ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Administrative Model"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) ชัชปพงศ์ ไทยเพชร์กุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการพึ่งตนเอง และการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ 3) ศึกษารูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งดำเนินการด้วยการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 231 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่เป็นเครื่องมือวัดตัวแปรเป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า จำนวน 11 แบบวัด แต่ละแบบวัดมีจำนวน 4 ข้อถึง 7 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.222 ถึง 0.643 มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.443 ถึง 0.788 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน สถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสถานการณ์ทางสังคม ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ร่วมกับปัจจัยด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายพฤติกรรมการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ร้อยละ 38.3 และพบว่า เด็กและเยาวชนซึ่งอาศัยกับปู่ย่าตายายหรือพี่น้องเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการพัฒนาก่อน โดยปัจจัยสำคัญที่ควรปรับปรุงส่งเสริม คือ การอบรมเลี้ยงดู รูปแบบการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และรูปแบบการบริหารการพัฒนาการพึ่งตนเองและการปรับตัวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่สร้างขึ้นมีความเป็นไปได้ในทางปฎิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยรายด้านและโดยรวมเท่ากับ 86.19 ถึง 94.52 และ89.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 75 ตามลำดับ
- Itemรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2024) ภูษณิศา คารวพงศ์การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความสำเร็จของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหาร เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 121 โรงเรียน เครื่องมือในการทำวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบการสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิจัย (CFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) วิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของความสำเร็จของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยภายในและภายนอก จำนวน 6 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) บทบาทของผู้บริหาร 2) สมรรถนะของครู 3) บรรยากาศการทำงาน/วัฒนธรรมในองค์กร 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 5) การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และ 6) การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยทรงคุณวุฒิ พบว่า การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบ พบว่า การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด