ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Administrative model"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Itemรูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) สิริพร บุญพาการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการพัฒนาความพอเพียง และพัฒนารูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปร 11 แบบวัด ส่วนใหญ่เป็นแบบวัดมาตรประเมินค่า มีค่าความเที่ยง (α) ต่ำสุด คือ 0.731 สูงสุด คือ 0.899 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลมีทั้งสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง โดยสถิติอ้างอิงที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมสามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียนได้ร้อยละ 20.7 อธิบายพฤติกรรมพอเพียง ได้ร้อยละ 12.1 ถึง 15.5 ซึ่งอธิบายได้น้อยกว่าร้อยละ 25 2) กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และ/หรือกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถอธิบายจิตลักษณะพอเพียงของนักเรียน ได้เพิ่มจากที่อธิบายโดยกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมร้อยละ 14.5 ถึง 18.9 อธิบายพฤติกรรมพอเพียงของนักเรียน ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ถึง 22.5 (สูงกว่าร้อยละ 5 ทุกกรณี) 3) นักเรียนที่มีความพอเพียงน้อยเป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนา ได้แก่ นักเรียนชาย นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 และนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยปกป้องที่สำคัญ สำหรับนักเรียนแต่ละกลุ่มเสี่ยงมีความแตกต่างกัน 4) รูปแบบการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี โดยอธิบายได้ร้อยละ 65 5) รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยรายด้านตั้งแต่ ร้อยละ 90.00 ถึง 92.14 ค่าเฉลี่ยโดยรวม ร้อยละ 90.89 (ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 70/75%) ผลการวิจัยนี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ และการวิจัยที่ควรจะต้องทำต่อไปในหลายประเด็น
- Itemรูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) สรายุทธ วรเวกการวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสอนของครู เพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี ศึกษากลุ่มเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของครูผู้สอนนักเรียนให้เป็นคนดี และศึกษารูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี 360 คน เลือกจากประชากรโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า จำนวน 10 แบบวัด มีค่าความสัมพันธ์รายข้อกับทั้งฉบับ (Item-total correlation: r) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.73 ถึง 0.90 และยังมีแบบประเมินสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บข้อมูลจากครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี โดยประสานกับผู้บริหารของโรงเรียน เก็บข้อมูลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยประสานเป็นรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายพฤติกรรมของครูในการสอนนักเรียนให้เป็นคนดีในพฤติกรรมย่อย ได้ร้อยละ 31.2 ถึง 36.4 ในพฤติกรรมรวมได้ร้อยละ 44.7 ผลการวิเคราะห์รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสอนของครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี โดยใช้โปรแกรม CB SEM–AMOS พบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) การศึกษาได้พบกลุ่มเสี่ยงในพฤติกรรมของครูในการสอนนักเรียนให้เป็นคนดี 2 กลุ่ม คือ ครูที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ปัจจัยปกป้องของกลุ่มเสี่ยงในพฤติกรรมย่อยอธิบายได้ร้อยละ 31.5 ถึง 39.1 ในพฤติกรรมรวมอธิบายได้ร้อยละ 65.5 3) รูปแบบการบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี มีผลการประเมินรายด้านและรวมค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70/75 ผลวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครู และครูที่ต้องการพัฒนาตนเองเพื่อการสอนนักเรียนให้เป็นคนดี