ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Chiang Rai-Tai Ya language"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemพลวัตวัฒนธรรมภาษาในวิถีชีวิตของชาวไตหย่าเชียงราย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) บุษราคัม ยอดชะลูดการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษาไตหย่าเชียงราย และความหลากหลายการใช้ภาษาสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวไตหย่าเชียงราย โดยใช้ข้อมูลภาษาระดับข้อความจากผู้บอกข้อมูลชาวไตหย่าเชียงราย ผลการวิจัยโดยสรุปแบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ 1) ภาษาไตหย่าเชียงราย พบลักษณะภาษาไตหย่าเชียงราย และการเปลี่ยนแปลงของภาษาไตหย่าเชียงราย ลักษณะภาษาไตหย่าเชียงรายจำแนกข้อมูลได้ 6 ประการ ได้แก่ 1.1) เสียง ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ 20 เสียง เสียงสระ 18 เสียง และเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง 1.2) คำจำแนกได้ 2 ประการ ได้แก่ การสร้างคำ และชนิดของคำ 1.3) ประโยค จำแนกได้ 2 ประการ ได้แก่ ประโยคตามโครงสร้าง และประโยคตามเจตนาของการสื่อสาร 1.4) วลี 1.5) ย่อหน้า 1.6) ข้อความ และการเปลี่ยนแปลงของภาษาไตหย่าเชียงราย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กลุ่มอายุเป็นเกณฑ์ 5 กลุ่ม ตั้งแต่อายุ 30-80 ปี พบการเปลี่ยนแปลงของภาษาไตหย่าเชียงราย 3 ประการ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงเสียง 2) การเปลี่ยนแปลงคำ และ 3) การเปลี่ยนแปลงการเรียงคำ 2) ความหลากหลายการใช้ภาษาสัมพันธ์กับวิถีชีวิต ของชาวไตหย่า เชียงราย ผลการวิจัยสรุปได้ 4 ประการ ได้แก่ ภาษาสัมพันธ์กับกิจวัตรประจำวัน ภาษาสัมพันธ์กับประเพณี ภาษาสัมพันธ์กับความเชื่อและศาสนา และภาษาสัมพันธ์กับการดนตรี การแสดง และวรรณศิลป์ ภาษาที่ชาวไตหย่าเชียงรายใช้สื่อสารในปัจจุบัน ประกอบด้วย 3 ภาษา คือ ภาษาไตหย่าเชียงราย ภาษาไทยถิ่นเชียงราย และภาษาไทยกรุงเทพฯ