แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี
No Thumbnail Available
Date
2020
Authors
Journal Title
Journal ISSN
Volume Title
Publisher
มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความคิดเห็น เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อระดับความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาด 8P’s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 3) ศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 10A’s ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 4) ศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 10P’s ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 5) ศึกษาศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี 6) สร้างแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ได้แก่ ทีเทส (T-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA or F-test) การวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ภาคชุมชน และนักวิชาการ จำนวน 20 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว และการตลาดโดยการจัดกิจกรรมพิเศษ หรือการตลาดเชิงกิจกรรมที่แตกต่างกัน 2) นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความพึงพอใจอยู่ในด้านของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ต่างกัน อาชีพที่ต่างกันมีความพึงพอใจด้านราคาที่ต่างกัน และอายุที่ต่างกันมีความพึงพอใจด้านการให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณค่าต่างกัน 3) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 10A’s แต่ควรพัฒนาด้าน A Attraction คือ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 4) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพการวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 10P’s แต่ควรพัฒนาในด้าน P Platform ให้มีความเหมาะสม และสะดวกสบายกับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย 5) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรีมีศักยภาพการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ แต่ควรพัฒนาในด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดโดยจัดกิจกรรมพิเศษหรือการตลาดเชิงกิจกรรมให้เพิ่มมากขึ้น 6) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี ในรูปแบบโมเดล DEVELOP ได้แก่ (D) Digital Marketing (E) Exchange (V) Value (L) Landscape of Media (O) Organization และ (P) Platformization เพื่อเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีต่อไป
Description
Research on the development of integrated marketing communication to promote cultural tourism in Chanthaburi Province that intended to 1) To study the personal factors of Thai tourists towards the level of opinion, integrated marketing communication tool for promoting cultural tourism of Chanthaburi Province. 2) Study the personal factors of Thai tourists towards the level of satisfaction in marketing mix 8P's to promote cultural tourism of Chanthaburi Province. 3) Study the potential components of cultural tourism resources 10A's of cultural tourism in Chanthaburi Province. 4) A study of the potential elements of an integrated marketing communication plan for 10P's of cultural tourism in Chanthaburi Province. 5) Studying the potential of integrated marketing communications to promote cultural tourism in Chanthaburi Province. 6) Create an integrated marketing communication development approach to promote cultural tourism in Chanthaburi Province. It is a blended research such as quantitative research. The sample group was a group of 400 Thai tourists and using questionnaires to analyze data by statistical programs, including t-test and one-way ANOVA or F-test and qualitative research, including government agencies 20 organizations, private sector, community and academics used in-depth interviews, semi-structured Analyze content. The research results showed that 1) Thai tourists with different educational levels had opinions on the promotion. Public relations and news And marketing by special events or different event marketing. 2) Tourists with different educational levels were satisfied with different cultural tourism products. Different careers have different price preferences. And different age, satisfaction in serving customers with different values. 3) Cultural tourism of Chanthaburi province has potential components of cultural tourism resource 10A but should develop in A Attraction aspect, which is to access tourist attractions. 4) Cultural tourism of Chanthaburi province has the potential for integrated marketing communication planning 10P's, but should develop P Platform to be appropriate. And convenient for target tourists. 5) Cultural tourism of Chanthaburi province has the potential of integrated marketing communication. But should be developed in the field of promotion And marketing by organizing special events or marketing activities to increase. 6) Guidelines for the development of integrated marketing communication to promote cultural tourism in Chanthaburi Province. In DEVELOP model, (D) Digital Marketing (E) Exchange (V) Value (L) Landscape of Media (O) Organization and (P) Platformization. For the further development of cultural tourism in Chanthaburi Province.
Keywords
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, แนวทางการพัฒนา, จังหวัดจันทบุรี, Integrated marketing communication, Cultural tourism, Approaches to the development, Chanthaburi province
Citation
วิจิตรา บุญแล. (2563). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. ฐานข้อมูลคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยพะเยา (UP Digital Collections: UPDC).