คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Subject "Adolescent"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemความสามารถในการเดินขณะใช้สมาร์ทโฟนในกลุ่มวัยรุ่น(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) กัญญารัตน์ อุดมสุข; ศิวกร โกสินธุ์ที่มา: การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้งานร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น การใช้สมาร์ทโฟนขณะรับประทานอาหาร การเดิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อความสามารถในการเดิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเร็วในการเดิน และระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที ขณะใช้สมาร์ทโฟนระหว่างวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการติด และไม่เสี่ยงต่อการติดการใช้สมาร์ทโฟน วิธีการศึกษา: อาสาสมัครวัยรุ่นชายหญิง อายุเฉลี่ย 15 ปี จำนวน 39 ราย แบ่งเข้าด้วยแบบประเมินพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟน ได้แก่ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดสมาร์ทโฟน (n=18) และกลุ่มที่ไม่เสี่ยงต่อการติดสมาร์ทโฟน (n=21) ทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบความสามารถในการเดิน คือ ความเร็วในการเดิน (10 meter walk test; 10MWT) และการทดสอบการเดิน 6 นาที (6 Minute Walk Test; 6MWT) ใน 2 เงื่อนไข คือ ใช้และไม่ใช้สมาร์ทโฟนเดิน วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติพาราเมตริกและนอนพาราเมตริกสำหรับตัวแปร 10MWT และ6MWT ตามลำดับ ผลการศึกษา: กลุ่มเสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนมีค่าเฉลี่ยของ 10MWT ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อใช้สมาร์ทโฟนขณะเดิน ทั้งการเดินด้วยความเร็วปกติและความเร็วสูงสูด (p-volue < 0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะการเดินด้วยความเร็วสูงสุดเท่านั้น (p-volue < 0.05) นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-volue > 0.05) ของ 10MWT ระหว่างทั้งสองกลุ่ม สำหรับตัวแปร 6MWT พบว่าทั้งสองกลุ่มเดินได้ระยะทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) เมื่อใช้สมาร์ทโฟนขณะเดิน และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม สรุปผลการศึกษา: กลุ่มวัยรุ่นที่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนและไม่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟน มีความเร็วและระยะทางในการเดินลดลงไม่แตกต่างกันเมื่อใช้สมาร์ทโฟนขณะเดินส่งข้อความโต้ตอบ อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่เสี่ยงติดการใช้สมาร์ทโฟนมีแนวโน้มที่ความเร็วและระยะทางในการเดินจะลดลงมากกว่า
- Itemผลการออกกลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในนิสิตหญิง คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (การศึกษานำร่อง)(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2013) ธนานันต์ ปัญญา; เบญจวรรณ รูปงาม; เมธาวี อินต๊ะวังวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ต่อความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในวัยรุ่นหญิง วิธีการศึกษา อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิงสุขภาพดีที่กำลังศึกษาอยู่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 20 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยมีค่าเฉลี่ยของอายุและดัชนีมวลกายที่ใกล้เคียงกัน อาสาสมัครที่ถูกจัดไว้ 2 กลุ่ม ได้รับเงื่อนไขให้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มออกกำลังกายเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. ใช้เวลานาน 40 นาที/ครั้ง ความถี่ 3 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประเมินปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Maximum oxygen consumption: VOrmax) ด้วยวิธีการ Modified Bruce Treadmill Protocol โดยประเมิน 2 ครั้ง คือก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Student t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการศึกษา: ค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดของอาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกาย (p = 0.03) และไม่พบความแตกต่างทางสถิติสำหรับค่าปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดระหว่างก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมออกกำลังกายในอาสาสมัครกลุ่มควบคุม สรุปผลการศึกษา การออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มพ. มีประสิทธิผลต่อการเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดในรุ่นหญิง