ระดับปริญญาโท (Master Degree)
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing ระดับปริญญาโท (Master Degree) by Author "กชกร ชาวเวียง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยหมักผักตบชวาด้วยไส้เดือนดิน Pheretima peguana ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2019) กชกร ชาวเวียงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ไส้เดือนดิน Pheretima peguana ในการปรับปรุงคุณภาพของปุ๋ยหมักผักตบชวา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด รวมถึงผลของปุ๋ยที่มีต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ผลการทดลอง พบว่า การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ใช้ผักตบชวาหมักที่ระยะเวลา 30 วัน ปริมาณ 7 กิโลกรัม ร่วมกับมูลวัว 3 กิโลกรัม และใส่ไส้เดือนดิน P. peguana อัตรา 500 กรัมต่อตารางเมตร ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพโดยรวมที่ดีที่สุด โดยมีการย่อยสลายที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะเป็นเม็ดมีสีดำ เมื่อนำไปใช้ผสมกับวัตถุดิบชนิดอื่น ๆ ในการปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดโดยใช้แร่ลีโอนาร์ไดต์: หินบะซอลต์บดละเอียด: ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากผักตบชวา: มูลสุกร: มูลไก่ไข่ ในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:1:3:1:4 ทำให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่มีคุณภาพสูง โดยมีปริมาณอินทรีย์วัตถุเท่ากับ 29.85 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 1.22, 4.20 และ 3.89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำปุ๋ยที่มีส่วนผสมดังกล่าวไปผลิตในสายพานการผลิตของโรงงานที่ใช้ระบบจานปั้นเม็ด พบว่า ได้ขนาดที่ได้มาตรฐาน 81.10 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดที่ไม่ได้มาตรฐานจากกระบวนการผลิต 18.90 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพของปุ๋ยโดยรวมมีความสม่ำเสมอ มีค่าความชื้นเท่ากับ 21.24 เปอร์เซ็นต์ ความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 7.76 ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 3.86 เดซิซีเมนต่อเมตร ปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 22.07 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 9.63 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดเท่ากับ 1.34 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับ 4.94 เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียมทั้งหมดเท่ากับ 1.13 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 รวมถึงการมีต้นทุนในการผลิตปุ๋ยเท่ากับ 5,354.54 บาทต่อตัน มีอัตรากำไรต่อต้นทุน เท่ากับ 49.41 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำปุ๋ยที่ผลิตได้ไปใช้ในการปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ในระดับโรงเรือน พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบของผลผลิตโดยรวมที่ดีที่สุด โดยมีความสูงของต้นข้าวที่อายุ 138 วัน (วันเก็บเกี่ยว) เท่ากับ 103.20 เซนติเมตร และมีผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 550.67 กิโลกรัมต่อไร่