คณะสหเวชศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะสหเวชศาสตร์ by Author "จินตนา กันทะสีคำ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemความหลากหลายของเมล็ดข้าวในจังหวัดพะเยาต่อการพัฒนาแผ่นประคบร้อนโดยใช้ไมโครเวฟ-การศึกษานำร่อง(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2017) จินตนา กันทะสีคำ; ธัญญารักษ์ ใจชื่นในปัจจุบันตลาดการค้าข้าวโลกมีการชะลอตัว ส่งผลให้ข้าวมีราคาถูกลง สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการเกษตรกรรมเพาะปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ เมื่อราคาข้าวตกต่ำส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของข้าวและส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาทางกายภาพบำบัดภายในครัวเรือนได้ คือ การนำข้าวมาเป็นวัสดุหลักในการทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ นั่นคือ แผ่นประคบร้อนจากข้าว เพื่อช่วยลดอาการปวดจากาการใช้งานของกล้ามเนื้อ สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก และช่วยเพิ่มรายได้ หากนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่าย การศึกษานี้ได้แบ่งวิธีการดำเนินการออกเป็น 3 การศึกษา โดยการศึกษาที่ 1 เปรียบเทียบการเก็บความร้อนของเมล็ดข้าวที่นิยมปลูกในท้องถิ่นจังหวัดพะเยา ผลปรากฏว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปบรรจุแผ่นประคบร้อน เนื่องจากมีกลิ่นหอม สามารถนำไปอบซ้ำได้โดยที่เมล็ดข้าวไม่แตกเปราะง่าย การศึกษาที่ 2 เปรียบเทียบการเก็บความร้อนระหว่างข้าวที่สามารถเก็บความร้อนได้ดีที่สุดผสมสมุนไพรอบแห้ง กับเมล็ดธัญพืช และแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน ผลปรากฏว่า อุณหภูมิแผ่นประคบร้อนจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผสมสมุนไพรอบแห้งกับแผ่นประคบร้อนจากเมล็ดถั่วแดงไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาที่ 3 เปรียบเทียบอุณหภูมิผิวหนังขณะประคบด้วยแผ่นประคบร้อนจากเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผสมสมุนไพรอบแห้งและแผ่นประคบร้อนมาตรฐาน ผลปรากฏว่า อุณหภูมิผิวหนังขณะวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 2 ชนิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผสมสมุนไพรอบแห้ง มีอุณหภูมิเหมาะสมในการนำไปบรรจุถุงประคบร้อน เพื่อประยุกต์ใช้ในการรักษาทางกายภาพบำบัดโดยให้ความร้อนตื้น