การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา
No Thumbnail Available
Date
2022
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา จำแนกตามจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา ปีการศึกษา 2565 โดยแยกเป็นโรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test (Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยาอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า บุคลากรที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description
The purpose of this study was to educate and compare the academic administration on the aspect of active learning of secondary school under The Secondary Educational Service Area Office Phayao, classified by edge, educational qualification and working experience. The samples were 286 teachers. The research instruments were questionnaires. The data were analyzed by using descriptive statistics were percentage, mean, standard deviation, T-test (Independent Samples), One way ANOVA and Scheffe’ matched pair comparison. The results showed that: The academic administration on the aspect of active learning of secondary school under The Secondary Educational Service Area Office Phayao overall was rated the average scores at high level. The highest average was measurement and evaluation. The comparison of the academic administration on the aspect of active learning of secondary school under The Secondary Educational Service Area Office Phayao showed that samples with different edge and educational qualification were not difference but the samples with different working experience was difference with statistical significance at the level of 0.05
Keywords
การบริหารงานวิชาการ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, Academic Administration, Active Learning