ระดับปริญญาโท (Master Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาโท (Master Degree) by Subject "Academic Leadership"
Now showing 1 - 6 of 6
Results Per Page
Sort Options
- Itemการศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) สมเดช ใสสินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นครูผู้สอน และผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา จำนวน 168 คน โดยใช้ตารางเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีตรวจสอบความแตกต่างของเซฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) ความคิดเห็นของครูในภาพรวมที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) วรรณวณิช ขัดจาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง 2) ระดับการประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง จำแนกตามสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครูผู้สอน สถานศึกษาภาครัฐ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง จำนวน 7 สถานศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 214 คน ใช้วิธีการประมาณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ ทาโร่ ยามาเน่ ทำการสุ่มอย่างง่าย แล้วนำมากำหนดสัดส่วนตามขนาดของกลุ่มประชากรในสถานศึกษา และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง โดยรวมเฉลี่ยรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร อยู่ในระดับมากสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดโปรแกรมสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านมุมมอง และแนวโน้มของหลักสูตร อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุด ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง โดยรวมเฉลี่ยรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สูงสุด ได้แก่ ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านปัจจัยพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง 3) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ในภาพรวมทุกด้าน และด้านต่าง ๆ แต่ละด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01
- Itemความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2021) ธีรพงศ์ ใจซื่อการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน 2) สภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศูนย์เครือข่ายห้วยไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง และเป็นความสัมพันธ์ทางบวก
- Itemภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ชุดาภร มูลมณีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 265 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนใช้สถิติ F-test (Analysis of Variance: ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ใช้วิธีทดสอบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 เมื่อทดสอบรายคู่ พบว่า ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ผู้บริหารที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี แตกต่างกับประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี แตกต่างจากประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป
- Itemภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ณัฐพล ธิตาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำแนกตามตำแหน่งปัจจุบันและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้างานและครู จำนวน 278 คน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามลักษณะตำแหน่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติหาค่าการทดสอบเอฟ (F-test) กรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะใช้วิธีการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) จากผลการศึกษา พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยภาวะผู้นำด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู 2) จากผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประกอบด้วยภาวะผู้นำทางวิชาการด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจโรงเรียน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินด้านการสอน ด้านการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน และด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จำแนกตามตำแหน่งปัจจุบัน พบว่า โดยภาพรวมมีความแตกต่าง และรายด้าน มีความแตกต่าง 2 ด้าน ส่วนด้านการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียนด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลด้านการสอน ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน และด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) จากผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ทั้งภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกัน
- Itemแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2022) ปณิธาน จันทกูลการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 จำนวน 292 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.953 ใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยภาพรวมตามความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและผู้เรียนอย่างใกล้ชิด รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา และการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) ครูให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการงานวิชาการของผู้บริหาร มากที่สุด คือ ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและผู้เรียนอย่างใกล้ชิด โดยให้ข้อเสนอแนะว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาอบรมให้ครูเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กยุคดิจิทัล 2) เน้นการฝึกครูให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 3) เน้นให้ครูนำเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบวิชาการในโรงเรียน 4) จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีให้พอเพียงกับครู 5) จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและให้การสนับสนุนในการศึกษาต่อ หรือแลกเปลี่ยนยังต่างประเทศ และ 6) ฝึกให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน และมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามลำดับ