ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาเอก(Doctoral Degree) by Subject "Academic administration"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemปัจจัยเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) นิธิวัฒน์ อินทสิทธิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุระดับนักเรียนระดับห้องเรียนและระดับโรงเรียน ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล 2) เพื่อศึกษารูปแบบแบบพหุระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารรูปแบบพหุระดับของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียนของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 1,530 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ และแบบวัดแบบมาตรประมาณค่า เครื่องมือดังกล่าวมีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.760 ถึง 0.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุระดับ ผลการวิจัย ประการแรก พบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายประสิทธิผลระดับนักเรียนได้ร้อยละ 52.91 โดยตัวแปรปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การจัดสภาพบรรยากาศในห้องเรียน การรับรู้นโยบายการบริหารวิชาการ การเชื่ออำนาจในตนในการเรียน ทัศนคติต่อการเรียนตามมาตรฐานสากล และการสนับสนุนด้านการเรียนของผู้ปกครอง การวิจัยยังพบตัวแปรปัจจัยระดับนักเรียนที่สามารถนำไปเป็นตัวแปรตามได้ในระดับห้องเรียน คือ การเชื่ออำนาจในตนในการเรียน และทัศนคติต่อการเรียนตามมาตรฐานสากล 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายประสิทธิผลระดับห้องเรียนได้ร้อยละ 54.05 โดยมีตัวแปรปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การจัดครูเข้าสอนและการนิเทศ การดำเนินการสอน และพฤติกรรมการสอนของครู การรับรู้ตัวแบบห้องเรียนคุณภาพ และความผูกพันต่อนักเรียนและโรงเรียนของครู การวิจัยยังพบตัวแปรปัจจัยระดับห้องเรียนที่สามารถนำไปเป็นตัวแปรตามได้ในระดับโรงเรียน คือ การรับรู้ตัวแบบห้องเรียนคุณภาพ 3) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายประสิทธิผลระดับโรงเรียนได้ร้อยละ 54.65 ตัวแปรปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนของโรงเรียน และกระบวนการบริหารวิชาการที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ประการที่สอง พบว่า ปัจจัยทุกระดับร่วมกันอธิบายประสิทธิผลการบริหารวิชาการโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร มากกว่าร้อยละ 50 โดยรูปแบบพหุระดับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประการที่สาม พบว่า การบริหารรูปแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยจาการประเมินรายด้านร้อยละ 93.35 ถึง 94.29 ค่าเฉลี่ย รวมร้อยละ 94.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70/75