ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Approaches to the development"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) วิจิตรา บุญแลการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความคิดเห็น เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาด 8P’s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 3) ศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 10A’s ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 4) ศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 10P’s ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 5) ศึกษาศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 6) สร้างแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ได้แก่ ทีเทส (T-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA or F-test) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ภาคชุมชน และนักวิชาการ จำนวน 20 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว และการตลาดโดยการจัดกิจกรรมพิเศษ หรือการตลาดเชิงกิจกรรมที่แตกต่างกัน 2) นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความพึงพอใจอยู่ในด้านของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ต่างกัน อาชีพที่ต่างกันมีความพึงพอใจด้านราคาที่ต่างกัน และอายุที่ต่างกันมีความพึงพอใจด้านการให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณค่าต่างกัน 3) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 10A’s แต่ควรพัฒนาด้าน A Attraction คือ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 4) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 10P’s แต่ควรพัฒนาในด้าน P Platform ให้มีความเหมาะสม และสะดวกสบายกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย 5) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ แต่ควรพัฒนาในด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดโดยจัดกิจกรรมพิเศษหรือการตลาดเชิงกิจกรรมให้เพิ่มมากขึ้น 6) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี ในรูปแบบโมเดล DEVELOP ได้แก่ (D) Digital Marketing (E) Exchange (V) Value (L) Landscape of Media (O) Organization และ (P) Platformization เพื่อเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีต่อไป