ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Art created language"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ของนักเขียนสตรีในนวนิยายอิงพุทธศาสนา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2016) เชษฐา จักรไชยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวคิดพุทธธรรมและการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์นวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรีที่ประพันธ์ในระหว่าง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2557 จำนวน 24 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์นวนิยาย ส่วนใหญ่ใช้การสอดแทรกแนวคิดเรื่องพุทธธรรม เพื่อสอนให้คนเป็นคนดีด้วยพุทธธรรม 3 ระดับ คือ แนวคิดพุทธธรรมระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) แนวคิดพุทธธรรมระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) และแนวคิดพุทธธรรมระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) ส่วนผลการวิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์ในนวนิยายนั้น พบว่า แนวคิดด้านองค์ประกอบในนวนิยายนั้น พบว่า ผู้แต่งนิยมเปิดเรื่องด้วยการบรรยายฉาก เหตุการณ์ และตัวละคร พบมากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.66 การสร้างความขัดแย้งในเรื่องนั้นผลการศึกษา พบว่า ผู้แต่งนิยมใช้วิธีสร้างความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตัวละครมากที่สุด จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45.83 การลำดับเหตุการณ์ผลการศึกษา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้การลำดับเหตุการณ์แบบปฏิทินพบมากที่สุด จำนวน 22 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 91.66 ผู้เขียนนิยมการปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรมมากที่สุด จำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 62.50 กลวิธีการสร้างสรรค์มุมมองการเล่าเรื่อง พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบผู้แต่งเป็นผู้รู้แจ้งมากที่สุด จำนวน 21 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 87.5 ในการสร้างสรรค์ตัวละครทั้ง 24 เรื่อง ประกอบไปด้วยตัวละครเอก และตัวละครสนับสนุนกลวิธีการสร้างสรรค์บทสนทนา พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้บทสนทนาเพื่อบอกลักษณะและอุปนิสัยของตัวละครมากที่สุด จำนวน 12 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 และกลวิธีการสร้างสรรค์ฉาก พบว่า ผู้เขียนนิยมใช้ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์มากที่สุด จำนวน 10 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.68 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ทางภาษา พบกลวิธีการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ 2 ลักษณะ คือ กลวิธีการสร้างสรรค์ภาษาวรรณศิลป์ระดับคำซึ่งพบใน 8 ลักษณะ คือ การหลากคำ การใช้คำเพื่อเสียงสัมผัส การใช้คำสูง การใช้คำสร้างจินตภาพ การใช้คำเลียนเสียง การใช้คำซ้ำ การซ้ำคำ และการใช้คำซ้อน ส่วนวรรณศิลป์ระดับข้อความพบใน 4 ลักษณะ คือ การใช้โวหาร การใช้ภาพพจน์ การใช้ลีลาภาษาวรรณคดี และการใช้รสวรรณคดีผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ ในนวนิยายอิงพุทธศาสนาของนักเขียนสตรี ได้นำหลักพุทธธรรมระดับพื้นฐาน หลักพุทธธรรมระดับกลาง และหลักพุทธธรรมระดับสูงสุด มาใช้สอดแทรกเพื่อให้ผู้อ่านนำมาใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ผู้แต่งได้มีการปรับรูปแบบหรือสร้างสรรค์ลักษณะขององค์ประกอบของนวนิยายขึ้นใหม่ตาม ขนบของนวนิยายร่วมสมัยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวคิดทางพุทธศาสนาได้ง่ายยิ่งขึ้น