ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Approaches to the promotion tourism"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2023) พูนทรัพย์ เศษศรีการศึกษาครั้งนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร 2) ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดยโสธร สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร 4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร และ 5) สร้างแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้สัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงาน NGO จำนวนทั้งหมด 26 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยว และเคยมาท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร จำนวน 400 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรที่ควรได้รับการส่งเสริม และพัฒนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร คือ ระบบการขนส่งจากตัวเมืองไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของจังหวัดยโสธร เนื่องจากยังไม่มีไว้สำหรับการให้บริการนักท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว งานประเพณี อาหารท้องถิ่น ศิลปะการแสดง และดนตรีท้องถิ่นที่มีอยู่ในจังหวัดยโสธร สู่สายตานักท่องเที่ยวยังมีน้อยเกินไป 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร สำหรับนำมาใช้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร พบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของจังหวัดยโสธรมี 5 ด้าน คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ด้านงานประเพณีและเทศกาล ด้านสินค้าและหัตถกรรมจากภูมิปัญญา ด้านอาหารท้องถิ่น และด้านศิลปะการแสดงดนตรีท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่ถือเป็นสิ่งดึงดูดใจที่จะสามารถนำมาใช้สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรได้ 3) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ โดยมีระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 2 วัน เลือกท่องเที่ยวช่วงวันเสาร์และวันอาทิตย์ ความถี่ในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดยโสธรปีละครั้ง และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวแต่ละครั้งมากกว่า 3,001 บาทขึ้นไป ผู้ร่วมเดินทางส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัวและญาติ เลือกแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด เลือกพักในโรงแรม และเลือกพาหนะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร คือ ปัจจัยด้านลักษณะเฉพาะของพื้นที่ (Particularity) และ 5) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธร คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์จังหวัดยโสธรด้วยรูปแบบ HIGH DNA Model ประกอบด้วย การสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นของแท้และดั้งเดิมของวัฒนธรรม (Heritage Cultural = H) การสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร (Investment = I) การบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good Governance = G) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource = H) การพัฒนาแบบองค์รวม (Development = D) การสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วน (Networked = N) และการนำนวัตกรรมแอปพลิเคชันมาใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว (Application = A)