คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Author "ณัฐสุดา เงินเนย"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemผลของบุหรี่ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2015) ชนกาญจน์ มั่นปาน; ณัฐสุดา เงินเนย; วิศรุต ทิพย์อ้ายการสูบบุหรี่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อสูบบุหรี่หรือสัมผัสควันบุหรี่ สารในบุหรี่ทำให้ทางเดินหายใจเกิดการอักเสบและถุงลมถูกทำลาย จึงเกิดการตีบแคบของหลอดลมและความยืดหยุ่นของปอดลดลง มีผลทำให้กล้ามเนื้อหายใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อให้หายใจได้รับปริมาณอากาศเท่าเดิม จึงเห็นได้ว่าบุหรี่มีผลต่อการทำงานของปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายในคนที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ รวมถึงหาความสัมพันธ์ของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจกับความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายและหาความสัมพันธ์ของการทดสอบการเดิน 6 นาที กับประสิทธิภาพของการทดสอบก้าวขึ้นลงบันได 5 นาที ในอาสาสมัครเพศชายอายุ 20-59 ปี จำนวน 49 คน แบ่งเป็นกลุ่มไม่สูบบุหรี่ จำนวน 23 คน และสูบบุหรี่ จำนวน 26 คน อาสาสมัครทุกคนได้รับการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ โดยการวัดค่าแรงดันสูงสุดของการหายใจเข้าและออก รวมถึงได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย โดยการทดสอบการเดิน 6 นาที และการทดสอบก้าวขึ้นลงบันได 3 นาที ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจมากกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ (111.25±20.75 และ 95.26±24.32 เซนติเมตรน้ำ, p=0.014) ในขณะที่ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่ในกลุ่มที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายในคนที่สูบบุหรี่ และระยะทางที่เดิน 6 นาที ก็ไม่พบความสัมพันธ์กับการก้าวขึ้นลงบันได 3 นาที (r=0.141,p=0.501) จึงสรุปผลได้ว่า คนที่สูบบุหรี่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้ามากกว่าคนที่สูบบุหรี่ อาจเนื่องจากมีการปรับตัวของกล้ามเนื้อหายใจ ในขณะที่ความสามารถในการทำกิจกรรมทางกายมีแนวโน้มได้น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่