศิริพล รวมสุขการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Description Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า งานให้คำปรึกษาแนะแนว และส่งต่อมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ งานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (EI) และงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ ส่วนงานส่งเสริม สนับสนุนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่ม 6 ควรสนับสนุนการช่วยเหลือบริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน มีการรายงานอย่างเป็นระบบและมีการนิเทศ กำกับ ติดตามผล อย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมศักยภาพเด็กพิการตามแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว (IFSP)