คณะวิทยาศาสตร์
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing คณะวิทยาศาสตร์ by Author "กฤติยา ตีฆาอายุ"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Itemการเปรียบเทียบการวัดสัณฐานวิทยาปีกของผึ้งโพรงไทยระหว่างกลุ่มประชากรผึ้งโพรงไทยทางเหนือจากรังธรรมชาติและประชากรลูกผสมในพื้นที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2020) กฤติยา ตีฆาอายุ; วัฒน์ธนภรณ์ จันทาพูนผึ้งโพรงไทย (Apis cerana indico) เป็นผึ้งพื้นเมืองที่มีความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม จัดกลุ่มประชากรหลักตามการแพร่กระจายทางเหนือหรือไต้ของบริเวณคอคอดกระ ได้แก่ กลุ่มประชากรเหนือ และกลุ่มประชากรใต้ เป็นผึ้งที่นิยมเลี้ยงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรของไทย ในปี พ.ศ. 2561 ได้นำผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรใต้เข้าเลี้ยงในพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ร่วมกับผึ้งโพรงกลุ่มประชากรเหนือตามธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ตรวจสอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของปีกในประชากรผึ้งโพรงไทย กลุ่มประชากรเหนือจากรังธรรมชาติ และรังลูกผสมจากพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ ตำบลจุน การวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐานวิธีการวัดสัณฐานบนปีก โดยการวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน จำนวน 9 ลักษณะสำคัญ แสดงให้เห็นว่าผึ้งโพรงไทยทั้งหมดนี้เป็นผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรเหนือ ซึ่งยืนยันจากลักษณะดัชนี Cubhol (CI) ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p.05) และวิธีการวัดสัณฐานแบบเรขาคณิตแสดงผลการจำแนกกลุ่มจากการกำหนดจุดบ่งชี้บนปีกหน้า 19 และ 25 ตำแหน่ง มีศักยภาพในการบ่งชี้ความผันแปรของผึ้งโพรงไทยกลุ่มประชากรเหนือจากรังธรรมชาติและรังลูกผสมได้ชัดเจน โดยเฉพาะการกำหนดจุดปงชี้ 25 ตำแหน่ง นอกจากนี้กำหนดจุดจุดบ่งชี้ในเซลล์มีเดียล 11, 7 และ 8 ตำแหน่ง อาจไม่สามารถระบุความผันแปรดังกล่าวได้ การศึกษานี้สรุปได้ว่าประชากรผึ้งโพรงไทยที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผึ้งโพรงกลุ่มประชากรเหนือทั้งหมดจากผลการยืนยันของค่าดัชนี Cubital แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความผันแปรภายในสัณฐานวิทยาของปีกด้วยการวัดสัณฐานแบบเรขาคณิตด้วยการกำหนดจุดบ่งชี้ 19 และ 23 ตำแหน่ง ที่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างผึ้งโพรงรังธรรมชาติที่มีการแพร่กระจายจากจังหวัดที่แตกต่างกัน รวมทั้งกลุ่มผึ้งโพรงลูกผสมได้ ดังนั้นวิธีการวัดสัณฐานวิทยายังคงเป็นวิธีที่มีศักยภาพในการตรวจสอบความแปรผันและติดตามการแพร่กระจายของประชากรผึ้งโพรงไทยได้ในอนาคต