คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Subject "Exercise"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลการออกกลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในนิสิตหญิง คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (การศึกษานำร่อง)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) ธนานันต์ ปัญญา; เบญจวรรณ รูปงาม; เมธาวี อินต๊ะวังวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในวัยรุ่นหญิง วิธีการศึกษา อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิงสุขภาพดีที่กำลังศึกษาอยู่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 20 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุและดัชนีมวลกายที่ใกล้เคียงกัน อาสาสมัครที่ถูกจัดไว้ 2 กลุ่ม ได้รับเงื่อนไขให้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มออกกำลังกายเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ใช้เวลานาน 40 นาที/ครั้ง ความถี่ 3 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประเมินปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Maximum oxygen consumption: VOrmax) ด้วยวิธีการ Modified Bruce Treadmill Protocol โดยประเมิน 2 ครั้ง คือก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Student t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการศึกษา: ค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดของอาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกาย (p = 0.03) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติสำหรับค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกายในอาสาสมัครกลุ่มควบคุม สรุปผลการศึกษา การออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. มีประสิทธิผลต่อการเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในรุ่นหญิง
- Itemผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อความจำ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) สุทธินี สุภากาศ; อภิญญา ภะวะภูตา; อุไรวรรณ ศิรินารถจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การออกกำลังกายมีผลเพิ่มความสามารถในการจำ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อความจำที่ผ่านมายังไม่เป็นที่แพร่หลาย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อความจำในอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 18 - 22 ปี ถูกแบ่งด้วยวิธีการสุ่มแบบบล็อกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกาย จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ซึ่งกลุ่มออกกำลังกายจะได้รับการออกกำลังกายแบบชี่กง 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการออกกำลังกายใด ๆ โดยก่อนและหลังการทดลอง อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการประเมินความจำระยะสั้น ความจำขณะคิด และการเลือกสนใจ ด้วยการทดสอบ digit span forward test, digit span backward test และ stroop color and word test ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกายแบบชี่กง อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบ digit span forward test (ก่อน = 10.73.2 ± 2.28 และหลัง = 12.27 ± 2.37; p-value = 0.01), digit span backward test (ก่อน = 7.63 ± 3.71 และหลัง = 10.20 ± 3.87; p-value = 0.00) และ stroop color and word test (ก่อน = 46.00 ± 10.82 และหลัง = 54.73 ± 10.85; p-value = 0.00) แต่ในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการทดสอบทั้ง 3 การทดสอบ (p-volue > 0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบชี่กงมีผลเพิ่มความจำและการเลือกสนใจ ดังนั้นการออกกำลังกายแบบชี่กงจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการจำ