คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Subject "Fall"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemการคาดการณ์การล้มในผู้สูงอายุโดยใช้การทดสอบมาตรฐานและการทดสอบแบบใหม่(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) ขวัญฤทัย อิ่นคำ; ฐิตาพร เผ่าศรีไชย; ธิดารัตน์ สายเขียวที่มา: จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย และเสี่ยงต่อการล้มตามมาได้ ซึ่งพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการล้มคือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การทรงตัว และความสามารถในการเดิน วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำนายการล้มของการทดสอบ ในผู้สูงอายุในชุมชนโดยพิจารณาจากคำความไว ค่าความจำเพาะ และพื้นที่ใต้กราฟ วิธีการ : ผู้เข้าร่วมวิจัยมีทั้งหมด 70 คน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามประวัติของการล้มย้อนหลัง 6 เดือน อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบลุกยืน 3 ครั้ง แล้วเดินไปกลับ 6 เมตร และการทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร ผลการทดสอบถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติ Receiver-operating characteristic (ROC) curve และ: Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05 ผลการศึกษา: ในกลุ่มที่ไม่ล้ม ใช้เวลาในการทดสอบลุกยืน 3 ครั้ง และเดินไปกลับ 6 เมตร และทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร น้อยกว่ากลุ่มที่ล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01 และ p < 0.05 ตามลำดับ) และพบว่า อาสาสมัครที่ใช้เวลาในการทดสอบ 12.22 วินาทีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการล้ม (ค่าความไวและความจำเพาะของ TTSWT = ร้อยละ 80.00 และ 85.71 ตามลำดับ และค่าความจำเพาะของ TUGT = ร้อยละ 60.00 และ 74.29 ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษาช่วยให้ได้ข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ ในการพัฒนาความสามารถทางกายของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการล้มได้
- Itemการศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดินในผู้สูงอายุ(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2014) กุลจิรา เจิมเฉลิม; ฐิติมา กันทา; ณัฐพัชร์ จันทร์แก้วที่มา: การทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง และการทดสอบเดินไปกลับ 6 เมตร เป็นการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ แต่การทดสอบดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมในการตรวจประเมิน ดังนั้นการทดสอบลุกยืน 3 ครั้งและเดิน จึงถูกพัฒนาการขึ้นมา เพื่อให้การประเมินการทรงตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเที่ยงตรงของการทดสอบ TTSW วิธีการศึกษา:ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 87 คน ได้รับการทดสอบ 3 การทดสอบ ได้แก่ FTSST TUGT และ TTSW โดยทำการทดสอบแต่ละชนิดเป็นจำนวน 3 ครั้ง นำผลที่ได้นำไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร FTSST TUGT และ TTSW ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงระหว่าง FTSST และ TTSW มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.883 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และพบความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงระหว่าง TUGT และ TTSW มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.905 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุปผลการศึกษา: การทดสอบ TTSW เป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและสามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการล้มของผู้สูงอายุได้